บอร์ด เคที ที่ประชุมได้พิจารณาสัญญารถไฟฟ้าบีทีเอสทุกฉบับเตรียมหาทางเจรจาเปลี่ยนแปลงสัญญาเพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อประชาชนมากที่สุด นัดหารือครั้งต่อไปวันที่ 2 ก.ค. นี้จ่อเชิญผู้ว่าฯ กทม.ร่วมพิจารณาข้อเสนอของบอร์ดฯ
1 ก.ค.2565-นายพิเศษ ธงทอง จันทรางศุ ประธานกรรมการบริษัท กรุงเทพธนาคม จำกัด เปิดเผยภายหลังการประชุมกรรมการบริษัท (บอร์ดบริษัทฯ) ว่า ที่ประชุมได้มีการพิจารณาข้อสัญญาต่างๆ ที่กรุงเทพธนาคม (เคที) ได้ทำสัญญาว่าจ้างบริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือบีทีเอส ในการเดินรถไฟฟ้า ซึ่งในส่วนของสัญญาสัมปทานนั้นเป็นไปตามข้อกฎหมายถูกต้องไม่มีประเด็นข้อสงสัย
นายพิเศษ ธงทอง กล่าวว่า ในที่ประชุมได้ให้ความสำคัญต่อการทำสัญญาส่วนต่อขยายส่วนที่ 1 ช่วงสถานีสะพานตากสิน – บางหว้า และช่วงสถานีอ่อนนุช-แบริ่ง ซึ่งมีการจ้างเดินรถผูกพันเป็นระยะเวลายาวนาน 30 ปี (ปี 2555 – 2585) ซึ่งที่ผ่านมาในช่วง 10 ปีถึงปัจจุบันในปี 2565 จะพบว่ามีข้อเท็จจริงหลายอย่างเปลี่ยนแปลงไป เช่น โรคโควิด-19 สภาพเศรษฐกิจโลก วิถีชีวิต ที่เปลี่ยนแปลงไป
ทั้งนี้ ซึ่งเป็นปัจจัยที่ทำให้ตัวเลขต่างๆ ที่เคยตกลงหรือเข้าใจในข้อสัญญานั้นเปลี่ยนแปลงไปด้วย เช่นควรจะมีการทบทวน เช่น ตัวเลขค่าบริการ ที่เทคโนโลยีต่างๆพัฒนาอย่างรวดเร็ว เช่น เดิมใช้เงินสดซึ่งมีกระบวนการจัดการทางการเงินยุ่งยาก ปัจจุบันมีเทคโนโลยีที่ทำให้ สะดวกรวดเร็วขึ้น เป็นต้น รวมทั้งพิจารณาข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องทั้งหมดอย่างรอบคอบ
นายพิเศษ กล่าวต่อว่า สำหรับส่วนต่อขยายที่2 ช่วงสถานีหมอชิต-คูคตและสถานีแบริ่ง-เคหะสมุทราปราการ ซึ่งออกไปนอกพื้นที่กทม. โดยมีเส้นทางไปถึงจังหวัดปทุมธานีและสมุทรปราการ ถือเป็นเรื่องระดับนโยบายที่เกินขอบเขตหน้าที่ของกรุงเทพมหานครและกรุงเทพธนาคม ซึ่งตั้งแต่เริ่มต้นโครงการนี้ดำเนินการก่อสร้างโดยการรถไฟฟ้าโดยการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ที่มีภารกิจในการดำเนินการเรื่องรถไฟฟ้าทั่วประเทศ
แต่ต่อมาก็มีประเด็นปัญหาเรื่องการเชื่อมต่อเดินทาง ระหว่างรถไฟฟ้าที่ดำเนินการโดยรฟม. กับบีทีเอสไม่สามารถเชื่อมต่อการเดินทางได้อย่างสะดวก เชื่อมต่อไม่สนิท ซึ่งคณะกรรมการที่เกี่ยวข้องในขณะนั้นก็ได้มีการโยกโครงการรถไฟฟ้าส่วนนี้มาให้กรุงเทพมหานคร เนื่องจากโดยสภาพเป็นโครงสร้างในเส้นทางสายเดียวกัน เพื่อให้การเดินทางเชื่อมต่อกันได้สะดวก ซึ่งกทม.ก็ได้รับโครงสร้างรถไฟฟ้ามาพร้อมกับหนี้สิ้น
อย่างไรก็ตามในเรื่องนี้ก็ได้ให้โจทย์กับทางคณะกรรมการไปเพื่อไปดูตัวเลขต่างๆ ให้ตกผลึกและนำกลับมาพูดคุยอีกครั้งในวันเสาร์ที่ 2 กรกฎาคม 2565 นี้ และมีความเป็นไปได้ว่าจะเรียนเชิญผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครในฐานะผู้ถือหุ้นใหญ่ ของกรุงเทพธนาคม เข้ามารับฟังรายละเอียดจากทางคณะกรรมการบริษัทซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญทั้งด้านกฎหมาย ด้านการเงิน ด้านวิศวกรรม เพื่อสอบถามรายละเอียดต่างๆ กับทางคณะกรรมการได้โดยตรง
นายธงทอง กล่าวหาคณะกรรมการชุดนี้มุ่งหวังว่าจะทำให้ข้อสัญญาและรายละเอียดต่างๆ เกิดความกระจ่าง คลายความกังวลสงสัยที่อธิบายไม่ได้มายาวนาน สิ่งสำคัญสูงสุดคือประโยชน์สาธารณะร่วมกันโดยที่ทุกฝ่ายอยู่ได้และมีความเป็นไปได้ ในการทำธุรกิจ และประชาชนผู้ใช้บริการได้รับความเป็นธรรม
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
คนกรุงเลิกกลุ้มไม่ท่วม เคลียร์เชียงรายจบต.ค.
"นายกฯ อิ๊งค์" ตรวจเข้มสถานการณ์น้ำ ยันคนกรุงไม่ต้องกลุ้มใจ
'ชัชชาติ' ดันศูนย์ BKK Food Bank ครบ 50 เขต แบ่งปันอาหาร 2 ล้านมื้อถึงกลุ่มเปราะบาง
นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เป็นประธานในพิธีเปิดธนาคารอาหาร หรือศูนย์ BKK Food Bank แห่งที่ 50 โดยมี นายพรพรหม วิกิตเศรษฐ์ ที่ปรึกษาของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครและผู้บริหารด้านความยั่งยืนของกรุงเทพมหานคร นางสาวมธุรส เบนท์ สมาชิกสภากรุงเทพมหานคร เขตสะพานสูง ผู้บริหารกรุงเทพมหานคร สำนักพัฒนาสังคม สำนักงานเขตสะพานสูง
นายกฯ ตรวจศูนย์ป้องกันน้ำท่วม กทม. เล็งลงพื้นที่ชุมชนเปราะบาง ยันไปตรวจสอบไม่ใช่จับผิด
นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมเตรียมความพร้อมการป้องกันและรับมือน้ำท่วม โดยนายกรัฐมนตรี กล่าวมอบนโยบายตอนหนึ่งว่า จริงๆแล้ววันนี้มาให้กำลังใจ เพราะเข้าสู่ฤดูฝนแล้ว และหน้าฝนปีนี้มาเร็ว
ชัชชาติ ลุยกินเมนูปลาหมอคางดำ แนะคนกรุงจับมาทำอาหาร สั่งห้ามเลี้ยง
นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ไลฟ์ผ่านเพจเฟซบุ๊ก โดยเขียนแคปชั่นระบุว่า “เมนู ปลาหมอคางดำ” เผยภาพครัวที่กำลังทำอาหารเมนูปลาหมอคางดำ
นายกฯ ควงผู้ว่าฯกทม. ตรวจคลองโอ่งอ่าง ชุมชนวอนช่วยกระตุ้นท่องเที่ยวให้คึกคักอีกครั้ง
นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี พร้อมคณะ อาทิ นายจักรพงษ์ แสงมณี รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร นายวิศณุ ทรัพย์สมพล รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร นางวันทนีย์ วัฒนะ
งามไส้! กทม.จัดซื้อเครื่องออกกำลังกาย ราคาแพงยับ
เพจเฟซบุ๊ก "ชมรม STRONG ต้านทุจริตประเทศไทย" ได้โพสต์เนื้อหา การจัดชื้ออุปกรณ์ออกกำลังกายในสวนสาธารณะ โดยมีเนื้อหาใจความว่า กทม. จัดซื้อเครื่องออกกำลังกาย เครื่องละ 4 แสน เครือข่าย STRONG ต้านทุจริตประเทศไทยพบเห็นความผิดปกติ