30 มิ.ย. 2565 – นายวีระพงศ์ มาลัย ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) เปิดเผยรายงานดัชนีความเชื่อมั่นผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม(เอสเอ็มอี) หรือ SME Sentiment Index: SMESI ประจำเดือนพ.ค.2565 พบว่าค่าดัชนี SMESI ปรับตัวลดลงอยู่ที่ระดับ 49.5 จากเดือนก่อนหน้าอยู่ที่ระดับ 50.5 ปัจจัยสำคัญมาจากกำลังซื้อชะลอตัวลง ราคาวัตถุดิบและค่าขนส่งสินค้าเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ส่งผลให้องค์ประกอบในการดำเนินธุรกิจโดยเฉพาะคำสั่งซื้อ ปริมาณการผลิต/การค้า/การบริการ ต้นทุน และกำไร ปรับตัวลดลง ขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่นคาดการณ์ 3 เดือนข้างหน้า อยู่ที่ระดับ 51.6 ลดลงจาก 52.1
“แม้ว่าในเดือน พ.ค. ทั้งค่าดัชนีปัจจุบันและคาดการณ์ 3 เดือนข้างหน้าปรับตัวลดลง แต่เนื่องจากค่าดัชนีในปัจจุบันอยู่ในระดับใกล้เคียงค่าฐานและค่าดัชนีคาดการณ์ 3 เดือนข้างหน้าอยู่ในระดับเกินค่าฐาน 50 สะท้อนได้ว่าผู้ประกอบการยังคงมีความเชื่อมันในการดำเนินธุรกิจ ผลจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรค COVID-19 ที่คลี่คลายลง ทำให้ผู้บริโภคลดความกังวล และมีแนวโน้มสัญญาณที่ดีในการออกไปทำกิจกรรมทางเศรษฐกิจนอกบ้านเพิ่มมากขึ้น”นายวีระพงศ์ กล่าว
ทั้งนี้ เมื่อพิจารณารายภาคธุรกิจ พบว่า ส่วนใหญ่ค่าดัชนีปรับตัวลดลง ทั้งภาคการผลิต ภาคการค้าและภาคการบริการ มีเพียงภาคการเกษตรที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นเล็กน้อย ผลจากเริ่มมีการลงทุนเพิ่มขึ้นในช่วงการเตรียมฤดูกาลเพาะปลูกใหม่ แต่สิ่งที่ต้องเฝ้าระวังคือปัจจัยการผลิตภาคการเกษตรและปศุสัตว์ เช่น ปุ๋ย เคมี ยาและอาหารสัตว์ ฯลฯ ที่ปรับตัวสูงขึ้นต่อเนื่อง ซึ่งจะส่งผลต่อต้นทุนในการดำเนินกิจการได้
นอกจากนี้ จากการสำรวจความคิดเห็นผู้ประกอบการเอสเอ็มอี 2,718 ราย จาก 25 สาขาธุรกิจ ในพื้นที่ 6 ภูมิภาค ระหว่างวันที่ 19-27 พ.ค.2565 เกี่ยวกับปัญหาในการดำเนินงาน และการปรับตัวของผู้ประกอบการในสถานการณ์ปัจจุบัน พบว่า ปัญหาหลักของผู้ประกอบการ คือด้านต้นทุน คิดเป็น 41% รองลงมาคือ ด้านกำลังซื้อผู้บริโภค คิดเป็น 39.2% ด้านคู่แข่งขัน 13.1% ด้านหนี้สินกิจการ 2.4% และด้านแรงงาน ทั้งค่าแรงที่สูงขึ้นและขาดแรงงานที่มีทักษะ 19%
อย่างไรก็ตามสิ่งที่ผู้ประกอบการเอสเอ็มอียังคงต้องเฝ้าระวังและเตรียมพร้อมปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์ที่เกิดขึ้น โดยเฉพาะการบริหารจัดการด้านต้นทุน เพื่อลดผลกระทบต่อผู้บริโภคอันเนื่องมาจากการปรับราคาสินค้าเพิ่มขึ้น เช่นเดียวกับด้านคู่แข่งขัน โดยเฉพาะในช่องทางออนไลน์ และการทำการตลาด เช่น การจัดโปรโมชั่น โปรโมทร้านผ่านช่องทางต่างๆ รวมถึงปัญหาหนี้สินและปัญหาด้านแรงงาน ซึ่งแนวทางที่ผู้ประกอบการต้องการให้ภาครัฐช่วยเหลือ เช่น การควบคุมราคาสินค้า/วัตถุดิบ ควบคุมราคาน้ำมันเชื้อเพลิง สนับสนุนองค์ความรู้ด้านการวางแผนจัดการต้นทุนธุรกิจ การขยายเวลามาตรการพักชำระหนี้ เป็นต้น
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
สสว.เคาะ 2,366 ล้านบาทเป็นของขวัญปีใหม่ให้เอสเอ็มอี
รัฐบาลเห็นชอบ 2,366 ล้านบาทปล่อยสินเชื่อ-จัดงานขายสินค้า อุ้มเอสเอ็มอีเพื่อเป็นของขวัญปีใหม่
สสว. ยกศักยภาพ SME จัดกิจกรรมเชื่อมแหล่งเงินทุน เพิ่มโอกาสผู้ประกอบการในพื้นที่ EEC และพื้นที่ต่อเนื่อง
สสว. มุ่งมั่นยกศักยภาพผู้ประกอบการ จัดกิจกรรมเชื่อมแหล่งเงินทุนให้กับผู้ประกอบการที่ยกระดับนวัตกรรมในธุรกิจได้ ภายใต้กิจกรรมส่งเสริมและพัฒนาการเริ่มต้นเป็นผู้ประกอบการที่มีศักยภาพในพื้นที่
พิษน้ำท่วม SME ยังไม่คลายกังวล ฉุดดัชนีความเชื่อมั่นต่ำกว่าฐานต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 3
ผลกระทบน้ำท่วม สภาวะเศรษฐกิจทรงตัว การท่องเที่ยวชะลอตัวตามฤดูกาล ส่งผลดัชนีความเชื่อมั่นผู้ประกอบการ SMESI ก.ย. 67 ต่ำกว่าระดับค่าฐานต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 3 แม้เริ่มเห็นสัญญาณการกลับมาของกำลังซื้อในระยะสั้น แต่ค่าคาดการณ์ในอีก 3 เดือนข้างหน้า เพิ่มขึ้นจากฤดูกาลท่องเที่ยวช่วงปลายปีและเทศกาลเฉลิมฉลองต่าง ๆ จะสามารถดึงความเชื่อมั่นผู้ประกอบการ SME กลับมาได้
‘สสว.’ จับมือ ‘INET’ เปิดพื้นที่ขาย ผ่าน Nex Gen Commerce Platform ช่วย SME
สสว. และบริษัท อินเทอร์เน็ตประเทศไทย จำกัด (มหาชน) ลงนาม MOU ให้สิทธิประโยชน์ผู้ประกอบการที่ลงทะเบียน SMEs ผู้รับบริการภาครัฐ เปิดพื้นที่ขาย ผ่าน Nex Gen Commerce Platform “พร้อมฟรี E-Tax Invoice และ E-Factoring”
สสว. แถลงข่าว “SME Privilege Club” เดินหน้าผนึกพันธมิตร เสริมแกร่งผู้ประกอบการ
สสว. แถลงข่าวความสำเร็จงานพัฒนาสิทธิประโยชน์ “SME Privilege Club คลับพิเศษสำหรับ SME” โครงการที่เพิ่มความร่วมมือพันธมิตร 3 ด้าน ทั้งเพิ่มผลิตภาพ/ลดต้นทุน ขยายช่องทางการตลาด เชื่อมโยงแหล่งเงินทุน
สสว. ผนึก LINE ผลักดันสิทธิประโยชน์ เสริมแกร่ง UPSKILL SME
สสว. ลงนามความร่วมมือ เดินหน้าพัฒนาสิทธิประโยชน์เพิ่มผลิตภาพ/ลดต้นทุน ภายใต้ “SME Privilege Club คลับพิเศษสำหรับ SME” จัดสัมมนา UPSKILL SME “ยอดขายโตทั่วไทย ด้วยโซลูชันจาก LINE”