บอร์ด รฟท.รับทราบยุติข้อพิพาทปมลำรางบริเวณพื้นที่สร้างรถไฟเชื่อมสามสนามบินหลังอัยการตีความไม่อยู่ในเงื่อนไขส่งมอบให้เอกชน เล็งชง กพอ.-ครม. แก้สัญญาร่วมลงทุน ก.ค.นี้ รฟท. คาดออก NTP ภายในวันที่ 4 ม.ค.66
24 มิ.ย.2565-นายเอก สิทธิเวคิน รองผู้ว่าการการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) เปิดเผยว่าที่ประชุมคณะกรรมการ บอร์ด รฟท. ได้รับทราบรายงานความคืบหน้าการแก้ไขสัญญาร่วมลงทุนฯเพื่อแก้ปัญหาการทับซ้อนของโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบิน (ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา) และโครงการรถไฟความเร็วสูงเพื่อเชื่อมโยงภูมิภาค ช่วงกรุงเทพฯ-หนองคาย (โครงการรถไฟความเร็วสูงไทย-จีน) โดยเอกชนจะเป็นผู้ก่อสร้างโครงสร้างร่วม ช่วงบางซื่อ-ดอนเมือง และรับผิดชอบค่าก่อสร้างเพิ่ม 9,207 ล้านบาท ขณะที่ รฟท. จะชำระคืนค่าก่อสร้างเร็วขึ้น
ทั้งนี้ที่ประชุมมอบให้ รฟท. เสนอเรื่องดังกล่าวไปยังคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.) สัปดาห์หน้า ก่อนเสนอคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (กพอ.) และคณะรัฐมนตรี (ครม.) เห็นชอบต่อไป ขณะที่การส้งมอยพื้นที่ให้เอกชนนั้น โดยในส่วนของเมื่อวันที่ 25 เม.ย.2565 อัยการสูงสุดได้มีหนังสือตอบกลับมายัง รฟท.แล้วว่าพื้นที่ลำรางมักกะสันที่ปรากฏอยู่ ไม่ได้อยู่ในเงื่อนไขในการส่งมอบพื้นที่ให้เอกชน
นายเอก กล่าวว่า ขณะนี้ถือว่า รฟท.เป็นผู้ครอบครองพื้นที่เพื่อส่งมอบให้เอกชนได้เต็ม 100% โดยเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา รฟท.ได้ทำหนังสือถึงบริษัท เอเชีย เอรา วัน จำกัด ในฐานะคู่สัญญาผู้รับสัมปทานโครงการฯ เพื่อตอบกลับเป็นลายลักษณ์อักษร ซึ้งคาดว่า ทางเอเชีย เอรา วันตอบกลับเป็นทางการภายในสัปดาห์นับจากได้รับหนังสือจาก รฟท. เนื่องจากเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา คณะกรรมการ 3 ฝ่ายได้แก่ รฟท. คณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.) และบริษัท เอเชีย เอรา วัน ได้ร่วมประชุมและรับทราบว่าลำรางดังกล่าวไม่อยู่ในเงื่อนไขการส่งมอบ ซึ่งในที่ประชุมไม่ได้มีการคัดค้านเรื่องนี้แต่อย่างใด
นายเอก กล่าวว่าขั้นตอนหลังจากเอเชีย เอราวัน ตอบกลับมาแล้ว จากนั้น รฟท.จะส่งไปที่ สกพอ. คาดว่าภายในต้นเดือน ก.ค.นี้และจากนั้นจะนำเข้าที่ประชุม กพอ.ที่มี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธาน เพื่อทำกาคแก้ไขสัญญา ตามที่ได้มีการขยายบันทึกข้อตกลง (MOU) กับ เอเชีย เอรา วัน เพื่อแก้ปัญหาผลกระทบจากโควิด-19 มีกรอบเวลา 3 เดือนนับจากวันที่ 24 ต.ค. 2564 ซึ่งก่อนหน้านี้มีการขยายออกไป 2 ครั้ง ครั้งละ 3 เดือน โดยล่าสุดจะครบกำหนดวันที่ 24 ก.ค. 2565 ซึ้งจะต้องมีการขยาย MOU ออกจากวันที่ อีกระยะหนึ่งเพื่อให้ครอบคลุมกระบวนการพิจารณาทั้งหมดก่อนการลงนามสัญญากับเอกชน อย่างไรก็ตามคาดว่าจะสามารถออกหนังสือให้เอกชนเริ่มงาน (NTP : Notice to Proceed) ได้ภายในวันที่ 4 ม.ค.2565
“ในส่วนของการรับบัตรส่งเสริมการลงทุนจากบีโอไอนั้น คณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนมีมติให้การส่งเสริมการลงทุนแก่เอกชนคู่สัญญาแล้ว แต่เอกชนคู่สัญญาของเวลาดำเนินการเพื่อให้ได้รับบัตรส่งเสริมฯ คาดว่าจะได้รับภายในเดือน ก.พ.2566 เนื่องจากปัจจุบันยังอยู่ในกระบวนแก้ไขสัญญาฯ ขณะที่กรอบเวลาบันทึกข้อตกลง (MOU) กับบริษัท เอเชีย เอรา วัน เพื่อแก้ปัญหาผลกระทบจากโควิด-19 จะครบกำหนดในวันที่ 24 ก.ค.นี้ ดังนั้นจึงต้องมีการขยายบันทึกข้อตกลงออกไปอีก แต่จะขยายออกไปอีกกี่เดือนนั้น อยู่ระหว่างการพิจารณา”นายเอกกล่าว
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
นายกฯลุยสนามบินอู่ตะเภา เร่งเคลียร์ปัญหาสร้างรถไฟเชื่อมสนามบิน
นายกฯลงพื้นที่สนามบินอู่ตะเภา ดูข้อติดขัดสร้างรถไฟเชื่อมสนามบิน แย้ม ก.ค.นี้ เห็นข้อสรุปก่อน เคาะโต๊ะสัญญาต้องจบสิ้นปี 67 ลั่น อย่าให้เกิดปัญหา ห่วง ติดกระดุมเม็ดแรกผิดเกิดเป็นมหากาพย์
‘สุริยะ’ ถกจีนเร่งผลักดันรถไฟความเร็วสูง ‘กรุงเทพ-หนองคาย’ ลุ้นเปิดปี 73
‘สุริยะ’นำคณะเยือนจีน ถกเร่งผลักดันรถไฟความเร็วสูงไทย - จีน ปักหมุดเฟส 1 ไปกรุงเทพ-โคราช เปิดปี 71 ส่วนเฟส2โคราช -หนองคายเปิดปี 73