21 มิ.ย. 2565 – นายบุณยฤทธิ์ กัลยาณมิตร ปลัดกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยกับผู้สื่อข่าวประเด็นที่มีข้อเสนอให้กระทรวงพาณิชย์ใช้อำนาจตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ พ.ศ. 2542 เข้ามากำกับดูแลค่าการ กลั่นน้ำมันเพื่อช่วยให้ราคาขายปลีกน้ำมันลดลง ว่าเรื่องราคาน้ำมันที่กำลังมีคนชี้มาที่กระทรวงพาณิชย์ว่าเป็นผู้รับผิดชอบเรื่องราคาน้ำมัน ซึ่งไม่ใช่ ขอเรียนว่าอำนาจหน้าที่ในเรื่องของราคาน้ำมันซึ่งน้ำมันนั้นเป็นสินค้าเฉพาะมีข้อกฎหมายเฉพาะในการกำกับดูแล กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับราคาน้ำมันฉบับที่หนึ่ง คือ
พระราชบัญญัติคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ มาตรา 6(2) กำหนดอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติไว้ว่า คณะกรรมการชุดนี้มีหน้าที่วางหลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการกำหนดราคาพลังงาน โดยให้สอดคล้องกับนโยบายและแผนการพัฒนาและบริหารพลังงานของประเทศ ถ้าดูกฎหมายนี้จะเห็นว่าคนเกี่ยวข้องกับราคาพลังงานน้ำมันเชื้อเพลิงเป็นการเฉพาะคือ คณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (นายกรัฐมนตรีเป็นประธาน โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานเป็นเลขานุการ ) ซึ่งการกำหนดราคาหรือการวางหลักเกณฑ์เรื่องราคาน้ำมันเชื้อเพลิงต้องสอดคล้องกับนโยบายและแผนพัฒนาและบริหารพลังงานแห่งประเทศด้วย เป็นความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านของกระทรวงพลังงาน
“กฎหมายนี้กำหนดเอาไว้ และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้องกับราคาพลังงาน และที่ท่านรองนายกฯสุพัฒนพงษ์ ให้ข่าวไว้เมื่อ 2-3 วันที่แล้วที่กระทรวงพลังงานได้มีการให้ข่าวที่อาจจะมีแนวคิดการเก็บเงินเข้ากองทุนพลังงาน พ.ร.บ.ที่เกี่ยวข้องคือ พ.ร.บ.กองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงกำหนดไว้ มาตรา 5 ให้มีการจัดตั้งกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อรักษาเสถียรภาพระดับราคาน้ำมันเชื้อเพลิงในสถานการณ์วิกฤติน้ำมัน จะเห็นชัดว่าราคาพลังงานเป็นเรื่องที่ใครเป็นผู้รับผิดชอบ เพราะมีกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงที่บอกไว้ว่า มีวัตถุประสงค์เพื่อรักษาเสถียรภาพราคาน้ำมันเชื้อเพลิงในภาวะวิกฤตน้ำมันเชื้อเพลิง
และมาตรา 27 พ.ร.บ.กองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงกำหนดไว้ว่าใครเป็นผู้ต้องส่งเงินเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง โดยมาตรา 27(1)โรงกลั่น 27(2) ผู้นำเข้า ก็จะเห็นอยู่แล้วว่ากองทุนมีหน้าที่อะไรในเวลาสถานการณ์วิกฤติ ใครควรเข้ามาบริหารจัดการและใครที่จะมีหน้าที่ส่งเงินเข้ากองทุน คือ ผู้ผลิตน้ำมันในประเทศซึ่งเป็นผู้จำหน่ายน้ำมันด้วย ซึ่งเป็นโรงกลั่น
การใช้เงินเข้ากองทุนให้เป็นไปตามคณะกรรมการบริหารกองทุนกำหนด ประธานคือกระทรวงพลังงาน ที่กระทรวงพลังงานให้ข่าวคือการใช้อำนาจตามกฎหมายที่กระทรวงพลังงานรับผิดชอบกำกับดูแลอย่างถูกต้องทางกฎหมายที่สุด กรณีใดๆที่เป็นสินค้าเฉพาะโดยหลักการของกฎหมายต้องไปว่าที่กฎหมายเฉพาะนั้นๆก่อน ” ปลัดกระทรวงพาณิชย์ กล่าว
ปลัดกระทรวงพาณิชย์ กล่าวต่อว่า ในส่วนที่กระทรวงพาณิชย์กำกับดูแล พรบ.ว่าด้วยราคาสินค้าและบริการว่า ถามว่าทำไมไม่ใช้ราคาตาม พ.ร.บ.ราคาสินค้าและบริการ กรณีที่มีคนถามเช่นนี้นั้น ก็ขอเรียนว่าโดยหลักการของกฎหมาย หากมีกฎหมายกำหนดไว้เป็นการเฉพาะสำหรับเรื่องใด นักกฎหมายย่อมเข้าใจดีว่าต้องเดินเริ่มจากตรงนั้นเพราะกฎหมายกำหนดไว้ให้เห็นชัดเจนแล้ว
ถ้าไปดูใน พ.ร.บ.คณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติท้ายกฎหมายจะเขียนไว้ ด้วยว่า การบริหารพลังงานของประเทศ กระจัดกระจายตามหน่วยงานต่างๆดังนั้น เพื่อให้มีเอกภาพจึงได้จัดตั้ง คณะกรรมการชุดนี้ขึ้นมาเพื่อให้การบริหารจัดการเรื่องพลังงานมีเอกภาพ ดังนั้นกฎหมายชัดเจนที่สุด วัตถุประสงค์ ข้อกำหนด ที่มาเรื่องการมีกฎหมายฉบับนี้ ณ เวลานี้อำนาจหน้าที่ตามกฎหมายจึงอยู่ตามกฎหมาย 2 ฉบับดังกล่าว เพื่อตอบคำถามหลายข้อโดยเฉพาะในสังคมโซเชียลมีเดีย ขอให้เข้าใจว่าไม่ได้เป็นอำนาจหน้าที่ของกระทรวงพาณิชย์ตั้งแต่แรก ” ปลัดกระทรวงพาณิชย์ กล่าว
จากนั้นผู้สื่อข่าวสอบถามว่าที่มีคนกล่าวอ้างว่ารัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เป็นประธาน กกร.โดยตำแหน่งและในกฎหมายกำหนด ก๊าซปิโตรเลียมเหลว น้ำมันเชื้อเพลิงเป็นสินค้าควบคุม อยู่ในอำนาจของประธาน กกร.อยู่แล้ว ตรงนี้ไปสัมพันธ์กับ พ.ร.บ.ว่าด้วยราคาสินค้าและบริการที่กระทรวงพาณิชย์ดูแลหรือไม่
นายบุณยฤทธิ์ กัลยาณมิตร ปลัดกระทรวงพาณิชย์ ตอบว่า ทุกวันนี้ LPG มีการประกาศราคาโดยกระทรวงพลังงาน กระทรวงพลังงานเป็นคนกำหนดราคา LPG ที่จะมีการปรับราคาขึ้นราคาเป็นขั้นบันไดว่า เดือนละเท่าไหร่ต่อครั้ง เราจะเห็นว่ากระทรวงพลังงานเป็นคนประกาศ ด้วยเหตุผลที่บอกแล้วและใช้เงินกองทุนในเรื่องนั้น วิธีการบริหารโดยใช้กฎหมายที่เขามีอยู่ แต่ถามว่ากระทรวงพาณิชย์ทำอะไรในเรื่องของ LPG หน้าที่กระทรวงพาณิชย์ก็คือเมื่อกระทรวงพลังงานประกาศราคาออกมาแล้ว ใครขายเกินกว่านี้กระทรวงพาณิชย์จับ โดยอาศัยมาตรา 29 คือ ผู้ใดจงใจจำหน่ายราคาสูงเกินสมควร มีโทษผิดพระราชบัญญัติราคา เช่น กระทรวงพลังงานแจ้งราคาถังละ 380 บาท ถ้าใครขาย 400 บาท กระทรวงพาณิชย์จับ เป็นต้น อันนี้เป็นตัวอย่างที่จะเห็นว่า LPG ประกาศราคาโดยกระทรวงพลังงานมาตลอดดังนั้นคำถามคือ เพราะเหตุใดกระทรวงพลังงานประกาศราคา LPG ได้ แต่พอมาราคาน้ำมันเหตุใดบางคนจึงมาบอกว่าให้กระทรวงพาณิชย์เป็นคนกำกับดูแล
“ ผมคิดว่าหน่วยงานราชการทุกหน่วยมีอำนาจหน้าที่ตามกฎหมายที่ต้องปฏิบัติ กฎหมายใครก็กฎหมายคนนั้น กฎหมายกำหนดความรับผิดชอบอยู่ที่ใดผู้นั้นเป็นผู้รับผิดชอบ ไม่ควรที่ผู้ใดจะมาบิดเบือนหลักการนี้” ปลัดกระทรวงพาณิชย์ กล่าว
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
พาณิชย์จัดส่งข้าวสาร-น้ำดื่ม ช่วยผู้ประสบภัยน้ำท่วม
“พิชัย” ห่วงน้ำท่วม สั่งการพาณิชย์เร่งจัดส่งข้าวสาร-น้ำดื่ม ช่วยผู้ประสบภัยน้ำท่วม
‘กรณ์’ ชี้ ’ไบเดน’ ถอนตัว การตัดสินใจครั้งนี้ อยู่ในระดับเปลี่ยนเกมส์ได้เลย
ส่วนตัวผมไม่แปลกใจที่ไบเดนถอนตัว ก่อนหน้านี้ที่หลายคนลุ้นอยู่คือไบเดนจะแค่ถอนตัวจากการเป็นผู้สมัคร หรือจะถอยให้ Harris เป็นประธานาธิบดีด้วยเลย
'กรณ์' กังวลรัฐบาลแจกดิจิทัลด้วยการกู้งบกลาง หนี้เพิ่ม ดุลบัญชีเดินสะพัดยังอ่อนแอ
นายกรณ์ จาติกวณิช อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง โพสต์ข้อความทางเฟซบุ๊กว่า มีรายงานว่า ครม.เปลี่ยนแนวทางการหาเงินโครงการ #แจกเงินดิจิทัล 10,000 บาท คือยกเลิกแผนการเจียดจากงบปี 67 ที่คาดว่าจะใช้ไม่หมด โดยที่รัฐบาลจะเปลี่ยนมา “กู้เพิ่ม”
ครม.อนุมัติแต่งตั้งหลายตำแหน่ง 'วุฒิไกร' นั่งปลัดพาณิชย์คนใหม่ มท.สลับเก้าอี้ผู้ว่าฯสกลนคร
น.ส.เกณิกา อุ่นจิตร์ รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงผลการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ว่า ที่ประชุม ครม.มีมติแต่งตั้งนายวุฒิไกร ลีวีระพันธุ์ อธิบดีกรมทรัพย์สินทางปัญญา ให้ดำรงตำแหน่งปลัดกระทรวงพาณิชย์
อาลัย 'กีรติ-ปลัดฯพาณิชย์' เสียชีวิตอย่างสงบ ในวัย 56 ปี
บุตรสาว ของนายกีรติ รัชโน ได้แจ้งให้ทราบว่า คุณได้เสียชีวิตอย่างสงบ และก่อนที่จะจากไป พระอาจารย์ไพศาล วิสาโล ได้เทศน์นำทางก่อนลมหายใจสุดท้ายผ่านทางโทรศัพท์
'กรณ์' กางกฎหมายอธิบายชัดเจน รัฐบาลกู้ ธกส. มาแจกเงินดิจิทัลได้หรือไม่
นายกรณ์ จาติกวณิช อดีต รมว.คลัง แสดงความเห็นถึงโครงการดิจิทัลวอลเล็ต 10,000 บาท ที่รัฐบาลมีแผนกู้เงินธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ว่า พรรคประชาธิปัตย์ (ปชป.) ออกมาตำหนิแผนการกู้จาก ธกส.เพื่อมา #แจกเงินดิจิทัล บอกว่าซํ้ารอย ‘จำนำข้าว’ ในการสร้างหนี้สะสมมหาศาล จนถึงวันนี้รัฐบาลยังไม่ได้ชำระคืนให้ ธกส.