‘ศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์’ เปิดภาพรวมการโอนกรรมสิทธิ์ห้องชุดให้คนต่างชาติไตรมาส 1/2565 ติดลบ 10.3% เหตุจีนล็อกดาวน์ประเทศกระทบหนักรับลูกค้าแผ่นดินใหญ่ลดลงไม่ถึง 50% เป็นครั้งแรก คาดใช้นโยบายโควิดเป็นศูนย์ยาวถึงสิ้นปีนี้
21 มิ.ย. 2565 – นายวิชัย วิรัตกพันธ์ ผู้ตรวจการธนาคารอาคารสงเคราะห์ และรักษาการผู้อำนวยการศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ กล่าวว่า ภาพรวมสถานการณ์การโอนกรรมสิทธิ์ห้องชุดให้คนต่างชาติทั่วประเทศ ในไตรมาส 1 ปี 2565 มีจำนวน 2,107 หน่วย ลดลง -10.3 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน แต่มีจำนวนหน่วยสูงกว่าค่าเฉลี่ย 2 ปี ในช่วงโควิด-19 (ปี 2563 – 2564) ที่มีจำนวน 2,061 หน่วย/ไตรมาส ขณะเดียวกันมูลค่าการโอนห้องชุดรวม 10,262 ล้านบาท ลดลง -6.1 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน มูลค่าการโอนในไตรมาสนี้ สูงกว่าค่าเฉลี่ย 2 ปี ในช่วงโควิด-19 ที่มีมูลค่า 9,683 ล้านบาท/ไตรมาส
“สถานการณ์การโอนกรรมสิทธิ์ห้องชุดของคนต่างชาติในไตรมาส 1 ปี 2565 ยังคงชะลอตัวเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปี 2564 แม้ว่ารัฐบาลได้ผ่อนคลายมาตรการการเดินทางของชาวต่างประเทศมายังไทย แต่เนื่องจากจีนซึ่งเป็นกลุ่มกำลังซื้อหลักของห้องชุดยังคงปิดประเทศ และใช้นโยบายโควิดเป็นศูนย์ มีการจำกัดการเดินทางระหว่างประเทศ หากไม่มีเหตุที่จำเป็น ทำให้สถานการณ์การโอนกรรมสิทธิ์ห้องชุดของชาวต่างชาติจึงยังไม่ฟื้นตัวในไตรมาสนี้ และยังมีการคาดการณ์ว่า จีนจะยังปิดประเทศไม่ให้ชาวจีนเดินทางออกนอกประเทศไปจนถึงสิ้นปี 2565” นายวิชัย กล่าว
สำหรับการโอนกรรมสิทธิ์ห้องชุดให้ชาวต่างชาติในไตรมาส 1 ปี 2565 จำนวน 2,107 หน่วย ในจำนวนนี้เป็นประเภทห้องชุดใหม่ 65.1% ลดลงจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ซึ่งมีสัดส่วนของห้องชุดใหม่ 80.3% ในขณะที่ห้องชุดมือสองมีสัดส่วน 34.9% เพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ซึ่งมีสัดส่วน 19.7% ในด้านมูลค่าการโอนกรรมสิทธิ์ห้องชุดให้ชาวต่างชาติในไตรมาส 1 ปี 2565 จำนวน 10,262 ล้านบาท ในจำนวนนี้เป็นมูลค่าห้องชุดใหม่ 71.8%ลดลงจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ซึ่งมีสัดส่วนของห้องชุดใหม่ 86.1% ในขณะที่ห้องชุดมือสองมีสัดส่วน 28.2% เพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ซึ่งมีสัดส่วน 13.9% แสดงให้เห็นว่า ตลาดห้องชุดต่างชาติ ยังนิยมห้องชุดใหม่มากกว่าห้องชุดมือสอง แต่ห้องชุดมือสองก็มีการขยายสัดส่วนเพิ่มมากขึ้นตามลำดับ
ทั้งนี้ ในไตรมาส 1 ปี 2565 ห้องชุดที่มีการโอนกรรมสิทธิ์ให้คนต่างชาติมากที่สุด จะอยู่ในช่วงราคาไม่เกิน 3.00 ล้านบาท โดยมีการโอนจำนวน 1,109 หน่วย คิดเป็น 52.6% ของจำนวนหน่วยทั้งหมดจำนวน 2,107 หน่วย รองลงมาคือ ระดับราคา 3.01 – 5.00 ล้านบาท มีจำนวน 504 หน่วย คิดเป็น23.9% ระดับราคา 5.01 – 10.00 ล้านบาท มีจำนวน 304 หน่วย คิดเป็น14.4% และระดับราคามากกว่า 10.00 ล้านบาทขึ้นไป มีจำนวน 190 หน่วย คิดเป็น 9%
นายวิชัย กล่าวอีกว่า สัญชาติที่มีการโอนกรรมสิทธิ์ห้องชุดมากที่สุดทั่วประเทศ โดยไตรมาส 1 ปี 2565 ได้แก่ ชาวจีน โดยมีการโอนกรรมสิทธิ์ห้องชุดจำนวน 949 หน่วย คิดเป็น45% ลดลงจากไตรมาส 4 ปี 2564 ซึ่งมีสัดส่วน53.7%และมีมูลค่าการโอน 4,570 ล้านบาท คิดเป็น 44.5% ลดลงจากไตรมาส 4 ปี 2564 ซึ่งมีสัดส่วน 51.2% จะเห็นได้ว่า สัดส่วนชาวจีนที่โอนกรรมสิทธิ์ห้องชุดลดลงไม่ถึง 50% เป็นครั้งแรก ซึ่งเป็นผลมาจากการที่ชาวจีนไม่สามารถเดินทางออกนอกประเทศได้
ในด้านจำนวนหน่วย สัญชาติที่มีการโอนกรรมสิทธิ์ห้องชุดทั่วประเทศ อันดับรองลงมา ได้แก่ รัสเซีย มีการโอนจำนวน 134 หน่วย คิดเป็น6.4%, อันดับ 3.สหรัฐฯ จำนวน 114 หน่วย คิดเป็น5.4%, อันดับ4.สหราชอาณาจักร จำนวน 91 หน่วย คิดเป็น4.3%, อับดับ 5.เยอรมัน จำนวน 81 หน่วย คิดเป็น3.8%
ส่วนในด้านมูลค่า สัญชาติที่มีการโอนกรรมสิทธิ์ห้องชุดทั่วประเทศอันดับแรก คือ จีน มีมูลค่าการโอน 4,570 ล้านบาท อันดับรองลงมา คือ รัสเซีย มีการโอนจำนวน 435 ล้านบาท,อันดับ 3.กัมพูชา 401 ล้านบาท, อันดับ 4. ไต้หวัน 391 ล้านบาท อับดับ 5.ฝรั่งเศส 390 ล้านบาท
อย่างไรก็ดี จังหวัดที่มีจำนวนหน่วยโอนกรรมสิทธิ์ห้องชุดให้ชาวต่างชาติมากที่สุด 5 อันดับแรก ได้แก่ กรุงเทพฯ ชลบุรี สมุทรปราการ ภูเก็ต และเชียงใหม่ ซึ่งส่วนใหญ่จะกระจุกตัวอยู่ใน 2 จังหวัดแรก คือ กรุงเทพฯ มีจำนวน 829 หน่วย และชลบุรี จำนวน 677 หน่วย โดยทั้ง 2 จังหวัดมีสัดส่วนจำนวนหน่วยรวมกันสูงถึง 71.5% ของทั่วประเทศ
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
อสังหาฯ 4 จังหวัดภาคใต้ฟื้น อานิสงส์ท่องเที่ยวหนุน ภูเก็ตนำโด่ง
ศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (REIC) รายงานสถานการณ์ภาพรวมตลาดที่อยู่อาศัยที่ยังอยู่ระหว่างขายในช่วงครึ่งหลังปี 2566
ศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ชี้ราคาบ้านใน กทม. และปริมณฑล ขยับตัวเพิ่มขึ้น
ดัชนีราคาบ้านจัดสรรใหม่ที่อยู่ระหว่างการขาย ไตรมาส 4 ปี 2566 บ้านเดี่ยวในกรุงเทพฯดัชนีเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.3 ดันดัชนีภาพรวมพุ่ง 130.3
ราคาเหล็กลดวูบ หนุนดัชนีราคาค่าก่อสร้างบ้าน Q3 เพิ่มเพียง 1.5%
ศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (REIC) รายงานดัชนีราคาค่าก่อสร้างบ้านมาตรฐาน ไตรมาส 3 ปี 2566 มีค่าดัชนีเท่ากับ 134.2 เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.1 เมื่อเทียบกับไตรมาส 2 ปี 2566 (QoQ) และเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.5 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน
ดัชนีราคาที่ดินเปล่าไตรมาส 2 ขยับเพิ่ม 6.2% แต่เริ่มโตลดลง จากปัญหาศก. -หนี้ครัวเรือน
ดัชนีราคาที่ดินเปล่าก่อนการพัฒนา ในกรุงเทพฯ - ปริมณฑล ไตรมาส 2 /2566 ภาพรวมเพิ่มขึ้น 6.2% แต่ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยก่อนโควิด-19
ราคาที่ดินเปล่าขยับต่อเนื่อง โซนบางพลี-บางบ่อขึ้น 40% ส่วนบางใหญ่ ขึ้น 24%
‘ศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์’ แจงไตรมาส 2/65 ดัชนีราคาที่ดินเปล่าก่อนพัฒนาในกรุงเทพฯ-ปริมณฑยังขยับ พร้อมเปิด 5 ทำเลทองชานเมือง ปักหมุดโซนบางพลี-บางบ่อ-บางเสาธงราคาพุ่งแรง 40.5% ส่วนที่ดินแนวรถไฟฟ้ายังปังไม่ไหว
ตลาดอสังหาฯไตรมาส 1 ฟื้นตัวแรง โตทะลุ 10%
ดัชนีรวมตลาดอสังหาริมทรัพย์ (หมวดที่อยู่อาศัย) ของประเทศไทยไตรมาส 1 ปี 2565 เท่ากับ 86.8 เพิ่มขึ้น 10.4% เหตุเพราะภาพรวมยอดขายดีขึ้น