ประชาชนเชื่อนโยบาย 'Soft Power' ช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจแนะรัฐให้ความสำคัญ

19 มิ.ย. 2565 – “สวนดุสิตโพล” มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ได้สำรวจความคิดเห็นของประชาชนทั่วประเทศ จำนวน 1,066 คน ระหว่างวันที่ 13-16 มิถุนายน 2565 พบว่า ประชาชนมองว่าการผลักดันนโยบาย Soft Power ของไทยช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มมูลค่าเศรษฐกิจของประเทศร้อยละ 78.36 Soft Power ที่ควรส่งเสริม คือ ท่องเที่ยวไทย เทศกาล ประเพณีไทย ร้อยละ 93.79 รองลงมา คือ อาหารไทย ขนมไทย ร้อยละ 82.58 ทั้งนี้คาดว่า Soft Power น่าจะช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยให้ดีขึ้นได้ ร้อยละ 94.56 จุดเด่นของ Soft Power ไทย คือ หลากหลาย โดดเด่น มีเอกลักษณ์ของตนเอง ร้อยละ 68.23 ปัญหาและอุปสรรค คือ รัฐบาลผลักดันไม่เพียงพอ ขาดการส่งเสริมในระยะยาว ร้อยละ 86.09 โดยอยากให้รัฐบาลให้ความสำคัญวางแผนระยะยาว ทำอย่างต่อเนื่อง ร้อยละ 68.14

จากผลการสำรวจประชาชนเห็นถึงโอกาสจาก Soft Power ว่าจะช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจได้สูงถึงร้อยละ 94 สะท้อนให้เห็นว่าประชาชนคาดหวังว่า Soft Power จะเข้ามาช่วยฟื้นเศรษฐกิจไทยได้ และยังมองว่าศักยภาพที่มีอยู่มากของ Soft Power ไทยนี้รัฐบาลยังผลักดันไม่เพียงพอ ดังนั้นภาครัฐจึงควรร่วมมือกับหลาย ๆ ฝ่าย กำหนดแผนระยะยาว ไม่เน้นเพียงแค่การอนุรักษ์รักษา แต่ต้องกล้าที่จะแตกต่าง ส่งเสริมในความหลากหลาย เพื่อนำไปสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์และทันกระแสตลาดโลก

ดร.พรชณิตว์ แก้วเนตร รองอธิการบดีฝ่ายกิจการต่างประเทศและลูกค้าสัมพันธ์ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต จากการเก็บข้อมูลด้วยการเสวนากลุ่มย่อย ในหัวข้อ “คนไทยกับโอกาสจาก Soft Power” เมื่อวันที่ 10 มิถุนายน 2565 โดยเก็บข้อมูลจากบุคคลที่เกี่ยวข้องและมีความเชี่ยวชาญด้านวัฒนธรรมและการทูต บุคคลในวงการสื่อ วงการบันเทิง การศึกษา จำนวน 10 คน ผู้ร่วมเสวนามีความเห็นตรงกันว่า Soft Power มีความหมายที่กว้างไกลกว่าคำว่าวัฒนธรรมหรืออาหารไทย แต่เป็นปฏิบัติการที่ช่วยสร้างโอกาสทางเศรษฐกิจของประเทศ ทั้งนี้รัฐบาลต้องให้ความสำคัญในการวางแผนและขับเคลื่อน Soft Power อย่างเป็นระบบ มีความจำเป็นที่ต้องมีหน่วยงานที่ดำเนินงานด้านนี้โดยเฉพาะ ขณะที่บุคคลทั่วไปก็สามารถร่วมสร้าง Soft Power ภาคประชาชนได้ เริ่มจากการยอมรับและเห็นคุณค่าของ Soft power ไทย แล้วทำหน้าที่เป็นผู้นำเสนอหรือผู้บอกต่อที่ดี ผ่านการสื่อสารที่ซื่อสัตย์และจริงใจ

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ผลสำรวจชี้ คนไทยกระเป๋าฉีกพบมีหนี้สิน 20-50%ของรายได้ แถมเสี่ยงถูกเลิกจ้างสูง

สวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยสวนดุสิต สำรวจความคิดเห็นประชาชนทั่วประเทศ เรื่อง “คนไทยกับความยากจน หนี้สิน และการเลิกจ้างงาน” ระหว่างวันที่ 15-19 กรกฎาคม 2567 กลุ่มตัวอย่างจำนวน 1,146 คน สำรวจผ่านทางออนไลน์และภาคสนาม

'วรวัจน์' หนุนของบแสนล้านทำดิจิทัลวอลเล็ต ชี้ไม่เหมือนรัฐสวัสดิการจ่ายเท่าไหร่ก็ไม่พอ

นายวรวัจน์ เอื้ออภิญญกุล สส.แพร่ พรรคเพื่อไทย (พท.) อภิปรายว่า โครงการดิจิทัลวอลเล็ตเป็นนวัตกรรมทางการเงินที่จะกระตุ้นเศรษฐกิจให้หมุนเวียนสามารถสร้างรายได้ให้กับประชาชนได้ ซึ่งแนวคิดนี้ไม่เหมือนกับแนวคิดรัฐสวัสดิการที่เข้ามาเป็นรัฐบาลแล้วต้องหาเงินมาแจก

'ดุสิตโพล' ชี้ผลการเลือกตั้ง นายก อบจ. สะท้อนถึงการเลือกตั้งระดับชาติ 

นางสาวพรพรรณ บัวทอง ประธานสวนดุสิตโพล ระบุว่าจากผลสำรวจครั้งนี้สะท้อนถึงความรับรู้และมุมมองของประชาชนต่อการเลือกตั้งนายก อบจ. ว่ามีความสำคัญต่อการพัฒนาท้องถิ่น โดยประชาชนเห็นว่าอิทธิพลของ “บ้านใหญ่” นั้นส่งผลต่อการเลือกตั้งซึ่งอาจเป็นอิทธิพลผ่านการสนับสนุนผู้สมัคร

นายกฯเก็บงบฯไว้ใช้โครงการดิจิทัล ไม่นำไปกระตุ้นศก.เท่ากับซ้ำเติมปชช.ให้ลำบากมากขึ้น

'จตุพร' ฟาดนายกฯ อย่าอ้างต่างชาติร้องขอเช่าที่่ดิน 99 ปี เพราะคนได้ประโยชน์คือบริษัทอสังหาฯ ที่สร้างคอนโดขายไม่ออก มูลค่ากว่า 4 ล้านบ้านบาท จวกเก็บงบฯไว้เพื่อใช้ในโครงการดิจิทัล โดยไม่นำไปกระตุ้นเศรษฐกิจ เท่ากับซ้ำเติมประชาชนให้ลำบากมากขึ้น

ดัชนีการเมืองไทยร่วง! ปากท้องฉุดเรตติ้งรัฐบาล 'เศรษฐา' ตามหลัง 'พิธา'

วนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยสวนดุสิต สำรวจความคิดเห็นประชาชนทั่วประเทศ เรื่อง “ดัชนีการเมืองไทย ประจำเดือนมิถุนายน 2567” กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 2,367 คน