สมาคมโรงงานน้ำตาลจ่อยื่นหนังสือค้านเพิ่ม ‘กากอ้อย’ เป็นผลพลอยได้ใน พ.ร.บ.อ้อยฯ

3 สมาคมรง.น้ำตาล ลุยยื่นหนังสือถึง นายกฯ ค้าน เพิ่ม ‘กากอ้อย’ เป็นผลพลอยได้ใน พ.ร.บ.อ้อยฯ หวั่นหลักเกณฑ์การกำกับที่ผิดพลาด นำไปสู่ระบบอุตสาหกรรมล่มสลาย

14 มิ.ย. 2565 – นายปราโมทย์ วิทยาสุข ประธาน 3 สมาคมโรงงานน้ำตาลทราย หรือ TSMC เปิดเผยว่า ฝ่ายโรงงานน้ำตาลไม่ได้รับสิทธิให้เข้าร่วมในคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณากฎหมายนี้เลย ทั้งๆ ที่เป็นผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในอุตสาหกรรมนี้โดยตรง โรงงานน้ำตาลทั้ง 57 โรงงานทั่วประเทศได้ทำหนังสือด่วนที่สุด เพื่อยื่นต่อ นายกรัฐมนตรี ประธานสภาผู้แทนราษฎร ประธานวุฒิสภา ผู้ตรวจการแผ่นดิน ประธานคณะกรรมธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติอ้อยและน้ำตาลทราย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม/พาณิชย์/เกษตรและสหกรณ์ และประธานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทรายและเลขาคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย (สอน.) เพื่อคัดค้านร่าง พ.ร.บ.อ้อยและน้ำตาลทราย ฉบับใหม่ ที่จะเข้าสู่ที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎรในวันพุธที่ 15 มิย. นี้ หากมีการเพิ่มคำว่า ‘กากอ้อย’ อยู่ในคำนิยามอีกครั้งหนึ่ง ทั้งที่ การพิจารณาของคณะกรรมาธิการวิสามัญฯ มีมติเสียงข้างมาก ให้ตัดคำว่า ‘กากอ้อย’ ออกจากคำนิยามแล้ว

ทั้งนี้ ผู้ประกอบการโรงงานน้ำตาลทั้ง 57 โรง ไม่เห็นด้วยในการเพิ่มคำนิยามดังกล่าว เพราะจะนำมาซึ่งความขัดแย้งที่รุนแรงของผู้ที่อยู่ในห่วงโซ่อุปทานของอุตสาหกรรม เนื่องจากขัดแย้งกับ ร่าง พ.ร.บ.อ้อยและน้ำตาลทรายฉบับที่คณะรัฐมนตรี(ครม.)เสนอ ซึ่งได้ผ่านการประชาพิจารณ์ให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเสนอความคิดเห็นเรียบร้อยแล้ว อีกทั้ง ยังขัดต่อหลักการของ พ.ร.บ.อ้อยและน้ำตาลทราย พ.ศ. 2527 ที่เน้นหลักจริยธรรมแห่งการอยู่ร่วมกันระหว่างชาวไร่และโรงงาน สร้างความร่วมมือ ความยั่งยืนและความเป็นธรรมแก่ทุกฝ่าย
“เรามองว่า ร่าง พรบ.อ้อยและน้ำตาลทราย พ.ศ. (ฉบับที่ ….) ของรัฐบาลที่จัดทำโดยกระทรวงอุตสาหกรรม ซึ่งที่ได้รับความเห็นชอบจากทุกฝ่ายและคณะรัฐมนตรีก็มีมติเห็นชอบแล้ว เป็นร่างกฎหมายที่มีความเหมาะสมและสร้างเสมอภาคให้แก่ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกฝ่าย ตามปรัชญาการแบ่งปันผลประโยชน์ที่เป็นธรรม แต่กลับไม่นำมาใช้เป็นร่างหลักในการพิจารณาปรับปรุงกฎหมาย และขอยืนยันว่า การคัดค้านครั้งนี้ไม่ได้ต้องการขัดขวางการปรับปรุงกฎหมาย แต่ต้องการกฎหมายที่นำไปปฎิบัติได้อย่างมีประสิทธิภาพทุกฝ่ายยอมรับ ไม่ก่อให้เกิดความขัดแย้ง จนนำไปสู่การล่มสลายของอุตสาหกรรมเหมือนที่เกิดขึ้นในประเทศอินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์และคิวบา ที่ล้วนเกิดจากการกำกับดูแลที่ผิดพลาดทั้งสิ้น” นายปราโมทย์ กล่าว

นอกจากนี้ คำนิยาม ‘ผลพลอยได้’ ตามกฎหมายฉบับเดิม ทำให้อุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทรายเติบโตมาอย่างมั่นคง จากที่เคยมีผลผลิตอ้อยจำนวน 23.91 ล้านตันในฤดูการผลิตปี 2525/2526 เพิ่มเป็น 134.92 ล้านตันอ้อย ในฤดูการผลิตปี 2560/2561 และยังมีอีกหลายแนวทางที่ใช้ปรับปรุงการบริหารอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทรายเพื่อเพิ่มรายได้ และทำให้ราคาอ้อยสูงขึ้นได้ ซึ่งที่ผ่านมา ชาวไร่อ้อยและโรงงานน้ำตาลตกลงร่วมกันกำหนดระบบประกันราคาอ้อยในอัตราตันละ 1,200 บาท โดยเห็นพ้องกันว่าจะไม่กำหนดคำว่า ‘กากอ้อย’ ในคำนิยาม “ผลพลอยได้” เนื่องจากไม่ต้องการเห็นความขัดแย้งในอุตสาหกรรม ซึ่งจะสงผลให้สำนักงานคณะกรรมาอ้อยและน้ำตาลทรายที่เป็นองค์กรกำกับดูแลตามกฎหมายนี้ไม่สามารถบริหารอุตสาหกรรมนี้ให้เป็นไปด้วยความเรียบร้อย

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'เพื่อไทย' ไม่ฟังเสียงต้าน! ดันทุรังเข็น 'กิตติรัตน์' นั่งปธ.บอร์ดแบงก์ชาติ

รศ.หริรักษ์ สูตะบุตร อดีตรองอธิการบดีฝ่ายบริหารบุคคล มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า เป็นที่รับรู้กันโดยทั่วไปว่า รัฐบาลที่มาจากพรรคเพื่อไทยตั้งแต่รัฐบาลนายเศรษฐา ทวีสิน

'บิ๊กป้อม' ประกาศจุดยืน พปชร. สั่ง สส. คว่ำร่างนิรโทษคดี 112 ทุกฉบับ

'บิ๊กป้อม' ส่ง 'ไพบูลย์' ย้ำจุดยืน 'พปชร.' ค้านรวมคดี ม.112 ทุกรูปแบบ ใน พ.ร.บ.นิรโทษกรรม เหตุฝ่าฝืนคำวินิฉัยศาลรธน. ขืนดึงดันโหวตคว่ำตั้งแต่วาระแรก

'อนุทิน' ย้ำขึ้นค่าแรง 400 นโยบายรัฐบาล รอ 'บอร์ดไตรภาคี' ชี้ขาด

'อนุทิน' ย้ำขึ้นค่าแรง 400 บาท ทั่วประเทศ นโยบายรัฐบาล ชี้ผลสุดท้ายขึ้นอยู่ 'คกก.ไตรภาคี' มั่นใจ 'รมว.แรงงาน’ ดันสุดความสามารถ

อลวน ‘ดิจิทัลวอลเล็ต 10,000 บาท’ นักวิชาการฮึ่ม! ค้านห่วงวินัยคลังพังครืน 'รบ.'ปักหลักลุยต่อ

ยังเป็นประเด็นที่ถูกจับตาจากหลากหลายฝ่ายอย่างมาก สำหรับ “มาตรการดิจิทัลวอลเล็ต 10,000 บาท” ของรัฐบาล นั่นเพราะมีทั้งเสียงที่สนับสนุนและไม่เห็นด้วยเกี่ยวกับการดำเนินมาตรการดังกล่าวของรัฐบาล ขณะเดียวกันก็มีเสียงคัดค้านในหลากหลายมิติ ทั้งให้ทบทวน ให้ปรับแก้ในส่วนต่างๆ ของมาตรการ และที่ดูจะถูกจับตามองมากที่สุดเมื่อช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา มีนักวิชาการ นักเศรษฐศาสตร์ ซึ่งยอดพุ่งไปกว่า 133 คน ลงชื่อคัดค้านนโยบายการแจกเงินดิจิทัลวอลเล็ต อาทิ วิรไท สันติประภพ, ธาริษา วัฒนเกส อดีตผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.), อัจนา ไวความดี, บัณฑิต นิจถาวร อดีตรองผู้ว่าการ ธปท., สิริลักษณา คอมันตร์ อดีตคณบดีคณะเศรษฐศาสตร์ ธรรมศาสตร์ และนิพนธ์ พัวพงศกร อดีตคณบดีคณะเศรษฐศาสตร์ ธรรมศาสตร์ และสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) เป็นต้น