เอกชนจี้รัฐหาวิธีทางการทูตซื้อสินค้าตรงจากรัสเซียเพื่อช่วยคนในประเทศ

ส.อ.ท. โอดความเชื่อมั่นอุตฯ เม.ย.ยังดิ่งต่อเดือนที่ 2 จี้รัฐหาวิธีทางการทูตซื้อสินค้าตรงจากรัสเซียเพื่อช่วยคนในประเทศ พร้อมห่วงดีเซลพุ่งกระทบภาคบริโภคทั้งระบบกดดันหนี้ครัวเรือนเพิ่ม เสนอตั้งคณะทำงานแก้วิกฤต

10 มิ.ย. 2565 – นายเกรียงไกร เธียรนุกุล ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยว่าผลการสำรวจดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมในเดือนพ.ค. 2565 อยู่ที่ระดับ 84.3 ปรับตัวลดลงจากระดับ 86.2 ในเดือนเม.ย. ปรับตัวลดลงเป็นเดือนที่ 2 ติดต่อกันจากเดือนมี.ค. 2565 ปัจจัยสำคัญมาจากสงครามรัสเซีย-ยูเครน ที่ยังคงยืดเยื้อและทวีความรุนแรงขึ้นส่งผลให้ราคาน้ำมันในตลาดโลกรวมถึงราคาสินค้าโภคภัณฑ์และราคาวัตถุดิบต่างๆ ปรับตัวสูงขึ้น กระทบต่อผู้ประกอบการภาคการผลิตโดยเฉพาะเอสเอ็มอี ขณะที่อุปสงค์ในประเทศยังฟื้นตัวช้าจากปัญหาเงินเฟ้อและค่าครองชีพที่ปรับตัวสูงขึ้นส่งผลให้กำลังซื้อของประชาชนลดลง

นอกจากนี้ผู้ประกอบการยังมีความกังวลเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจโลกที่ยังมีความไม่แน่นอนสูงจากผลกระทบความขัดแย้งรัสเซีย-ยูเครน รวมทั้งการปิดเมืองของจีนส่งผลให้เกิดปัญหาซัพพลาย ช็อตเทจ โดยเฉพาะการขาดแคลนเซมิคอนดักเตอร์เพื่อใช้ผลิตรถยนต์และสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ ส่งผลกระทบต่อภาคการส่งออกของไทย อย่างไรก็ตามยังมีปัจจัยสนับสนุนจากการทยอยผ่อนคลายมาตรการควบคุมโควิด-19 ทำให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจต่างๆ เพิ่มขึ้น นโยบายเปิดประเทศและการยกเลิกระบบเทสต์แอนด์โกช่วยกระตุ้นการท่องเที่ยวและเศรษฐกิจในประเทศ

ขณะที่สถานการณ์ราคาน้ำมันดีเซลที่ใกล้แตะราคาเพดาน 35 บาทต่อลิตร ว่า ภาคเอกชนมีความกังวลว่าจะทะลุเพดาน 35 บาทต่อลิตร เรื่องจากราคาดังกล่าวมาจากสมมติฐานราคาน้ำมันดิบ 100-110 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล ขณะนี้ราคาน้ำมันขึ้นระดับ 110-120 เหรียญฯ ล่าสุดเอกชนประเมินว่าจะขึ้นระดับ 135-140 เหรียญฯ เพดานอาจต้องขยับเป็น 40 บาทต่อลิตร ซึ่งภาคเอกชนแม้จะได้รับผลกระทบรุนแรงแต่ได้วางแผนความเสี่ยงเพื่อรับมือแล้ว ที่ห่วงคือธุรกิจเอสเอ็มอี และภาคครัวเรือนที่จะกระทบอำนาจการบริโภค เมื่อรายจ่ายเพิ่มความสามารถการชำระหนี้จะลดลง อาจกดดันหนี้ครัวเรือนสูงขึ้นไปอีก จากปัจจุบันก็สูงมากอยู่แล้วระดับ 90.1%

“ตอนนี้หลายประเทศทั่วโลกต่างปรับลดเป้าหมายผลิตภัณฑ์มวลรวมประเทศ หรือ จีดีพี มีเพียงไทยที่หน่วยงานรัฐปรับเพิ่มจีดีพี รู้สึกแปลกใจเหมือนกัน คาดว่าคงหวังภาคการท่องเที่ยวจะเป็นตัวดึงจีดีพี แต่มุมเอกชนกลับมีความกังวลปัจจัยโลกโดยเฉพาะสงคราม เพราะเริ่มส่งผลต่อภาคการส่งออกของไทยให้ชะลอตัวลง เริ่มเห็นบางอุตสาหกรรมแล้ว ซึ่งขนาดรายได้ของภาคส่งออกสูงกว่าภาคท่องเที่ยว แม้รายได้ท่องเที่ยวทดแทนคงไม่พอ ดังนั้นเวลานี้สิ่งที่ควรดำเนินการคือ ความร่วมมือระหว่างรัฐและเอกชน อาจตั้งคณะทำงาน เพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูล และร่วมกันทำงานเพื่อเป็นประโยชน์กับประเทศมากที่สุด”นายเกรียงไกร กล่าว

นายเกรียงไกร กล่าวว่า ทั้งนี้จากการรวบรวมความเห็นของสมาชิกส.อ.ท. เพื่อเสนอต่อภาครัฐ ประกอบด้วย 1.เสนอให้ภาครัฐช่วยเจรจาหาแหล่งวัตถุดิบใหม่ที่มีศักยภาพมาทดแทน โดยเฉพาะ ปุ๋ย อาหารสัตว์ สารเคมี ขณะเดียวกันอยากขอให้ภาครัฐใช้วิธีทางการทูตเจรจาซื้อวัตถุดิบ หรือสินค้าโดยตรงจากรัสเซีย อาทิ ปุ๋ย เช่นเดียวกับประเทศอื่นที่หาวิธีช่วยเหลือคนในประเทศตัวเองก่อน เพราะหากไทยไม่ทำวิธีดังกล่าวจะได้รับผลกระทบรุนแรงมากขึ้น รวมทั้งส่งเสริมการใช้วัตถุดิบในประเทศให้มากขึ้นเพื่อลดการพึ่งพาสินค้านำเข้าจากต่างประเทศและเพื่อความมั่นคงระยะยาว

2.ออกมาตรการช่วยเหลือเอสเอ็มอี อาทิ เงินอุดหนุนรักษาการจ้างงาน เงินกู้ดอกเบี้ยต่ำ เพื่อเสริมสภาพคล่องในการดำเนินธุรกิจ 3.เสนอภาครัฐเปิดการท่องเที่ยวเต็มรูปแบบ และออกมาตรการดึงดูดนักท่องเที่ยวต่างชาติที่มีคุณภาพ เพื่อช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจช่วงครึ่งหลังของปี 2565 และ4.ดูแลเสถียรภาพค่าเงินบาทให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

กลุ่ม ปตท. และกลุ่มฯ โรงกลั่นน้ำมันปิโตรเลียม ส.อ.ท. พร้อมเดินหน้าขับเคลื่อนประเทศไทย ด้วยพลังงานสะอาด และคาดการณ์ราคาน้ำมันในปี 68

เมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน 2567 ดร.คงกระพัน อินทรแจ้ง ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า งานสัมมนา The Annual Petroleum Outlook Forum

'อิ๊งค์' คุย กกร. ชื่นมื่น! ปลื้มอวย 'พ่อนายกฯ' แก้เศรษฐกิจเก่งสุด

นายกฯ คุย ‘กกร.’ รับข้อเสนอแก้เศรษฐกิจ จับมือเอกชนหารายได้ใหม่เข้าประเทศ ด้าน ‘สนั่น’ เชื่อมั่นรัฐบาลอิ๊งค์ พร้อมช่วยดันจีดีพีโต ชมเปาะ 'ทักษิณ' เก่งสุด