‘ศักดิ์สยาม’นั่งหัวโต๊ะไฟเขียวร่าง Roadmap แผนฟื้นฟูอุตสาหกรรมการบินปี 65-68 หลังอุตสาหกรรมการบินได้รับผลกระทบจากโควิด-19 หนักสุดในรอบ 10 ปี ทำผู้โดยสารหายกว่า 64% ฉุดรายรับหด 70%
10 มิ.ย.2565 – นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รมว.คมนาคม ในฐานะประธานกรรมการการบินพลเรือน (กบร.) เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะกรรมการการบินพลเรือน (กบร.) ครั้งที่ 4/2565 มีมติรับร่าง Roadmap แผนฟื้นฟูอุตสาหกรรมการบินปี 2565-2568 และร่างนโยบายด้านการบินพลเรือนของประเทศ ซึ่งจะเป็นแนวทางที่สำคัญอย่างมากต่อการช่วยฟื้นฟูอุตสาหกรรมการบิน และเศรษฐกิจของไทย ตลอดจนส่งเสริมการพัฒนาอุตสาหกรรมการบินอย่างยั่งยืน สามารถแข่งขันได้ในระดับสากล
สำหรับแผนฟื้นฟูอุตสาหกรรมการบิน ปี 2565-2568 นั้น โดยจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ทำให้อุตสาหกรรมการบินของของไทยได้รับผลกระทบอย่างรุนแรงที่สุดในรอบ 10 ปี โดยในปี 2563 มีผู้โดยสารลดลงจากปี 2562 ถึง 64.7% และปริมาณเที่ยวบินทั้งหมดลดลง 53.1% ต่อเนื่องปี 2564 มีจำนวนผู้โดยสารลดลงจากปีก่อนหน้าถึง 64.1% และปริมาณเที่ยวบินทั้งหมดลดลง 48.5% ส่งผลให้การจ้างงานในอุตสาหกรรมการบินลดลง20.88% และรายรับในการประกอบการการบินลดลงมากถึง 70.96%
ทั้งนี้ ในช่วงการระบาดของโควิด-19 ที่ผ่านมา หน่วยงานด้านการบินได้มีมาตรการช่วยเหลือผู้ประกอบการสายการบิน โดยแบ่งเป็น 2 ด้าน ได้แก่ 1.มาตรการช่วยเหลือด้านการเงิน เช่น การปรับลดค่าบริการการบินของสนามบินและบริการการเดินอากาศ การขยายระยะเวลาชำระหนี้ (Credit Terms) 2.มาตรการผ่อนคลายกฎระเบียบข้อบังคับ เช่นการยกเว้นมาตรการและแนวทางปฏิบัติในการขนส่งสินค้าภายในห้องโดยสาร การขยายระยะเวลาการมีผลใช้ได้ของใบอนุญาตผู้ประจำหน้าที่ต่างๆ เป็นต้น
อย่างไรก็ตาม สำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย (กพท.) ได้ประมาณการการฟื้นตัวของผู้โดยสารซึ่งมีความสอดคล้องกับการคาดการณ์ของสมาคมขนส่งทางอากาศระหว่างประเทศ (IATA) ว่า อุตสาหกรรมการบินจะฟื้นตัวกลับเข้าสู่สภาวะปกติภายใน 2-3 ปี ข้างหน้า ดังนั้น เพื่อเตรียมความพร้อมให้ผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมและรองรับการฟื้นตัวที่จะเกิดขึ้น กพท. ตามมติ กบร. จึงได้ศึกษาและจัดทำแผนฟื้นฟูอุตสาหกรรมและปรับปรุงเพื่อให้เป็นไปตามสถานการณ์อย่างต่อเนื่องจนกระทั่งมีแผนฟื้นฟูอุตสาหกรรมการบิน ปี 2565-2568
นายศักดิ์สยาม กล่าวอีกว่า กรอบแนวคิดและแผนปฏิบัติของแผนฯ มุ่งเน้นให้อุตสาหกรรมการบินสามารถ “อยู่รอดเข้มแข็ง และยั่งยืน” โดยอ้างอิงจาก แนวปฏิบัติด้านมาตรการทางด้านเศรษฐกิจและการเงินเพื่อบรรเทาผลกระทบจากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ในอุตสาหกรรมการบินขององค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศ (ICAO) มาตรการให้การช่วยเหลือของต่างประเทศ และแผนแม่บทเฉพาะกิจภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติอันเป็นผลมาจากสถานการณ์โควิด-19 พ.ศ. 2564-2565 (แผน 2 ปี) ของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ทั้งนี้โดยในปี 2565 มีเป้าหมายระยะ Quick-win ตามมาตรการ “อยู่รอด” คือ อุตสาหกรรมการบินมีความพร้อมสำหรับการเปิดทำการบินอย่างเต็มรูปแบบภายในปี 2565 มีเป้าหมาย เช่น ผู้ประกอบการการบินสามารถดำเนินกิจการต่อไปได้ในช่วงที่ยังคงมีการระบาด โดยมีกลยุทธ์ในการเพิ่มสภาพคล่องทางการเงิน ผ่อนคลายกฎระเบียบเพื่ออำนวยความสะดวก พัฒนาความร่วมมือขององค์กรที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมการบิน เพื่อกระตุ้นความต้องการในการเดินทางทางอากาศระหว่างประเทศ ไปพร้อมกับการตรวจสอบมาตรฐานความปลอดภัยของผู้ประกอบการ เพื่อให้ยังคงไว้ซึ่งมาตรฐานความปลอดภัยในการปฏิบัติการบิน
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
‘คมนาคม’ เตรียมพร้อมสนามบินรับผู้โดยสารช่วงไฮซีซั่นลุ้นสิ้นปีแตะ6 ล้านคน
‘ศักดิ์สยาม’สั่งเตรียมการรับมือผู้โดยสารเพิ่ม รองรับไฮซีซั่นปลายปีนี้ ป้องกันปัญหาเที่ยวบินป่วนในยุโรป–สหรัฐฯ คาดสิ้นปี 65 มีนักท่องเที่ยวเข้าไทย 6 ล้านคน ส่วนปี 66 แตะ 19 ล้านคน
“อนุทิน-ศักดิ์สยาม” ร่วมการประชุมสุดยอดด้านการบินชางงี 2565 ณ สิงคโปร์ ย้ำจุดยืนไทยพร้อมฟื้นฟูอุตสาหกรรมการบินหลังการแพร่ระบาดโควิด19
วันที่ 17 พ.ค. 2565 นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรมว.สาธารณสุข จะนำคณะจากประเทศไทยซึ่งประกอบด้วย