31 พ.ค. 2565 – รายงานข่าวจากทีมวิเคราะห์ตลาดต่างประเทศ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่าสถานการณ์ราคาน้ำมันในสัปดาห์ล่าสุด จะเพิ่มขึ้นโดยได้แรงหนุนจากสหภาพยุโรป (EU) เดินหน้าพิจารณามาตรการคว่ำบาตรน้ำมันจากรัสเซียในการประชุมสุดยอด (Summit) ในวันที่ 30-31 พ.ค. 65 ซึ่งกระทรวงการคลังสหรัฐฯ ประกาศคว่ำบาตรเครือข่ายการลักลอบขนน้ำมันและฟอกเงิน ซึ่งอิหร่าน และรัสเซียสนับสนุน อาทิ บริษัท RPP LLC ในรัสเซีย, Zamanoil DMCC ในสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์, Haokun Energy Group Co. Ltd. ในจีน, และ China Haokun Energy Ltd. ซึ่งเป็นบริษัทลูกที่อยู่ในฮ่องกง เป็นต้น
ขณะที่กลุ่มประเทศอุตสาหกรรมชั้นนำของโลก (G7: แคนาดา ฝรั่งเศส เยอรมนี อิตาลี ญี่ปุ่น สหราชอาณาจักร และสหรัฐฯ) ที่ประชุมช่วง 25 – 27 พ.ค. 65 ได้เรียกร้องให้กลุ่มโอเปก(OPEC) ซึ่งจะประชุมในวันที่ 2 มิ.ย. 65 ช่วยบรรเทาภาวะอุปทานน้ำมันในตลาดโลกที่มีแนวโน้มตึงตัวจากการคว่ำบาตรน้ำมันของรัสเซีย เพื่อความมั่นคงทางพลังงานโลก
ทั้งนี้นักวิเคราะห์ของธนาคาร UBS ของสวิตเซอร์แลนด์ คาดว่าราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกจะยังคงอยู่ในระดับสูง จากความต้องการใช้น้ำมันเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะในสหรัฐฯ ขณะที่อุปทานน้ำมันมีแนวโน้มลดลง ขณะเดียวกันสถานการณ์ราคาน้ำมันที่จะเพิ่มขึ้นยังประกอบกับสหรัฐฯ เข้าสู่ฤดูขับขี่ท่องเที่ยว โดยสมาคมรถยนต์แห่งอเมริกา (AAA) คาดการณ์จำนวนประชาชนที่เดินทาง (ระยะทาง 50 ไมล์ขึ้นไป) เพิ่มขึ้นจากปีก่อน 5% อยู่ที่ราว 34.9 ล้านคน
ด้าน บมจ. ไทยออยล์ ออกบทวิเคราะห์ สถานการณ์ราคาน้ำมันดิบปรับเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง หลังจากผู้นำสหภาพยุโรป กล่าวว่า ทางกลุ่มสามารถที่จะตกลงลดการนำเข้าน้ำมันดิบจากรัสเซียกว่าร้อยละ 90 ภายในสิ้นปีนี้ ประกอบกับการผ่อนคลายข้อจำกัดการเดินทางในจีน เพื่อควบคุมการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 โดยเซี่ยงไฮ้ได้ประกาศยุติการปิดเมืองหรือล็อกดาวน์ เป็นเวลา 2เดือน ทำให้ประชาชนมีความต้องการออกมาใช้รถและอุปสงค์การใช้น้ำมันปรับตัวมากขึ้น
+/- นักลงทุนคลายความกังวลว่าจะมีการปรับ ผู้นำสหภาพยุโรปเห็นพ้องต้องกันในหลักการเมื่อวันจันทร์ว่าจะลดการนำเข้าน้ำมัน 90% จากรัสเซียภายในสิ้นปีนี้ ทั้งนี้มาตรการดังกล่าวต้องได้รับความเห็นชอบจากสมาชิกสหภาพยุโรปทั้ง 27 ประเทศก่อนจะมีผลบังคับใช้ หลังยังคงต้องแก้ปัญหาการหยุดชะงักกับฮังการี
+ราคาน้ำมันได้รับแรงหนุนจากค่าเงินดอลลาร์สหรัฐที่อ่อนค่าลงเช่นกัน เนื่องจากนักลงทุนคลายความกังวลว่าจะมีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของสหรัฐฯ อย่างรุนแรง ท่ามกลางความกังวลต่างๆ ที่น้อยลงเกี่ยวกับภาวะถดถอยทั่วโลก โดยจากการที่ดอลลาร์อ่อนค่าลงส่งผลให้ราคาน้ำมันดิบถูกลงเมื่อเทียบกับผู้นำเข้าที่ถือสกุลเงินอื่น
ด้านภาพรวมของราคาน้ำมันเบนซิน
ปรับตัวเพิ่มขึ้นมากกว่าราคาน้ำมันดิบดูไบ หลังหลายประเทศคลายมาตรการล็อคดาวน์ท่ามกลางการเริ่มต้นฤดูร้อนของสหรัฐฯ อย่างเป็นทางการ และผ่อนคลายข้อจำกัดของCOVID-19 จึงทำให้ประชาชนมีความต้องการการใช้รถมากขึ้น
ด้านภาพรวมของน้ำมันดีเซล
การปรับตัวเพิ่มขึ้นมากกว่าราคาน้ำมันดิบดูไบ ซึ่งยังคงเป็นแรงผลักดันให้โรงกลั่นในเอเชียเพิ่มผลผลิตและส่งออกบาร์เรลส่วนเกินไปยังตลาดต่างประเทศ