“แบงก์ชาติ” ลุ้นอานิสงส์เปิดประเทศกระทุ้งเชื่อมั่นฟื้น ห่วงติดเชื้อเพิ่ม แต่เชื่อบริหารจัดการได้ ฟันธงเศรษฐกิจพ้นจุดต่ำสุด เข้าสู่โหมดทยอยฟื้นตัว หลังรัฐปลดล็อกมาตรการคุมระบาด ช่วยหนุนภาคบริการ แรงงานย้ายถิ่น-เลิกจ้างลดลง
30 ต.ค. 2564 นางสาวชญาวดี ชัยอนันต์ ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายบริหารการสื่อสารองค์กร ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า จะเห็นภาพการฟื้นตัวและความเชื่อมั่นต่าง ๆ กลับมา หลังจากที่ไทยมีการเปิดประเทศในวันที่ 1 พ.ย. นี้ แม้อาจจะมีการติดเชื้อโควิด-19 ที่มากขึ้นบ้าง แต่เชื่อว่าจะสามารถบริหารจัดการได้ ควบคู่กับการกระจายวัคซีนที่ทำได้ดี ช่วยให้ผู้ป่วยโควิด-19ขั้นรุนแรงไม่ได้เพิ่มสูง ทำให้เศรษฐกิจไทยทยอยฟื้นตัวและคาดว่าปี 2564 จะขยายตัวกรณีฐาน 0.7% แต่ได้ประเมินกรณีเลวร้ายหากมีความเสี่ยงโควิดระบาด อาจต่ำกว่า 0.7% โดยจะทบทวนประมาณการเศรษฐกิจและจำนวนนักท่องเที่ยวใหม่ในเดือนธ.ค. นี้
สำหรับเศรษฐกิจไทยในปี 2565 จะเข้าสู่โหมดของการฟื้นฟูภาคธุรกิจ โดย ธปท.ได้มีสินเชื่อฟื้นฟูไว้รองรับธุรกิจที่ต้องการสภาพคล่อง และธปท. สนับสนุนปรับโครงสร้างหนี้ในช่วงที่เริ่มฟื้นฟูมากขึ้น จากคนมีภาระหนี้ในช่วงโควิด-19 คนก็ควรเบาตัว ละเข้าสู่โหมดปรับโครงสร้างหนี้ ค่อย ๆ แบ่งเบาภาระหนี้ในอนาคต โดยเครื่องมือที่มีอยู่ยังช่วยเหลือได้ แต่ยังตอบไม่ได้ว่ามาตรการปัจจุบันเพียงพอหรือไม่ อาจต้องดูหลายมาตรการร่วมกัน
“ธปท.ได้สอบถามผู้ประกอบการหลายแห่งในเดือน ต.ค. 2564 เห็นสัญญาณหลายธุรกิจปรับตัวดีขึ้น ภาคการผลิตดีขึ้นตามกำลังซื้อที่ค่อย ๆ ปรับตัวดี ตามกิจกรรมเศรษฐกิจที่ค่อย ๆ ฟื้นตัว รวมทั้งภาคบริการที่รับผลบวกจากการผ่อนคลายควบคุมการระบาด และยังเห็นสัญญาณแรงงานย้ายถิ่นและเลิกจ้างลดลง เริ่มเห็นการเคลื่อนย้ายแรงงานกลับเข้าพื้นที่อุตสาหกรรมบ้างแล้ว แต่ยังต้องติดตามความเปราะบางต่อเนื่อง เพราะยังมีจำนวนผู้ประกันตนมาตรา 39 เพิ่มขึ้น สะท้อนคนตกงานยังไม่สามารถเข้าทำงานในระบบ” นางสาวชญาวดี กล่าว
นอกจากนี้ ในเดือนต.ค. 2564เห็นทิศทางเงินบาทกลับมาแข็งค่า หลังจากไทยเตรียมเปิดประเทศในวันที่ 1 พ.ย.นี้ ซึ่งเงินบาทในเดือนก.ย.อ่อนค่าเทียบดอลลาร์สหรัฐฯ ที่แข็งค่า หลังจากผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐเพิ่มขึ้น ด้านเงินเฟ้อทั่วไปในเดือน ก.ย.กลับมาเพิ่มขึ้นจากสิ้นสุดมาตรการลดค่าไฟฟ้าและน้ำประปา และราคาน้ำมันขายปลีกในประเทศตามราคาน้ำมันดิบเพิ่มขึ้น โดยคาดเงินเฟ้อปี 2564 จะเข้าสู่กรอบล่าง 1%
สำหรับเศรษฐกิจไทยในเดือนก.ย. 2564หลังจากผ่อนคลายล็อกดาวน์และภาพรวมไตรมาสที่ 3 เริ่มดีขึ้นและเชื่อว่าจะเป็นจุดที่ต่ำสุดของเศรษฐกิจไทยแล้ว และการส่งออกไทยทำได้ดีขึ้น ดุลการค้าเกินดุล การนำเข้าลดลง ทำให้ดุลบัญชีเดินสะพัดเดือนก.ย.ขาดดุลลดลงอยู่ที่ 1,300 ล้านดอลลาร์ ด้านเครื่องชี้การบริโภคภาคเอกชนในเดือน ก.ย.เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนในเกือบทุกหมวด จากการทยอยผ่อนคลายมาตรการควบคุมการระบาด และการฉีดวัคซีนที่มีความคืบหน้ามากขึ้นทำให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจโดยรวม รายได้ครัวเรือน และความเชื่อมั่นของผู้บริโภคเริ่มปรับดีขึ้น, ผลของอุปสงค์คงค้างจากช่วงก่อนหน้า และมาตรการภาครัฐที่ยังช่วยพยุงกำลังซื้อของครัวเรือนอย่างต่อเนื่อง
ขณะที่เครื่องชี้การลงทุนภาคเอกชน ทั้งหมวดเครื่องจักรและอุปกรณ์ที่ปรับเพิ่มขึ้นตามภาวะอุปสงค์ที่ฟื้นตัว และความเชื่อมั่นภาคธุรกิจที่ดีขึ้น และหมวดก่อสร้างที่ปรับดีขึ้นต่อเนื่อง หลังมีการผ่อนคลายมาตรการควบคุมการระบาดในพื้นที่ก่อสร้างตั้งแต่ปลายเดือนก.ค. ส่วนมูลค่าการส่งออกสินค้าเพิ่มขึ้นบ้างจากเดือนก่อนจากอุปสงค์ประเทศ คู่ค้าที่ฟื้นตัวภายหลังสถานการณ์การแพร่ระบาดในต่างประเทศคลี่คลาย รวมทั้งภาคการผลิตของไทยที่กลับมาดำเนินการได้มากขึ้น ทำให้การส่งออกสินค้าหลายหมวดปรับดีขึ้น
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
‘อนุสรณ์’ วิเคราะห์ ‘ทรัมป์2.0’ ไทยต้องปรับยุทธศาสตร์ ศก. พึ่งพาตัวเองมากขึ้น
ทรัมป์ 2.0 ไทยต้องปรับยุทธศาสตร์เศรษฐกิจหันพึ่งพาตัวเองมากขึ้น สินค้านอกข้อตกลงเอฟทีเอกระทบรุนแรง สงครามการค้าระหว่างจีนกับสหรัฐฯรอบใหม่อาจนำไปสู่สงครามเย็นรอบใหม่ในไม่ช้า
เศรษฐกิจไทย ทำไมยังไม่ไปไหนเสียที
ก่อนหน้าที่ดิฉันจะเข้าทำงานที่องค์การสหประชาชาติเมื่อเกือบ 8 ปีก่อน ดิฉันเป็นคนหนึ่งที่ไม่ค่อยได้ชื่นชมประเทศไทยมากนัก เพราะรถติดมากแทบทุกวัน
ไทยพาณิชย์ปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้สูงสุด 0.25% เริ่ม 1 พ.ย.
ธนาคารไทยพาณิชย์ ประกาศปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้สูงสุด 0.25% ต่อปี เพื่อให้สอดคล้องกับทิศทางการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายของคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.)
เวิลด์แบงก์คาดจีดีพีไทยปี 67 โต 2.4%
ธนาคารโลก (World Bank) คงคาดการณ์อัตราการเติบโตของเศรษฐกิจ (GDP) ไทยในปี 2567 จะอยู่ที่ 2.4% เร่งตัวขึ้นจาก 1.9% ในปี 66
'ต่อตระกูล' วิเคราะห์แนวโน้มเศรษฐกิจไทย เทียบประเทศอื่นในเอเชีย ในอีก 10 ปีข้างหน้า
นายต่อตระกูล ยมนาค อดีตนายกสมาคมวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ โพสต์เฟซบุ๊กเผยแพร่บทความเรื่อง "เศรษฐกิจไทย วันนี้ตกต่ำจริง แล้วยังมีอนาคตอยู่ไหม?