'สินมั่นคง' อ่วมพิษโควิดไตรมาสแรกขาดทุน 2.9 หมื่นล้าน เร่งวางกรอบฟื้นฟูกิจการ

24 พ.ค.65 – บริษัทสินมั่นคงประกันภัย จำกัด (มหาชน) ได้ทำหนังสือแจ้งต่อ ก.ล.ต. ส่งงบการเงินไตรมาส 1 ปี 2556 ซึ่งแสดงผลกำไร(ขาดทุน)สุทธิ สำหรับงวด 3 เดือนสิ้นสุดวันที่ 31 มี.ค.2565 และ 2564 จำนวน (29,421.37) ล้านบาท และ 173.23 ล้านบาท คิดเป็นอัตราดอกเบี้ยลดลงร้อยละ 16,794.48 ซึ่งการวิเคาระห์และคำอธิบายของฝ่ายจัดการดังนี้

1.รายได้รวมของบริษัทฯ ในไตรมาส 1 ปี 2565 เท่ากับ 2,472.06 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 19.32 ล้านบาท จากช่วงเวลาเดียวกัน ปีก่อนที่มีรายได้รวม 2,452.74 ล้านบาท คิดเป็นอัตราเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.79 เกิดจากสาเหตุหลักดังนี้

1.1 เบี้ยประกันภัยที่ถือเป็นรายได้ในไตรมาสนี้เท่ากับ 2,410.43 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 47.21 ล้านบาท ผลมาจากการสำรองเบี้ยประกันภัยบวกกลับที่ลดลงจากไตรมาสเดียวกันกับปีก่อนจำนวน 566.02 ล้านบาท

1.2 รายได้และกำไรจากการลงทุนลดลง 17.54 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 32.64 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน สาเหตุหลักเกิดจากรายได้จากดอกเบี้ยและเงินปันผลที่ลดลง 51.68 ล้านบาท

2.ค่าใช้จ่ายรวมเท่ากับ 31,624.92 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 29,388.06 ล้านบาท คิดเป็นอัตราร้อยละ 1,313.81 จากงวดเดียวกันของปีก่อนซึ่งมีค่าใช้จ่ายรวมเท่ากับ 2,236.85 ล้านบาท เกิดจากสาเหตุหลัก ดังนี้

2.1 สำรองความเสี่ยงภัยที่ยังไม่สิ้นสุดในไตรมาส 1 ปี 2565 เท่ากับ 6,374.52 ล้านบาท คิดเป็นอัตราเพิ่มขึ้นร้อยละ 100.00 เป็นผลมาจากการสำรองเบี้ยประกันภัยไม่เพียงพอต่อค่าสินไหมทดแทนโควิด-19 จึงต้องสำรองความเสี่ยงภัยที่ยังไม่สิ้นสุดเพิ่มเติม

2.2 ค่าสินไหมทดแทนในไตรมาส 1 ปี 2565 เท่ากับ 24,571.77 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 23,166.89 ล้านบาท คิดเป็นอัตราเพิ่มขึ้นร้อยละ 1,649.03 โดยแยกเป็นค่าสินไหมทดแทนประเภทอื่นๆ 1,311.03 ล้านบาท และค่าสินไหมทดแทนโควิดเท่ากับ 23,260.74 ล้านบาท เนื่องจากจำนวนผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดดจากเมื่อเทียบกับจำนวนผู้ติดเชื้อในปี 2564

3.กำไรจากการรับประกันภัยในไตรมาส 1 ปี 2565 มีผลขาดทุนจำนวน 29,187.25 ล้านบาท เนื่องจากการรับประกันภัยโควิดประสบผลขาดทุนเป็น จำนวนเงินสูงสุดถึง 29,479.68 ล้านบาท ส่วนการรับประกันภัยประเภทอื่นๆ มีผลกำไรจำนวน 292.42 ล้านบาท

โดยสรุป สาเหตุหลักที่ทำให้ผลการดำเนินงานประสบผลขาดทุนสูงถึง 29,421.37 ล้านบาท มาจากจำนวนเงินค่าสินไหมทดแทนโควิดที่เพิ่มขึ้นอย่างมากเมื่อเทียบกับไตรมาส 1 ปี 2564 ซึ่งมีจำนวนเงินค่าสินไหมทดแทนโควิดเพียง 19.08 ล้านบาท

พร้อมกันนี้ สินมั่นคงประกันภัย ยังแจ้งกรอบเวลาการฟื้นฟูกิจการดังนี้

ตามที่บริษัท สินมั่นคงประกันภัย จำกัด (มหาชน) ได้ยื่นคำร้องขอฟื้นฟูกิจการ ต่อศาลล้มละลายกลางเมื่อวันที่ 17 พ.ค. 2565 และในวันที่ 18 พ.ค. 2565 ศาลฯ ได้มีคำสั่งรับคำร้องขอฟื้นฟูกิจการของบริษัทฯ แล้ว บริษัทฯ จึงได้กำหนดกรอบระยะเวลาประมาณการเพื่อฟื้นฟูกิจการในเบื้องต้น และขั้นตอนกระบวนการฟื้นฟูกิจการตามกฎหมาย เพื่อเร่งแก้ไขปัญหาสินไหมโควิด และสร้างความมั่นใจในการดำเนินธุรกิจ ของบริษัทฯ ต่อไป

ทั้งนี้ โดยมีรายละเอียดดังนี้ศาลมีคำสั่งรับคำร้องขอฟื้นฟูกิจการ และกำหนดวันนัดพิจารณา ลูกหนี้อยู่ในสภาวะบังคับชั่วคราว หรือ สภาวะพักการชำระหนี้ (Automatic Stay)และศาลจัดส่งคำร้องขอฟื้นฟูกิจการให้บรรดาเจ้าหนี้ ประมาณเดือนมิ.ย. 2565 พร้อมนัดไต่สวนคำร้องขอฟื้นฟูกิจการ 15 ส.ค. 2565

พร้อมคาดว่าศาลพิจารณามีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการและตั้งผู้ทำแผน ประมาณเดือนต.ค. 2565 ประกาศคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการและตั้งผู้ทำแผนในหนังสือพิมพ์และราชกิจจานุเบกษา (หลังจากศาลมีคำสั่งตาม ข้อ 5 ประมาณ 1 เดือน) ประมาณเดือนพ.ย. 2565

ส่วนเจ้าหนี้ต้องดำเนินการยื่นคำขอรับชำระหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ภายในระยะเวลา 1 เดือนนับจากวันโฆษณาคำสั่งตั้งผู้ทำแผน ประมาณเดือนธ.ค. 2565 คาดว่าศาลล้มละลายพิจารณาคำสั่งเห็นชอบแผนฟื้นฟูกิจการ ประมาณเดือนมิ.ย. 2566 และ ผู้บริหารแผนดำเนินการตามแผนฟื้นฟูกิจการ ก.ค. 2566 เป็นต้นไป

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'หมอยง' ชี้ 'โควิด' ระบาดหนัก แต่รุนแรงลดลง เข้าใกล้ไข้หวัดใหญ่

ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า โควิด 19

‘เศรษฐา’ ลาป่วยติดโควิด กลับมาปฎิบัติงานวันที่ 19 มิ.ย.นี้

นายกรัฐมนตรี ได้พบแพทย์ หลังจากมีอาการป่วย อ่อนเพลียเล็กน้อย ตั้งแต่วันศุกร์ ที่ 14 มิถุนายน ที่ผ่านมา ผลการตรวจพบว่าติดโควิด

ทุบสถิติปีนี้! ไทยติดโควิดใหม่รายสัปดาห์ทะลุ 2.7 พันคน

กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข รายงานสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 รายสัปดาห์ว่า ระหว่างวันที่ 2 - 8 มิถุนายน 2567 มีผู้ติดเชื้อรายใหม่ รักษาในโรงพยาบาล