'บสย.' โชว์ 30 ปีค้ำประกันสะสม 1.28 ลล.อุ้มเอสเอ็มอีเข้าถึงแหล่งทุน 7.27 แสนราย

“บสย.” โชว์ผลงาน 30 ปี ลุยอนุมัติวงเงินค้ำประกันสะสม 1.28 ล้านล้านบาท อุ้มผู้ประกอบการเอสเอ็มอีเข้าถึงแหล่งทุน 7.27 แสนราย สร้างสินเชื่อวิ่งในระบบ 1.72 ล้านล้านบาท ช่วยรักษาการจ้างงานกว่า 11 ล้านตำแหน่ง แจงงบรัฐ 1 ล้านบาท สร้างผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจประเทศ 28 เท่า

20 พ.ค. 2565 – นายสิทธิกร ดิเรกสุนทร กรรมการและผู้จัดการทั่วไป บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) เปิดเผยว่า ในช่วง30 ปีที่ผ่านมา (ปี 2535 – 2565) บสย. ได้เร่งช่วยเหลือผู้ประกอบการเอสเอ็มอีให้เข้าถึงแหล่งทุน โดยมียอดยอดค้ำประกันสินเชื่อสะสม 1.28 ล้านล้านบาท และช่วยให้ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีได้สินเชื่อ 727,858 ราย หรือ คิดเป็น 23% ของเอสเอ็มอีทั้งประเทศ แบ่งเป็นช่วยผู้ประกอบการเอสเอ็มอี 226,444 ราย หรือ 31% และรายย่อย (Micro) 501,414 ราย หรือ 69% ก่อให้เกิดสินเชื่อในระบบกว่า 1.72 ล้านล้านบาท รวมทั้งยังช่วยรักษาการจ้างงาน 11 ล้านตำแหน่ง ก่อให้เกิดผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจกว่า 5.3 แสนล้านบาท

ทั้งนี้ การขับเคลื่อนเศรษฐกิจผ่านกลไกการค้ำประกันสินเชื่อ ยังได้สะท้อนความสำเร็จในมิติ ประสิทธิภาพการใช้งบประมาณภาครัฐที่ก่อให้เกิดผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจแบบทวีคูณ โดยงบประมาณรัฐ 1 ล้านบาท สร้างผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจได้ถึง 28 เท่า เกิดวงเงินค้ำประกันสินเชื่อ จำนวน 7 ล้านบาท สร้างสินเชื่อในระบบให้เอสเอ็มอีได้ 9.45 ล้านบาท ช่วยเอสเอ็มอีเข้าถึงแหล่งทุน 1.3 ราย ช่วยการจ้างงาน 54 ตำแหน่ง ขณะที่โครงการ Micro งบประมาณรัฐ 1 ล้านบาท ก่อให้เกิดวงเงินค้ำประกันสินเชื่อ 5 ล้านบาท สร้างสินเชื่อในระบบให้ผู้ประกอบการเอสเอ็มอี 5 ล้านบาท ช่วยให้เข้าถึงแหล่งทุน 40 ราย ช่วยการจ้างงาน 122 ตำแหน่ง และก่อให้เกิดผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจแบบทวีคูณถึง 18 เท่า

นอกจากนี้ ในช่วง 8 ปี ที่ผ่านมา (ปี 2558-2565) บสย. ได้ช่วยผู้ประกอบการเอสเอ็มอีเข้าถึงสินเชื่อได้ถึง 668,232 ราย หรือราว 91% ของจำนวนผู้ประกอบการเอสเอ็มอีที่ บสย.ให้ความช่วยเหลือทั้งหมด เป็นวงเงินกว่า 8.9 แสนล้านบาท หรือราว 70% ของยอดอนุมัติวงเงินทั้งหมด และช่วยผู้ประกอบการเอสเอ็มอี เฉลี่ยปีละ 83,000 ราย และวงเงินค้ำประกันสินเชื่อ เฉลี่ยปีละ 1.12 แสนล้านบาท
อย่างไรก็ดี ในช่วงการแพร่ระบาดของโควิด-19 บสย. ยังได้เร่งช่วยเหลือกลุ่มลูกหนี้ ผ่านโครงการมาตรการแก้ไขหนี้ ปี 2565 เพื่อให้ความช่วยเหลือลูกหนี้เร่งด่วน โดยให้ความช่วยเหลือลูกหนี้ บสย. สำเร็จแล้ว 129 ราย วงเงิน 300 ล้านบาท รวมถึงมีการประนอมหนี้ ลูกหนี้แล้วกว่า 5,340 ราย วงเงินรวม 10,573 ล้านบาท

สำหรับมาตรการแก้ไขหนี้ ภายใต้แนวคิด “บสย. พร้อมช่วย” นั้น ได้แบ่งการช่วยเหลือเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ 1. ลูกหนี้ดี มีวินัย 2. ลูกหนี้ ผ่อนดีมี บสย.ช่วยเหลือ และ 3. ลูกหนี้ดี ไม่มีแรงผ่อน โดย บสย.ให้ความช่วยเหลือตามศักยภาพการชำระหนี้ของลูกหนี้ในแต่ละกลุ่มเพื่อให้สามารถประคองธุรกิจต่อไปได้

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'นักวิชาการ' ค้านตั้งกำแพงภาษีสินค้าจากจีน แนะรัฐควรช่วยผู้ประกอบการแบบจีน

นายกมล กมลตระกูล นักวิชาการอิสระ และประธานอนุกรรมการด้านการเงินและการธนาคาร สภาผู้บริโภค โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก ว่า

‘บสย.’ ขึงเป้าค้ำประกัน 1.15 แสนล. ลุยหารือคลังอ้อนเดินเครื่อง PGS 11

“บสย.” กางผลงานปี 2566 อนุมัติค้ำประกัน พุ่ง 1.14 แสนล้านบาท อุ้มเอสเอ็มอีรายใหม่เข้าถึงสินเชื่อเฉียดแสนราย สร้างสินเชื่อในระบบ 1.24 แสนล้านบาท พร้อมขึงเป้าผลงานปี 2567 ปักธงค้ำประกัน 1.15 แสนล้านบาท แจงหารือคลังจ่อลุย PGS11

เริ่มแล้ววันนี้! บสย. ผนึก ออมสิน ช่วย SMEs รายย่อยแก้หนี้นอกระบบ

เริ่มแล้ววันนี้ ! บสย. ผนึก ธนาคารออมสิน พร้อมขับเคลื่อนนโยบายรัฐบาล แก้หนี้นอกระบบ ช่วยผู้ค้ารายย่อยอาชีพอิสระกลุ่มหนี้นอกระบบ วงเงินค้ำสูงสุด 200,000 บาทต่อราย ระยะเวลาค้ำสูงสุด10 ปี ยกเว้นค่าธรรมเนียม 2 ปีแรก