ส.อ.ท.โอดดัชนีกลับมาลด งวดเม.ย. อยู่ที่ 86.2 ต่ำสุดในรอบ 5 เดือน เผยเอสเอ็มอีน่าห่วง ดัชนีชี้ชัดความเหลื่อมล้ำ เอื้อรายใหญ่สูงรับอานิสงส์ส่งออก จี้รัฐเร่งดูแลทั้งเงิน – หาตลาด
19 พ.ค. 2565 – นายเกรียงไกร เธียรนุกุล ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยว่า ผลสำรวจดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมเดือนเม.ย. 65 อยู่ที่ 86.2 ลดลงจากระดับ 89.2 ในเดือนมี.ค. ต่ำสุดรอบ 5 เดือน รวมทั้งดัชนีฯ คาดการณ์ 3 เดือนข้างหน้า อยู่ที่ระดับ 95.9 ลดลงจาก 99.6 เช่นกัน เนื่องจากผู้ประกอบการกังวลต้นทุนการผลิตที่ปรับตัวสูงขึ้น จากราคาวัดถุดิบ ราคาพลังงาน ค่าขนส่ง ขณะที่กำลังซื้อในประเทศชะลอตัวจากปัญหาเงินเฟ้อ หนี้ครัวเรือน ส่งผลให้ประชาชนระมัดระวังการใช้จ่าย และอุปสงค์ในประเทศชะลอตัวลง วันหยุดในช่วงเทศกาลสงกรานต์ ทำให้การผลิตลดลง
ทั้งนี้สิ่งที่น่าเป็นห่วง คือ ความเชื่อมั่นผู้ประกอบการเอสเอ็มอี อยู่ระดับเพียง 60.6 และผู้ประกอบการขนาดใหญ่ มีความเชื่อมั่นรายใหญ่สูงถึง 110.5 เป็นตัวสะท้อนถึงความเหลื่อมล้ำของเอสเอ็มอี และขนาดใหญ่ ยังห่างกันมาก เนื่องจากกลุ่มผู้ประกอบการขนาดใหญ่ ส่วนใหญ่ทำธุรกิจส่งออก ไม่ค่อยได้รับผลกระทบ แต่เอสเอ็มอี ที่ผ่านมาประสบปัญหาอย่างมาก โดยเฉพาะปัญหาเรื่องสภาคล่อง
รวมทั้งการเข้าถึงตลาด กำลังซื้อประชาชน ส่งผลให้ล้มหายตายจากเป้นจำนวนมาก ส่วนที่ทำธุรกิจอยู่ก็ยังประสบปัญหาอย่างมาก จึงต้องการให้รัฐเข้ามาเร่งแก้ปัญหาช่วยผู้ประกอบการเอสเอ็มอี โดยเฉพาะการออกแพคเกจสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ ที่ออกแบบให้เข้าถึงผู้ประกอบการอย่างแท้จริง รวมถึงการขยายตลาดเพิ่มเติมให้ผู้ประกอบการเอสเอ็มอี
“ดัชนีความเชื่อมั่นยังไม่ปรับขึ้น เพราะยังมีหลายปัจจัยส่งผลกระทบ เช่น สถานการณ์ความขัดแย้งระหว่างรัสเชีย-ยูเครน ทวีความรุนแรงขึ้น ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจการค้าโลก รวมทั้งกระทบต่อราคาสินค้านำเข้าประเภทวัตถุดิบอาหารสัตว์ ปุ๋ยเคมี สินค้ากลุ่มโลหะ ปัญหาการขาดแคลนตู้คอนเทนเนอร์ที่ยังไม่คลี่คลาย และพื้นที่บนเรือไม่เพียงพอต่อความต้องการส่งออกสินค้า รวมทั้งความล่าช้าของเรือขนส่งยังเป็นปัจจัยกดดันต่อภาคการส่งออก อีกทั้งปัจจัยค่าเงินบาทที่อ่อนค่าสุดในรอบ 5 ปี แม้จะช่วยเพิ่มความสามารถในการแข่งขันให้ผู้ส่งออกก็ตาม แต่สิ่งที่น่ากังวล คือ เงินบาทที่อ่อนจะส่งผลให้ต้นทุนการนำเข้าสินค้าและวัตถุดิบต่าง ๆ โดยเฉพาะสินค้าน้ำมันที่เพิ่มสูงขึ้นจนอาจยิ่งเร่งให้เงินเฟ้อปรับตัวสูงขึ้นอีกได้”นายเกรียงไกร กล่าว
นอกจากนี้นโยบายปิดเมืองของจีนเพื่อควบคุมการระบาดของไวรัสโควิด-19 ส่งผลให้การขนส่งสินค้ามีความล่าช้า รวมถึงเกิดปัญหาขาดแคลนวัตถุดิบ และส่งผลกระทบต่อซัพพาย เชน ในตลาดโลก แต่การยกเลิกระบบเทส แอนด์ โก เพื่อเปิดประเทศเต็มรูปแบบในวันที่ 1 พ.ค. 65 จะสนับสนุนให้นักท่องเที่ยวต่างชาติเดินทางเข้าประเทศมากขึ้น และช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจในประเทศในระยะต่อไป
ทั้งนี้ภาคเอกชนได้มีข้อเสนอแนะต่อภาครัฐ ให้ออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ เพื่อช่วยลดภาระค่าครองชีพประชาชน เช่น โครงการคนละครึ่งเฟส 5 และขยายจำนวนสิทธิโครงการเราเที่ยวด้วยกัน รวมทั้งสนับสนุนและส่งเสริมการลงทุนในอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับความมั่นคงด้านห่วงโซ่อุปทาน ที่มีความสำคัญกับเศรษฐกิจ
เช่น อุตสาหกรรมเครื่องปรับอากาศ อุตสาหกรรมชิ้นส่วนยานยนต์ไฟฟ้า เพื่อลดการพึ่งพาการนำเข้าวัตถุดิบจากต่างประเทศ , ดูแลเสถียรภาพค่าเงินบาทไม่ให้ผันผวนจนเกินไป และให้สอดคล้องกับประเทศอื่นในภูมิภาค เพื่อให้สามารถแข่งขันได้ และออกมาตรการส่งเสริมการท่องเที่ยวและอำนวยความสะดวกให้แก่นักท่องเที่ยวต่างชาติ เพื่อช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจภายหลังการเปิดประเทศ
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
'อิ๊งค์' คุย กกร. ชื่นมื่น! ปลื้มอวย 'พ่อนายกฯ' แก้เศรษฐกิจเก่งสุด
นายกฯ คุย ‘กกร.’ รับข้อเสนอแก้เศรษฐกิจ จับมือเอกชนหารายได้ใหม่เข้าประเทศ ด้าน ‘สนั่น’ เชื่อมั่นรัฐบาลอิ๊งค์ พร้อมช่วยดันจีดีพีโต ชมเปาะ 'ทักษิณ' เก่งสุด
เอกชนยังอุ่นใจ ได้รบ.พรรคเดิม สานต่อนโยบาย
ประธาน ส.อ.ท.เทียบ "ชัยเกษม-เเพทองธาร" เด่นคนละแบบ ชี้ "ชัยเกษม" มีความเก๋าทางการเมือง "แพทองธาร" เป็นคนรุ่นใหม่เข้าใจวัยรุ่น