‘กรมทางหลวง’ ลุยขยาย 4 เลน จ.ระยอง หนุนระเบียงเศรษฐกิจภาคใต้

‘กรมทางหลวง ’ทุ่มงบ 1,930 ล้าน เดินหน้าเร่งสำรวจออกแบบโครงข่ายสนับสนุนการท่องเที่ยวตามแนวชายฝั่งทะเลภาคใต้ด้านตะวันตกบน ทล. 4 สาย อ.กะเปอร์ – อ.สุขสำราญ จ.ระนอง รองรับการพัฒนาพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจภาคใต้

18 ก.พ.2565 – นายสราวุธ ทรงศิวิไล อธิบดีกรมทางหลวง(ทล.) เปิดเผยว่า ตามที่นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมได้มอบนโยบายผลักดันให้กรมทางหลวงเร่งดำเนินโครงการสำรวจและออกแบบเพื่อพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมทุกมิติ ยกระดับถนนด้านความปลอดภัยและเชื่อมโยงโครงข่ายคมนาคม อีกทั้งยังขับเคลื่อนเศรษฐกิจการท่องเที่ยวและยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน พร้อมเร่งรัดให้กรมทางหลวงดำเนินโครงการสำรวจและออกแบบโครงข่ายสนับสนุนการท่องเที่ยวตามแนวชายฝั่งทะเลภาคใต้ด้านตะวันตกบนทางหลวงหมายเลข 4 สาย อ.กะเปอร์ – อ.สุขสำราญ

ทั้งนี้โดยสำนักสำรวจและออกแบบขานรับนโยบายดังกล่าวจึงเร่งดำเนินโครงการสำรวจและออกแบบเพื่อขยายทางหลวงหมายเลข 4 (ถนนเพชรเกษม) ให้มีขนาด 4 ช่องจราจร เนื่องจากสภาพเส้นทางเดิมเป็นทางลาดยางแบบแอสฟัลท์ติกคอนกรีตขนาด 2 ช่องจราจร พื้นที่เป็นที่ราบสลับลูกเนินทำให้การเดินทางและการขนส่งสินค้าไม่ได้รับความสะดวก กรมทางหลวงได้เล็งเห็นความสำคัญจึงดำเนินโครงการดังกล่าว โดยมีจุดเริ่มต้นที่ กม. 648+000 พื้นที่ ต.กะเปอร์ อ.กะเปอร์ จ.ระนอง

สำหรับแนวเส้นทางจะผ่านโรงพยาบาลกะเปอร์ ทางแยกทางหลวงหมายเลข 4130 ไป บ.บ้านนา และตัดผ่านชุมชน บ.ชาคลี และ บ.บางมัน จนกระทั่งสิ้นสุดโครงการที่ กม. 673+800 (บริเวณบ้านบางมัน) อยู่ในพื้นที่ ต.นาคา อ.สุขสำราญ จ.ระนอง โดยใช้วงเงินงบประมาณในการก่อสร้างโครงการ 1,930 ล้านบาท ปัจจุบันอยู่ระหว่างการจัดเตรียมรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) เพื่อจัดส่งให้สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมพิจารณาต่อไป คาดว่าเริ่มดำเนินการได้ในปีงบประมาณ 2568 โดยใช้ระยะเวลาก่อสร้างประมาณ 3 ปี มีรายละเอียดงานดังนี้

สำหรับรูปแบบโครงการได้ออกแบบรูปตัดทางหลวงหลายรูปแบบแตกต่างกันไปตามสภาพภูมิประเทศมี 3 ลักษณะ คือ 1. รูปแบบโดยทั่วไปบริเวณพื้นที่ราบและลูกเนิน ดำเนินการออกแบบดังนี้ ออกแบบขนาด 4 ช่องจราจร (ไป – กลับทิศทางละ 2 ช่องจราจร) มีเกาะกลางแบบแท่งแบริเออร์(Median Barrier) ความกว้างช่องละ 3.50 เมตร ไหล่ทางด้านนอกกว้าง 2.50 เมตร ไหล่ทางด้านในกว้าง 1.20 เมตร เกาะกลางแบบแท่งคอนกรีตกว้าง 3 เมตร

บริเวณพื้นที่ผ่านย่านชุมชน ออกแบบเป็นทางขนาด 8 ช่องจราจร ดังนี้ บริเวณพื้นที่ บ.บางหิน ออกแบบขนาด 8 ช่องจราจร มีขนาดช่องจราจรสายหลักจำนวน 4 ช่องจราจร (ไป – กลับ ทิศทางละ 2 ช่องจราจร) เกาะกลางแบบแท่งแบริเออร์ (Median Barrier) และเกาะยก (Raised Median) /ปูด้วยพื้นคอนกรีตพิมพ์ลาย (Stamped Concrete) กว้างช่องละ 3.50 เมตร ไหล่ทางด้านนอกกว้าง 2.50 เมตร ด้านในกว้าง 1.50 เมตร ช่องจราจรทางขนานข้างละ 2 ช่องจราจร กว้างช่องละ 3 เมตร เกาะกลางแบบแท่งแบริเออร์ (Median Barrier) หรือเกาะกลางแบบยก (Raised Median) กว้าง 3 เมตร มีการก่อสร้างรางระบายน้ำคอนกรีตเสริมเหล็กด้านซ้ายทางกว้าง 3 เมตร
บริเวณพื้นที่ย่านชุมชน อ.กะเปอร์ และ บ.บางมัน ได้ออกแบบทางหลวงย่านชุมชนขนาด 8 ช่องจราจร มีขนาดช่องจราจรสายหลัก 4 ช่องจราจร (ไป – กลับ ทิศทางละ 2 ช่องจราจร) กว้างช่องละ 3.50 เมตร ไหล่ทางด้านนอกกว้าง 2.50 เมตร ด้านในกว้าง 1.50 เมตร ช่องจราจรทางขนานข้างละ 2 ช่องจราจร กว้างช่องละ 3เมตร ไหล่ทางด้านนอกกว้าง 2 เมตร ด้านในกว้าง 0.50 เมตร มีเกาะกลางแบบแท่งแบริเออร์ (Median Barrier) และแบบเกาะกลางแบบยก (Raised Median) กว้าง 3 เมตร และทางเท้ากว้าง 3.50 เมตร พร้อมระบบระบายน้ำและระบบสาธารณูปโภคสองข้างทางหลวง

แนวเส้นทางโครงการช่วงตัดผ่านพื้นที่ภูเขาชาคลี รูปตัดทางหลวงจะเป็นทางหลวงขนาด 4 ช่องจราจร (ไป – กลับ ทิศทางละ 2 ช่องจราจร) ความกว้างช่องละ 3.50 เมตร ไหล่ทางด้านนอกกว้าง 2.50 เมตร ไหล่ทางด้านในกว้าง 1.20 เมตร เกาะกลางแบบแท่งแบริเออร์ (Median Barrier) กว้าง 3 เมตร และมีช่องจราจรสำหรับรถบรรทุก (Climbing Lane) 1 ช่องจราจร ความกว้าง 3.50 เมตร โดยรูปแบบจะมีทั้งการขยายทางหลวงเข้าไปทางด้านภูเขาซึ่งอยู่ขวาทางและรูปแบบที่มีการตัดภูเขาเพื่อปรับความลาดชันของถนนและช่วงที่ต้องปรับแก้โค้งราบให้มีความปลอดภัย

ทั้งนี้ เส้นทางโครงการมีบางช่วงที่ตัดผ่านย่านชุมชนและทางหลวงท้องถิ่น จึงได้ออกแบบจัดการจราจร ดังนี้รูปแบบที่ 1 รูปแบบสะพานทางลอดกลับรถ (Bridge for Underpass) จำนวน 9 แห่ง โดยรูปแบบนี้เป็นการก่อสร้างสะพานบกบนทางหลวงโครงการให้ถนนท้องถิ่นลอดผ่านและกลับรถ ออกแบบให้มีความสูงเพียงพอที่รถประเภทต่างๆ สามารถลอดผ่านได้ เพื่อให้ประชาชนใช้งานได้สะดวกและปลอดภัย และรูปแบบที่ 2 รูปแบบจุดกลับรถใต้สะพานข้ามคลอง จำนวน 13 แห่ง โดยรูปแบบนี้จะเป็นการก่อสร้างจุดกลับรถใต้สะพานข้ามคลอง ซึ่งจะช่วยให้ประชาชนในท้องถิ่นใช้ระบบกลับรถในโครงการให้มีความปลอดภัยขึ้น

ทั้งนี้ เมื่อโครงการแล้วเสร็จจะช่วยยกระดับโครงข่ายทางหลวงสนับสนุนการท่องเที่ยวตามแนวชายฝั่งทะเลภาคใต้ด้านตะวันตก รองรับการเดินทางและภาคขนส่งในพื้นที่ภาคใต้ อันเป็นฟันเฟืองสำคัญในการฟื้นฟูเศรษฐกิจตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 13 และแผนพัฒนากลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอันดามัน (พ.ศ. 2566 – พ.ศ. 2570) รวมทั้งสอดคล้องกับการพัฒนาพื้นที่จังหวัดระนองตามแนวทางการพัฒนาพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจภาคใต้อย่างยั่งยืน (Southern Economic Dorridor : SEC) และความเชื่อมโยงการขนส่งระหว่างอ่าวไทยและอันดามัน (แลนด์บริดจ์หรือสะพานระเบียงเศรษฐกิจ) เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนในภูมิภาคและประเทศให้มีความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'ภูมิใจไทย' เฮส่อรอดยุบพรรค

ภูมิใจไทย เตรียมเฮ ส่อรอดยุบพรรค "แสวง" ชี้ คดีศักดิ์สยาม ไม่เป็นเหตุยุบพรรค ซ้ำคำวินิจฉัยศาลฎีกา "ทำงานให้หลวงต้องได้เงิน" คาดจบใน 1 เดือน ส่วนเรื่อง "ฮั้ว" ต้องแยกคดี พ้อแค่เป็นคนบุรีรัมย์ถูกด่าฟรี 1 ปี เผยสั่งยุติคดียุบ "พปชร." หลังพิสูจน์ไม่ได้ว่า "เงินบริจาคตู้ห่าว" เป็นเงินไม่ชอบด้วยกฎหมาย

พระราม 2 ไม่แผ่ว! สั่งสอบด่วน บันไดเหล็ก 14 เมตร พังล้มทับถนน

'อธิบดีทางหลวง' สั่งสอบด่วน เหตุบันไดเหล็กเสาตอม่อมอเตอร์เวย์ ล้มบนถนนพระราม 2 ยันทุกโปรเจกต์หยุดก่อสร้าง คืนผิวจราจรให้ประชาชนสัญจรช่วงสงกรานต์

เปิดคำวินิจฉัย ตุลาการศาลรธน.เสียงข้างน้อย ชี้ความเป็นรมต. 'ศักดิ์สยาม' ไม่สิ้นสุดลง

จากกรณีตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ มีมติ 7 ต่อ 1 เสียง ว่าความเป็นรัฐมนตรีของนายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม สิ้นสุดลงเฉพาะตัวตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 170 วรรคหนึ่ง (5)

ภูมิใจไทยรอด! 'นักวิชาการ' ชี้เป็นความผิดส่วนบุคคล ส่วนเงินบริจาคไม่ผิดกฎหมาย

รศ.ดร.ยุทธพร อิสรชัย อาจารย์ประจำสาขาภาควิชารัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ให้ความเห็นต่อโอกาสยุบพรรคภูมิใจไทย จากความผิดของเลขาธิการพรรคว่า