EIC ชี้สงครามรัสเชีย-ยูเครน จะเริ่มส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทย

ประเดิม GDP ไทยไตรมาสแรกของปีขยายตัวต่อเนื่องจากการฟื้นตัวของอุปสงค์ในประเทศ ท่องเที่ยวและการส่งออกคาดระยะถัดไปยังฟื้นตัวแต่อาจเริ่มเห็นผลกระทบจากสงคราม

18 พ.ค. 2565 – ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจ ธนาคารไทยพาณิชย์ ( EIC) ประเมิน เศรษฐกิจไทยในไตรมาสแรกของปี 2022 ขยายตัวสูงกว่าคาด โดยขยายตัวต่อเนื่องเป็นไตรมาสที่สองติดต่อกันที่ 2.2% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า และหากเทียบกับไตรมาสก่อนหน้าที่เศรษฐกิจไทยเริ่มกลับมาฟื้นตัวจากการผ่อนคลายมาตรการควบคุมโรค เศรษฐกิจไทยในไตรมาสแรกยังสามารถขยายตัว 1.1% จากไตรมาสก่อนหน้า หลังปรับปัจจัยฤดูกาล (QOQ sa) โดยเศรษฐกิจได้รับปัจจัยสนับสนุนหลักจากการฟื้นตัวของอุปสงค์ในประเทศที่ได้รับอานิสงส์จากการผ่อนคลายมาตรการควบคุมโรคและนักท่องเที่ยวที่เริ่มกลับมาตามการเปิดประเทศ การส่งออกที่ยังขยายตัวได้ดีอย่างต่อเนื่องจากปีที่ผ่านมา

และมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจจากภาครัฐ ขณะที่หากพิจารณาในฝั่งการผลิต (Production approach) พบว่ามีการฟื้นตัวได้ดีในหลายภาคเศรษฐกิจ โดยเฉพาะภาคบริการซึ่งสอดคล้องกับภาคท่องเที่ยวที่เริ่มฟื้นตัว รวมถึงภาคอุตสาหกรรมที่ฟื้นตัวตามการส่งออก และภาคเกษตรปรับดีขึ้นตามปริมาณผลผลิต อย่างไรก็ตาม ภาคการก่อสร้างหดตัวลงในไตรมาสแรกจากการลงทุนภาครัฐที่ชะลอตัว
ขณะเดียวกัน สำหรับในช่วงไตรมาส 2 EIC คาดเศรษฐกิจจะฟื้นตัวได้อย่างต่อเนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโอมิครอน (Omicron) ที่เริ่มคลี่คลายจากจำนวนผู้ติดเชื้อรายวันที่ทยอยลดลงและอัตราการได้รับวัคซีนของประชากรในระดับสูง ส่งผลให้อุปสงค์ในประเทศฟื้นตัว กอปรกับภาคการท่องเที่ยวที่ขยายตัวจากการทยอยเปิดประเทศทั่วโลก

อย่างไรก็ตาม EIC คาดว่าการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยจะเริ่มเห็นถึงผลกระทบของสงครามในยูเครนในระยะต่อไป ผ่านผลกระทบของการค้าและเงินเฟ้อ โดยส่งออกไทยจะเริ่มเห็นผลกระทบจากการชะลอตัวของอุปสงค์ รวมถึงปัญหาชะงักงันของอุปทานโลกจากภาวะสงครามระหว่างรัสเซียและยูเครน แม้ที่ผ่านมาผลกระทบต่อมูลค่าส่งออกไทยจะยังจำกัด แต่ EIC คาดว่าการส่งออกของไทยจะได้รับผลกระทบมากขึ้นในไตรมาส 2 ขณะที่ผลกระทบด้าน

เงินเฟ้อจากราคาพลังงานและสินค้าโภคภัณฑ์ที่ปรับตัวสูงขึ้น สร้างแรงกดดันต่อการบริโภคและการลงทุนในประเทศในระยะถัดไป
ในส่วนของเศรษฐกิจไทยในช่วงครึ่งปีหลัง คาดว่ามีแนวโน้มฟื้นตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไป โดยมีการท่องเที่ยวเป็นปัจจัยหนุนสำคัญในช่วงหลังของปีจากแนวโน้มนักท่องเที่ยวที่ดีกว่าคาด ซึ่งเป็นผลจากการผ่อนคลายนโยบายควบคุมโรคและเปิดเมืองที่เร็วขึ้น ประกอบกับการส่งออกที่ยังขยายตัวแต่จะชะลอตัวลงในช่วงที่เหลือของปีจากเศรษฐกิจโลกที่มีแนวโน้มชะลอตัว ทั้งนี้ EIC คาดการณ์เศรษฐกิจไทยปี 2022 จะขยายตัวอย่างช้า ๆ ที่ 2.7% แต่ยังมีความเสี่ยงด้านต่ำที่ต้องจับตา ได้แก่ (1) ราคาน้ำมันที่อาจเพิ่มขึ้นและอยู่ในระดับสูงยาวนานกว่าคาดจากปัจจัยสงครามรัสเซีย-ยูเครน (2) การชะงักงันของอุปทานในภาคการผลิตและขนส่ง รวมถึงอุปสงค์ที่อาจชะลอตัวมากกว่าคาด ทั้งจากการใช้นโยบายปิดเมืองที่เข้มงวดของจีนและมาตรการคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจต่อรัสเซียโดยชาติตะวันตก รวมถึงการตอบโต้จากฝั่งรัสเซีย (3) การดำเนินนโยบายการเงินแบบตึงตัวของธนาคารกลางหลักของโลก โดยเฉพาะธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) ที่อาจทำให้ภาวะการเงินโลกตึงตัวและผันผวนมากขึ้น

และ (4) ผลของแผลเป็นเศรษฐกิจที่ถูกซ้ำเติมจากผลกระทบด้านค่าครองชีพที่สูงขึ้น จนอาจกระทบต่อความสามารถในการชำระหนี้ของภาคครัวเรือนในวงกว้าง โดย EIC กำลังติดตามและวิเคราะห์ผลกระทบทางเศรษฐกิจในด้านต่าง ๆ ก่อนมีการเผยแพร่ประมาณการเศรษฐกิจอีกครั้งในช่วงกลางเดือนมิถุนายนนี้

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

IRPC กำไร 1,545 ล้านบาท รุกเพิ่มสัดส่วนผลิตภัณฑ์ชนิดพิเศษใหม่ ตั้งเป้าขายน้ำมันดีเซลยูโร 5 เต็มสูบ

“IRPC” เผยกำไรไตรมาสแรก 1,545 ล้านบาท รุกเพิ่มสัดส่วนผลิตภัณฑ์ชนิดพิเศษตามแผนกลยุทธ์ ตั้งเป้าไตรมาส 2/2567 ลุยขายน้ำมันดีเซลยูโร 5 รองรับความต้องการภายในประเทศที่สูงขึ้น

'บีโอไอ' ฟุ้งยอดขอส่งเสริมการลงทุน Q1ก้าวกระโดดส่งสัญญาณปีทองการลงทุน

บีโอไอเผยยอดขอรับการส่งเสริมการลงทุนไตรมาสแรก ปี 2567 เติบโตก้าวกระโดดจากปีก่อนทั้งจำนวนโครงการและเงินลงทุน สะท้อนศักยภาพของประเทศไทย พร้อมเดินหน้าเข้าสู่ปีทองแห่งการลงทุน

'กรุงไทย' โชว์กำไรสุทธิไตรมาสแรกทะลุ 11,079 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 10%

ธนาคารกรุงไทย เติบโตตามยุทธศาสตร์ ไตรมาส 1 ปี 2567 กำไรสุทธิ จำนวน 11,079 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 10% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน รายได้จากการดำเนินงานเติบโตอย่างยั่งยืน สินเชื่อขยายตัวอย่างสมดุล บริหารจัดการคุณภาพสินทรัพย์อย่างระมัดระวังและยืดหยุ่น

'กรุงเทพโพลล์' ชี้คนไทยกล้าเริ่มทำธุรกิจเพิ่มขึ้นจากปี66

กรุงเทพโพลล์ร่วมกับคณะการสร้างเจ้าของธุรกิจและการบริหารกิจการ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ สำรวจความเห็นประชาชนเรื่อง “คนไทยคิดอย่างไรกับโอกาสในการเป็นเจ้าของธุรกิจ