17 พ.ค. 2565 – นางพเยาว์ อริกุล นายกสมาคมการค้าผู้เลี้ยงไก่ไข่รายย่อยภาคกลาง เปิดเผยว่า ปัจจุบันราคาประกาศไข่ไก่ของ 4 องค์กรผู้เลี้ยงไก่ไข่ ได้แก่ สหกรณ์ผู้เลี้ยงไก่ไข่แปดริ้ว จำกัด สหกรณ์ผู้เลี้ยงไก่ไข่ชลบุรีจำกัด สหกรณ์การเกษตรผู้เลี้ยงไก่ไข่สุพรรณบุรี จำกัด และชมรมผู้เลี้ยงไก่ไข่เชียงใหม่- ลำพูน ยังคงมีทิศทางเดียวกันที่ฟองละ 3.50 บาททั่วประเทศ โดยร่วมกันรักษาระดับราคาเพื่อผู้บริโภค ด้วยเข้าใจสถานการณ์ และสภาวะเศรษฐกิจปัจจุบัน แม้ต้นทุนการผลิตไข่ยังคงขยับขึ้นต่อเนื่อง
“ปกติวัฏจักรราคาไข่ในช่วงเปิดเทอมจะเป็นช่วงเวลาที่ความต้องการบริโภคไข่ไก่สูงขึ้น ระดับราคาจะขยับขึ้นเล็กน้อยตามหลักซัพพลาย-ดีมานด์ แต่ทั้ง 4 องค์กรยังคงรักษาระดับราคาไข่คละหน้าฟาร์มเพื่อผู้บริโภค ด้วยเข้าใจในสภาวะเศรษฐกิจ แม้เกษตรกรยังเผชิญความเสี่ยงด้านต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้นจากราคาข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ที่ขยับขึ้นเรื่อยมาโดยไม่มีทีท่าจะหยุดหรือลดลง” นางพเยาว์กล่าว
ข้อมูลต้นทุนการผลิตไข่ไก่ ล่าสุด ณ เดือนเมษายน 2565 อยู่ที่ฟองละ 3.20 บาท ขณะที่สงครามรัสเซีย- ยูเครนที่ยืดเยื้อส่งผลให้ราคาข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในประเทศไทย ปรับตัวสูงขึ้นเรื่อยๆ จากราคาเฉลี่ยปี 2564 ที่ 10.05 บาท/กก. ขึ้นมาเป็น 13.05 บาท/กก.ในปัจจุบัน หรือ สูงขึ้นอีกราว 30 เปอร์เซ็นต์ ทำให้ต้นทุนการผลิตไข่ไก่ขยับขึ้นตามไปด้วย
ทั้งนี้ เกษตรกรผู้เลี้ยงไก่ไข่ ยังคงอยู่ในภาวะยากลำบากและมีความเสี่ยงต่อการขาดทุนได้ตลอดเวลา เนื่องจากสงครามรัสเซีย-ยูเครนยังไม่จบ ขณะที่มาตรการภาครัฐต่อการแก้ปัญหาข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ก็ยังไม่เอื้อมากนัก โดยเฉพาะประเด็นมาตรการนำเข้าข้าวโพดจากต่างประเทศที่ผ่อนปรนให้นำเข้าได้ 600,000 ตัน อัตราภาษี 0% นั้น ถูกจำกัดเฉพาะช่วงเดือนพฤษภาคม ถึงกรกฎาคม 2565 รวม 3 เดือนนับเป็นช่วงเวลาที่น้อยเกินไป ไม่เกิดประโยชน์ ควรขยายเป็นมากกว่า 6 เดือนถึง 1 ปี เพื่อให้ผู้นำเข้าจัดซื้อ และหาเรือขนส่งสินค้าได้ทัน รวมถึงยังมีปัญหาเงินบาทอ่อนค่ามาแตะที่ 35 บาทต่อเหรียญสหรัฐ ซึ่งทำให้ราคาวัตถุดิบนำเข้าแพงขึ้นไปอีก
นางพเยาว์กล่าวอีกว่า ในฐานะนายกสมาคมผู้เลี้ยงไก่ไข่รายย่อย ขอให้พี่น้องเกษตรกรผู้เลี้ยงไก่ไข่ทั่วประเทศอดทนกับสถานการณ์ดังกล่าว และพยายามหาทางลดต้นทุนด้วยการดูแลเอาใจใส่การเลี้ยงไก่ไข่ในฟาร์มของตนอย่างใกล้ชิด ใช้อาหารทุกเม็ดอย่างมีประสิทธิภาพ เชื่อว่าหลังเปิดเทอม และการเปิดประเทศต้อนรับนักท่องเที่ยว จะมีแรงหนุนอัตราบริโภคให้มีทิศทางที่ดีขึ้น ก็จะลดความเสี่ยงด้านการขาดทุนของเกษตรกรลงได้ พร้อมทั้งขอให้ผู้บริโภคโปรดเข้าใจสถานการณ์ เกษตรกรผู้เลี้ยงไก่ไข่ทุกคนไม่อยากปรับราคาไข่ไก่หากไม่จำเป็น ขอเพียงให้เกษตรกรมีที่ยืนและสามารถประกอบอาชีพนี้เลี้ยงตัวต่อไปได้ก็พอ./
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ชาวนาเฮ! กนช. เตรียมประกาศพื้นที่ทำนาปรังรวม 12 ล้านไร่ เกษตรกรได้ปลูกข้าวเพิ่ม
นายประเสริฐ จันทรรวงทอง รองนายกรัฐมนตรี และรมว.ดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอี) เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (กนช.) ครั้งที่ 5/2567
'นฤมล' เผยข่าวดีครม.อนุมัติงบ 2.57 พันล้านบาท ฟื้นฟูอาชีพให้เกษตรกรที่ประสบอุทกภัย
นางนฤมล ภิญโญสินวัฒน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผย ถึงข่าวดีของเกษตรกรว่า ปีนี้อ่างกักเก็บน้ำขนาดใหญ่ ทั่วประเทศ
ครม.อนุมัติงบกลาง 2.5 พันล้าน ฟื้นฟูเกษตรกรผู้ประสบอุทกภัย
นายจิรายุ ห่วงทรัพย์ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงภายหลังการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ว่า ครม.มีมติอนุมัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น เพื่อดำเนินแผนงาน
โชว์ศักยภาพภาคเกษตรไทยด้านความมั่นคงอาหาร ในฐานะครัวของโลก
นายฉันทานนท์ วรรณเขจร เลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยภายหลังเข้าร่วมการประชุมคณะกรรมการความมั่นคงอาหารโลก
พาณิชย์ติดตามสถานการณ์ข้าวหอมมะลิฤดูกาลใหม่ของเกษตรกร พร้อมเสนอมาตรการช่วยเหลือเกษตรกรใน นบข. 8 พ.ย.นี้
พาณิชย์ลงพื้นที่จังหวัดร้อยเอ็ด ทุ่งกุลาร้องไห้ ติดตามการซื้อขายข้าวเปลือกหอมมะลิฤดูกาลใหม่ ที่เริ่มทยอยออกสู่ตลาด และพบปะกลุ่มเกษตรกร และสหกรณ์
โครงการส่งเสริมการแปรรูปสินค้าเกษตรและประมง เพิ่มศักยภาพการผลิต สร้างมูลค่าและขยายฐานตลาดแก่สถาบันเกษตรกร
นางธัญธิตา บุญญมณีกุล รองเลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยถึงผลการติดตามโครงการส่งเสริมการแปรรูปสินค้าเกษตรและประมง ปี 2567