‘สภาพัฒน์’ เปิดตัวเลข จีดีพีไตรมาส 1/65 ขยายตัว 2.2% ปรับทั้งปีลดลงเหลือ 2.5 – 3.5% จากความไม่แน่นอนสถานการณ์โลก ชี้ส่งออก-ท่องเที่ยวช่วยพยุงขับเคลื่อนเศรษฐกิจ จับตาความขัดแย้งยูเครน-รัสเซีย ทำเศรษฐกิจกระทบทั่วโลก
17 พ.ค.2565 – นายดนุชา พิชยนันท์ เลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เปิดเผยถึงภาวะเศรษฐกิจไทยไตรมาส1/ 2565 และแนวโน้มปี 2565 ว่าจีดีพีไตรมาสมา1/2565 ขยายตัว 2.2% เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา และปรับตัวเพิ่มขึ้น 1% เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนโดยการขยายตัวของจีดีพีในไตรมาสที่ผ่านมา และจากสถานการณ์ความไม่แน่นอนในต่างประเทศ โดยเฉพาะสถานการณ์การสู้รบในยูเครน-รัสเซีย ที่ยืดเยื้อยาวนานกระทบกับเศรษฐกิจโลก สศช.ได้ปรับคาดการณ์จีดีพีทั้งปี 2565 ลงจากระดับ 3.5 – 4.5% เหลือ 2.5 – 3.5% หรือค่ากลางที่ 3 %
สำหรับการบริโภคภาคเอกชนขยายตัว 3.9% การลงทุนรวมขยายตัว 0.8% จากไตรมาส 4 ชะลอตัว -0.2% การบริโภคภาครัฐขยายตัว 4.6% ต้องเร่งรัดโครงการลงทุนให้มากขึ้น มูลค่าการส่งออกขยายตัว 14.6% จากไตรมาส 4 ขยายตัว21.3% ที่ผ่านการส่งออกทุเรียนและผลไม้ไปจีนยังมีข้อจำกัด จากการเข้มงวดพิธีการส่งออก โดยเฉพาะเมื่อจีนดำเนินโยบายซีโร่โควิด จึงกระทบต่อการส่งออกของไทยไปจีน แม้การฉีดวัคซีนของไทย 2 เข็มมากกว่า 50% การแพร่ระบาดโควิด-19 แต่ยังต้องเฝ้าระวัง
“จากสถานการณ์ของเศรษฐกิจโลกขณะนี้ เป็นสถานการณ์ที่ไม่ปกติซึ่งเป็นเรื่องที่คาดการณ์ได้ค่อนข้างยาก และจากสถานการณ์ของเศษฐกิจโลกที่ไม่ปกติได้ส่งผลกระทบไปทั่วโลก จึงขอความร่วมมือให้ช่วยกันต้องร่วมมือร่วมใจให้ประเทศไทยก้าวไปข้างหน้าผ่านวิกฤติไปด้วยกัน โดยรัฐบาลและภาครัฐจะต้องมีการช่วยเหลือประชาชน แต่เป็นการช่วยเหลือแบบพุ่งเป้า เนื่องจากทรัพยากรมีข้อจำกัด ขอให้ประชาชนช่วยกันใช้จ่ายในสิ่งที่จำเป็นและเดินทางท่องเที่ยวในประเทศไทยก่อนที่จะไปเที่ยวในต่างประเทศ”นายดนุชา กล่าว
สำหรับการปรับคาดการณ์จีดีพีลงในปีนี้เป็นผลมาจากสถานการณ์ในต่างประเทศ ราคาพลังงาน และเงินเฟ้อเป็นหลัก โดยเฉพาะสถานการณ์ในต่างประเทศที่เริ่มมีการจำกัดการส่งออกวัตถุดิบในเรื่องปุ๋ย อาหาร เช่น ข้าวสาลี ซึ่งไทยต้องพึ่งพาตัวเองได้ในระดับหนึ่ง ประเทศไทยเป็นประเทศที่นำเข้าพลังงาน และสินค้าโภคภัณฑ์ ซึ่งจะมีผลกระทบได้มากที่ต้องดูให้ดี รวมทั้งในเรื่องของชิปที่ใช้ในอุตสาหกรรมรถยนต์ที่ได้รับผลกระทบในวงกว้าง ในระยะต่อไปคงต้องใช้วัตถุดิบทดแทนบางส่วน
“ส่วนการกู้เงินเพิ่มเติมตามข้อเสนอฝ่ายต่างๆนั้น เรื่องนี้ต้องคิดให้รอบคอบ เพราะทรัพยากรประเทศมีจำกัด การกู้เพิ่มต้องดูฐานะการคลัง ควรกู้ได้หรือไม่ จำนวนเท่าใด กู้มาแล้วจะใช้ทำอะไรต้องดูร่วมกันให้ดี วงเงินที่เหลืออยู่ 7.4 หมื่นล้านบาท ต้องนำไปใช้ส่วนแรกผ่านโครงการฟื้นเศรษฐกิจฐานราก 1 หมื่นล้านบาท และใช้รักษาพยาบาลผู้ป่วยโควิด-19 เนื่องจากไม่ได้ตั้งงบประมาณรองรับ ส่วนที่เหลืออยู่ 4.8 หมื่นล้านบาทต้องเสนอ ครม.ใช้เงินก่อนสิ้น ก.ย. 65 จึงต้องใช้อย่างระมัดระวัง” นายดนุชา กล่าว
นายดนุชา กล่าวว่าสำหรับเครื่องยนต์ขับเคลื่อนเศรษฐกิจที่สำคัญ ต้องเร่งตลาดเพื่อการส่งออก และส่งเสริมการท่องเที่ยว ดึงนักท่องเที่ยวคุณภาพ การนำผู้เชี่ยวชาญเข้ามาทำงานในประเทศ ต้องเร่งพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวเมืองรอง เพื่อให้มีรายได้จากการท่องเที่ยว การเน้นทำให้ไทยพึ่งพาอยู่ด้วยตนเองมากขึ้น จากหลายประเทศงดการส่งออกวัตถุดิบ ปัญหาหนี้ภาคครัวเรือนต้องดูแลต่อเนื่องไม่ให้เป็นข้อจำกัดต่อการขยายตัวเศรษฐกิจ การเร่งรัดการลงทุนสำคัญ โดยยังเป็นห่วงภาระหนี้ภาคเอกชนและภาคครัวเรือน ต้องทำการแก้ปัญหาต่อเนื่อง จากมาตรการปรับโครงสร้างหนี้ เพราะยังเป็นปัจจัยเปราะบางต่อเศรษฐกิจไทย และปัญหาการแพร่ระบาดโควิด -19
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
'นายกฯอิ๊งค์' ถกหัวหน้าส่วนราชการ ลุยลงทุน 9.6 แสนล้าน กระตุ้นจีดีพีประเทศ
นายกฯ ถกหัวหน้าส่วนราชการฯ กำชับผลักดันเม็ดเงินลงทุน 9.6 แสนล้าน สู่ระบบเศรษฐกิจ กระตุ้น ‘จีดีพี’ ประเทศ
'อิ๊งค์' คุย กกร. ชื่นมื่น! ปลื้มอวย 'พ่อนายกฯ' แก้เศรษฐกิจเก่งสุด
นายกฯ คุย ‘กกร.’ รับข้อเสนอแก้เศรษฐกิจ จับมือเอกชนหารายได้ใหม่เข้าประเทศ ด้าน ‘สนั่น’ เชื่อมั่นรัฐบาลอิ๊งค์ พร้อมช่วยดันจีดีพีโต ชมเปาะ 'ทักษิณ' เก่งสุด