GIT จับมือนักออกแบบ และผู้เชี่ยวชาญ ลงพื้นที่ปั้นผู้ประกอบการในโปรเจ็กต์ “มาเหนือ” พัฒนาเครื่องประดับเงินตอบโจทย์ความต้องการของตลาดและเทรนด์โลก ล่าสุดคัด 11 รายพัฒนาเข้ม ก่อนนำผลงานโชว์งานบางกอกเจมส์ เปิดตัวสู่ตลาดโลก
16 พ.ค. 2565 – นายสุเมธ ประสงค์พงษ์ชัย ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ หรือ GIT เปิดเผยว่า GIT ได้ร่วมกับที่ปรึกษาด้านการออกแบบ และผู้เชี่ยวชาญ ลงพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ ทั้งแบบออนไลน์ และออนไซต์ ตามมาตรการรักษาความปลอดภัยโควิด-19 เพื่อพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการภาคเหนือ (มาเหนือ) ภายใต้โครงการพัฒนาต่อยอดอุตสาหกรรมสร้างสรรค์และสินค้าชุมชน ที่จะช่วยผลักดันให้มีการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้า การพัฒนาการออกแบบโดยใช้อัตลักษณ์ท้องถิ่น การพัฒนาสินค้าให้ตอบโจทย์และเทรนด์ความต้องการของตลาด และผลักดันให้สินค้าที่มีการพัฒนาแล้วออกสู่ตลาดโลก
“จังหวัดเชียงใหม่และจังหวัดใกล้เคียง เป็นศูนย์กลางการผลิตและจำหน่ายเครื่องประดับเงินที่สำคัญของประเทศไทย มีช่างผีมือที่มีความเชี่ยวชาญเป็นจำนวนมาก GIT ได้เล็งเห็นความสำคัญในการเข้าไปช่วยพัฒนาและต่อยอดศักยภาพของผู้ประกอบการ และช่างฝีมือ ให้มีการพัฒนาสินค้า ปรับรูปแบบการผลิต การออกแบบให้ตรงตามความต้องการของโลก ไม่ใช่แค่รับจ้างผลิต แต่ต่อไปต้องผลิตสินค้าเป็นแบรนด์ของตัวเอง และทำตลาดมุ่งสู่ตลาดโลก”นายสุเมธกล่าว
ทั้งนี้ ผลจากการลงพื้นที่ ได้ทำการคัดเลือกผู้ประกอบการจำนวน 11 ราย เพื่อร่วมต่อยอดผลิตภัณฑ์และนำไปจัดแสดงในงานแสดงสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับในระดับนานาชาติ ได้แก่ 1.ร้าน คุ้มเงิน 925 2.ร้านอันเป็นมงคล 3.ร้าน Matuzo 4.ศูนย์หัตกรรมบ้านเบญวรรณ 5.ร้าน Jewel Impress 6.ร้าน Ponsawan silver 7.วิสาหกิจชุมชนกลุ่มหัตถศิลป์ล้านนาวัดพระศรีสุพรรณ 8.ร้าน NADA 9.ร้าน NOVA Contemporary Jewelry 10.ร้าน JIIRA และ 11.ร้าน Sinnpinta
สำหรับขั้นตอนการทำงาน นักออกแบบ เช่น นายธีระ ฉันทสวัสดิ์ ผู้เชี่ยวชาญทางด้านการออกแบบผลิตภัณฑ์ไลฟ์สไตล์และสินค้าแฟชั่น ผศ.ดร.วีรวัฒน์ สิริเวสมาส รองคณบดีคณะมัณฑศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร และ ผศ.ทวีศักดิ์ มูลสวัสดิ์ ศิลปิน นักออกแบบ นักวิจัย ที่ปรึกษาอิสระด้านการออกแบบเครื่องประดับและศิลปะ และที่ปรึกษาโครงการ จะเข้าไปช่วยพัฒนาต่อยอดชิ้นงานการออกแบบเครื่องประดับในโครงการครั้งนี้ เพื่อให้ได้ต้นแบบที่มีความทันสมัย และตอบโจทย์วิถีชีวิตของชาว Next Normal
นายธีระกล่าวว่า จากการที่ลงพื้นที่ ได้เห็นศักยภาพของผู้ประกอบการไทย โดยมั่นใจว่าผู้ประกอบการที่ตั้งใจทำงาน ปรับรูปแบบการผลิต มีการพัฒนาสินค้าให้เป็นตามที่ตลาดต้องการ และสอดคล้องกับเทรนด์ตลาดโลก จะช่วยให้สินค้าจากผู้ผลิตชุมชน มีโอกาสพัฒนาและก้าวขึ้นไปอยู่แถวหน้าในตลาดโลกได้
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
GIT ร่วมกับภาครัฐและเอกชน "ปลุกยักษ์" จัดเทศกาล BANGKOK JEWELRY WEEK 2024 by GIT” ฟื้นเศรษฐกิจถนนสายอัญมณีและเครื่องประดับ บางรัก สัมพันธวงศ์ พระนคร
เปิดตัวอย่างเป็นทางการแล้วกับ “เทศกาล BANGKOK JEWELRY WEEK 2024 by GIT” งานพัฒนาต่อยอดเครื่องประดับเพื่อการท่องเที่ยวชุมชนเก่าแก่เชิงสร้างสรรค์บนถนนสายอัญมณีและเครื่องประดับในกรุงเทพมหานคร
GIT ดันผู้ประกอบการหน้าใหม่ขยายตลาดโกอินเตอร์ ในงานบางกอกเจมส์แอนด์จิวเวลรี่แฟร์ ครั้งที่ 70
12 กันยายน 2567 สถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ GITดันผู้ประกอบการรุ่นใหม่ขยายตลาดออกร้านในงานบางกอกเจมส์แอนด์จิวเวลรี่แฟร์
DITP และ GIT เตรียมจัด “บางกอกเจมส์” ครั้งที่ 70 สุดอลังการ ตอกย้ำจุดเด่นไทยในฐานะศูนย์กลางอัญมณีและเครื่องประดับโลก
กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ (DITP) และสถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ GIT พร้อมคณะอำนวยการจัดงานทั้งภาครัฐและเอกชน
“Enchanted Hues – Unlocking the Secret of Primary Colors Theory”
24 เมษายน 2567: GIT จัดการแถลงข่าวโครงการประกวดการออกแบบเครื่องประดับครั้งที่ 18 “Enchanted Hues – Unlocking the Secrets of Primary Colors Theory”
ส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับฟื้นตัวต่อเนื่อง 2 เดือนติดต่อกัน
ส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับเดือน ต.ค.66 มูลค่า 748.21 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่ม 8.73% ฟื้นตัวต่อเนื่อง 2 เดือนติดต่อกัน หากรวมทองคำมีมูลค่า 1,576.92 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่ม 30.69% เหตุส่งออกทองคำไปเก็งกำไร ยอด 10 เดือน ไม่รวมทองคำ เพิ่ม 9.05% รวมทองคำ ลด 6.76% คาดแนวโน้มส่งออกยังดีต่อเนื่อง หลังเข้าสู่เทศกาลคริสมาสต์และปีใหม่ เผยผู้ผลิตไทยสุดเจ๋ง ทำสินค้าตอบโจทย์สายมูเตลู ดันออเดอร์พุ่ง