'แอร์บัส' มั่นใจธุรกิจการบินของไทยฟื้นตัวเร็ว ชี้หนุนจ้างงาน 4.3 ล้านตำแหน่ง

Photo by NOAH SEELAM / AFP)

“แอร์บัส” มั่นใจไทยเปิดประเทศจะช่วยให้การท่องเที่ยว -อุตสาหกรรมการบินฯฟื้นตัว ช่วยรองรับตำแหน่งงานถึง 4.3 ล้านตำแหน่ง และมีมูลค่ารวมประมาณ 2.2 ล้านล้านบาทต่อจีดีพีของประเทศ

12 พ.ค. 2565 – นายอานันท์ สแตนลีย์ ประธานแอร์บัสประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก เปิดเผยว่า มั่นใจว่าตั้งแต่วันที่ 1 พ.ค.2565 ซึ่งรัฐบาลไทยยกเลิกมาตรการ Test & Go จะช่วยส่งเสริมการเดินทางทางอากาศของประเทศไทยได้อย่างมีนัยสำคัญ โดยประเทศไทยถือเป็นประเทศแรกๆ ที่จะมีการฟื้นตัวของการท่องเที่ยว และการเดินทางทางอากาศ เริ่มจากภายในประเทศ ระดับภูมิภาค และระดับโลก ดังนั้นประเทศไทยจึงยังคงเป็นตลาดหลักสำหรับธุรกิจเครื่องบินพาณิชย์ เครื่องบินป้องกันทางอากาศและอวกาศ และเฮลิคอปเตอร์ของแอร์บัส ซึ่งปัจจุบันมีเครื่องบินแอร์บัสประจำฝูงบินของสายการบินในประเทศไทยรวม 67 ลำ ครอบคลุมเครื่องบินเกือบทุกรุ่นของสายการผลิต

สำหรับตลาดการบินในเอเชียแปซิฟิก จะเป็นภูมิภาคที่มีการฟื้นตัวอย่างรวดเร็วที่สุด และกลับมาอย่างเข้มแข็ง โดยภายใน 20 ปีข้างหน้านี้จะมีอัตราเติบโตประมาณ 5% ต่อปี และจะมีความต้องการเครื่องบินอีกอย่างน้อย 1.7 หมื่นลำ คิดเป็น 45% ของตลาดการบินทั่วโลก อย่างไรก็ตามจากข้อมูลเดือน เม.ย.65 แอร์บัสมียอดคำสั่งซื้อเครื่องบินที่ต้องส่งมอบให้กับสายการบินทั่วโลกประมาณ 7 พันลำ ซึ่งที่ผ่านมาแม้จะเผชิญกับวิกฤติโควิด-19 แต่แอร์บัสยังคงมีการผลิตและส่งมอบเครื่องบินทุกเดือน โดยในช่วง 4 เดือนแรกของปี 65 แอร์บัสดำเนินการส่งมอบให้สายการบินต่างๆ ทั่วโลกแล้วประมาณ 190 ลำ

นายอานันท์ กล่าวอีกว่า อุตสาหกรรมการบินของประเทศไทยรองรับตำแหน่งงานถึง 4.3 ล้านตำแหน่ง และมีมูลค่ารวมประมาณ 2.2 ล้านล้านบาทต่อจีดีพีของประเทศ แอร์บัสภูมิใจที่ได้มีบทบาทในอุตสาหกรรมที่สำคัญนี้ในประเทศไทย และหวังว่าการเป็นพันธมิตรของเราจะแข็งแกร่งขึ้น และสามารถให้การสนับสนุนระดับสูงสุดแก่ผู้ประกอบการทุกกลุ่มในตลาดการบิน อย่างไรก็ตามสำหรับแผนการลงทุนพัฒนาศูนย์ซ่อมอากาศยานอู่ตะเภา (MRO) ก่อนหน้านี้นั้น ยังคงระงับไว้ชั่วคราว เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 และขณะนี้ยังไม่มีแผนหารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องแต่อย่างใด

อย่างไรก็ตามแม้จะยังระงับการลงทุนดังกล่าวไว้ แต่แอร์บัสยังคงมุ่งมั่นต่อการดำเนินกิจการ และชื่อเสียงของตัวเองในประเทศไทย จึงได้มีการจัดตั้งศูนย์บริการปฏิบัติการบินแอร์บัส (Airbus Flight Operations Services Center) แห่งใหม่ในกรุงเทพฯ ทำหน้าที่ผลิตคู่มือปฏิบัติการบินมาตรฐานในรูปแบบอิเล็กทรอนิคสำหรับเครื่องบินแอร์บัสทุกประเภท และยังให้บริการจัดทำข้อมูลปฏิบัติการบินที่สามารถปรับได้ตามความต้องกาีสำหรับสายการบินที่มีความต้องการแบบเฉพาะ และยังมีความร่วมมือกับบริษัทอุตสาหกรรมการบินไทย (TAI) ให้การสนับสนุนฝูงบินเฮลิคอปเตอร์ของรัฐบาลไทยด้วย ซึ่งปัจจุบันมีเฮลิคอปเตอร์ของแอร์บัสปฏิบัติการบินอยู่ในไทยทั้งหมด 70 ลำ.

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ทำไมท่องเที่ยวไทยฟื้นน้อย? ‘ปธ.ด้านวิชาการ พปชร.’ มีคำตอบ

ถ้ารัฐบาลเน้นใช้นโยบายการคลังแบบกระตุ้นไปเรื่อยๆ ก็จะนำไปสู่เงินเฟ้อธปท.ก็จะหนีไม่พ้น ต้องใช้ดอกเบี้ยสูง เพื่อถ่วงดุล ทำให้เงินบาทแข็ง

กพท.เดินหน้าลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนในอุตฯการบิน

กพท. จับมือ ICAO ถกปมลดปล่อยก๊าซคาร์บอนด้านการบินในระดับภูมิภาคม เดินหน้าลดคาร์บอนตามเป้าหมายระยะยาว ย้ำไม่กระทบต้นทุนและค่าโดยสารและเกิดความคุ้มค่าในอนาคต

'แอร์เอเชีย' มั่นใจปี 66 ธุรกิจฟื้น ยอมรับขึ้นค่าตั๋ว 20% จากราคาน้ำมันแพง

“ไทยแอร์เอเชีย” ตั้งเป้าปี66 อุตสาหกรรมการบินฟื้นตัว ชี้จีนเป็นตัวแปรสำคัญ พร้อมห่วงต้นทุนน้ำมันพุ่ง ดันราคาตั๋วขึ้น 20% การันตีมีบุคลากร มีเพียงพอต่อการให้บริการ พร้อมรับนักท่องเที่ยวจีนเปิดประเทศ

'ทอท.' เร่งเครื่องบริหารพื้นที่เชิงพาณิชย์รอบสุวรรณภูมิ

ทอท.เร่งเพิ่มรายได้นอกเหนือธุรกิจการบิน 60% ภายในปี 67 เผยคืบหน้าพัฒนาพื้นที่เชิงพาณิชย์โดยรอบท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ เอกชนรุมจีบเสนอไอเดีย 40 – 50 โครงการ เล็งคัดเลือกเฉพาะโปรเจคหนุนธุรกิจหลัก คาร์โก้ – คอมมูนิตี้มอลล์ – ตลาดกลางสินค้าเกษตร

'บินไทย' กลับมาแกร่งรายได้พุ่ง3.2 หมื่นล้าน

‘การบินไทย’เปิดผลประกอบการไตรมาส 3/65 รายได้พุ่ง 3.2 หมื่นล้าน เพิ่มขึ้น 582% กำไร 3.9 พันล้าน ลุยเปิดเส้นทางบินใหม่ ขยายฝูงบินดันรายได้เติบโตต่อเนื่องตามแผนฟื้นฟู