แบกไม่ไหวเอกชนร้องรัฐปรับราคาค่าโดยสาร

แบกไม่ไหว ผู้ประกอบการระบบขนส่งสาธารณะ ร้องหลังจากน้ำมันดีเซล ที่เป็นต้นทุนสำคัญ ได้ทยอยปรับราคาสะท้อนต้นทุน เรือด่วนคลองแสบแสน ขอปรับราคาทันที อีก 1 บาท

9 พ.ค. 2565 – นายเชาวลิต เมธยะประภาส กรรมการผู้จัดการ บริษัทครอบครัวขนส่ง (2002) ผู้ให้บริการเดินเรือคลองแสนแสบ เปิดเผยว่า ขณะนี้ ต้นทุนที่สำคัญ คือราคาน้ำมันดีเซล ซึ่งเป็นต้นทุนสำคัญถึง 55 % ของการเดินเรือโดยสาร ปรับราคาขึ้นมา ไม่รวมต้นทุนอื่นๆ ล่าสุด ผู้ประกอบการ ได้แจ้งปัญหาเรื่องต้นทุน ที่ปรับสูงขึ้น กับกรมเจ้าท่าไปแล้ว ซึ่งยืนยันว่า ผู้ประกอบการ จำเป็นต้องปรับราคา อีกอย่างน้อยระยะละ 1 บาท โดยกรมเจ้าท่า ได้ยืนยันว่าได้นำเรื่องการขอปรับราคานี้ รายงานให้กระทรวงคมนาคม ทราบไป แล้ว

ทั้งนี้ ผู้ประกอบการอยากแจ้งให้รัฐบาลทราบว่า ราคาพลังงานที่ปรับตัวสูงขึ้น จากสงครา รัสเซีย- ยูเครน ก็เป็นปัจจัยชั่วคราว ราคาน้ำมันที่ผ่านมา ขึ้นได้ ก็ปรับลดราคาได้ เช่นเดียวกับค่าโดยสาร มีขึ้นและลง ซึ่งการปรับราคา ภาครัฐก็ต้องตัดสินใจ ให้เป็นราคาที่ทั้งประชาชน และผู้ประกอบการสามารถอยู่ได้ แต่ขณะนี้ยอมรับว่าหนักใจ เพราะภาครัฐ ไม่มีแนวทางในการจัดการปัญหาที่ชัดเจนเลย
ด้าน นายอธิรัฐ รัตนเศรษฐ รมช. กล่าวว่า ยอมรับว่า ที่ผ่านมา ผู้ประกอบการเรือโดยสารทุกชนิด ทั้งเรือด่วนเจ้าพระยา / คลองแสนแสบ / เรือข้ามฝาก ได้ขอปรับราคาค่าโดยสารมาหลายครั้ง จากต้นราคารน้ำมันที่สูงขึ้น แต่กระทรวงคมนาคม ได้ขอให้มีการตรึงราคาไปก่อน ซึ่งผู้ประกอบการก็ให้ความร่วมมือดีทุกครั้งแต่ล่าสุด สถานการณ์ราคาน้ำมันที่ปรับสูงไม่หยุด กระทรวงคมนาคมอยู่ระหว่างการพิจารณา ยืนว่า ต้องดูแลให้อยู่ได้ ทั้งประชาชนผู้ใช้บริการ และ ผู้ประกอบการ

นายพิเชษฐ์ เจียมบุรเศรษฐ์นายกสมาคมกิจการรถโดยสารประจำทางไทย กล่าวว่า ในวันที่ 12 พฤษภาคมนี้ ผู้ประกอบการรถโดยสาร จะมีการประชุม ร่วมกับกรมการขนส่งทางบก ในฐานะฝ่ายเลขานุการ ของคณะกรรมการควบคุมขนส่งทางบกกลาง ที่มีอำนาจปรับราคาค่าโดยสารตามกฎหมาย ซึ่งขณะนี้ จากสถานการณ์ราคาน้ำมันที่ดีเซลที่ปรับตัวสูง อยากให้พิจารณาข้อมูล ซึ่งเป็นข้อเท็จจริง เช่น การนำตารางคำนวณค่าโดยสาร มาเริ่มใช้ตั้งแต่ปี 2549 ขณะนั้น อัตราค่าโดยสารตามขั้นบันได อยู่ที่ 54 สตางค์ต่อกิโลเมตร
“ปัจจุบัน ราคาค่าโดยสารก็ยังอยู่ที่ 53 สตางค์ต่อกิโลเมตร ลดลงด้วยซ้ำ ทั้งหมด จึงเป็นเหตุผลว่า ทำไมผู้ประกอบการรถโดยสาร จึงอยู่ไม่ได้ ปัจจุบันสมาชิกของสมาคมฯ มีประมาณ 40,000 คัน ทั่วประเทศ แต่หากสถานการณ์ต้นทุนพลังงานเป็นเช่นนี้ ก็จะมีผู้ประกอบการเจ๊ง ต้องจอดรถกว่า 10,000 คัน หรือ 1 ใน 4 เพราะหากรถอยู่ในระบบ ก็จะมีต้นทุนมากมาย รวมทั้งค่าประกันภัยแม้ว่า รถจะจอด รอวิ่งก็ต้องจ่าย” นายพิเชษฐ์ กล่าว

ทั้งนี้ ในส่วนของการปรับค่าโดยสาร ผู้ประกอบการ ไม่อยากไปกำหนดว่า ต้องปรับขึ้นราคา เท่าไหร่ แต่ก็ขอให้รัฐบาลเห็นใจช่วยเหลือ โดยเฉพาะหากผู้ประกอบการวิ่งรถไม่ได้ จากต้นทุนนี้ ผู้ประกอบการคงไม่ยอมให้ภาครัฐ ปรับเงิน ค่าขา หรือค่าเที่ยววิ่งขั้นต่ำตามสัญญาอีก

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

รัฐบาลโต้ตัวเลขเปิดโรงงานใหม่ สูงกว่าปิดกิจการถึง 73%

'โฆษกรัฐบาล' แจงข่าวโรงงานปิดกิจการเพิ่มขึ้น ยันตัวเลขเปิดสูงกว่าที่ปิดถึง 73% ย้ำรัฐบาลให้ความสำคัญกับความอยู่รอดของผู้ประกอบการ

สสว.ยกระดับผู้ประกอบการ เสริมศักยภาพด้าน Digital Marketing เท่าทันเศรษฐกิจปรับตัว

สสว.เดินหน้าเสริมศักยภาพด้าน Digital Marketing ให้ผู้ประกอบการเอสเอ็มอี หลังพบผู้ประกอบร้อยละ 8.3 เริ่มยกระดับ การใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในการดำเนินธุรกิจในด้านการพัฒนาทักษะแรงงานในการใช้เครื่องจักร/

'พีระพันธุ์' วอนม็อบรถบรรทุก รอร่างกฎหมายเข้าสภาฯ เปลี่ยนรูปแบบคิดราคาน้ำมัน

นายพีระ​พันธุ์​ สาลี​รัฐ​วิภาค ​รองนายก​รัฐมนตรี​และ​รมว.พลังงาน กล่าวถึงกรณีสหพันธ์การขนส่งทางบกแห่งประเทศไทย ประกาศเตรียมระดมพลผู้ประกอบการรถบรรทุกจัดคาราวานเพื่อนขบวนรถบรรทุกทุกภูมิภาค เข้ากรุงเทพฯในวันที่ 3 ก.ค.

เตือนสติ ! นักวิชาการ ชี้ ดึง 'กัญชา' กลับเป็นยาเสพติด กระทบผู้ประกอบการ-ผู้ป่วย

รศ.ดร.โอฬาร ถิ่นบางเตียว รองคณบดี คณะรัฐศาสตร์ และนิติศาสตร์ ม.บูรพา ให้สัมภาษณ์ในประเด็นเรื่องข้อถกเถียงกรณีกา