สศอ.ปลื้ม เอ็มพีไอ มี.ค.65 แตะ 109.32% สูงสุดในรอบ 12 เดือนนับตั้งแต่เม.ย. 64 รับอานิสงส์การส่งออกโตต่อเนื่อง โชว์ล่าสุดมี.ค.โตสุดในรอบ 30 ปี พร้อมจับตา 3 ปัจจัยเสี่ยงใกล้ชิดกระทบเศรษฐกิจเฟสต่อไป
29 เม.ย. 2565 – นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (เอ็มพีไอ) เดือนมี.ค. 2565 อยู่ที่ 109.32 ซึ่งนับเป็นค่าดัชนีฯที่สูงสุดในรอบ 12 เดือนนับตั้งแต่เดือนเม.ย.64 แต่เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนลดลง 0.12% ขณะที่เอ็มพีไอ ไตรมาสแรกปี 2565 105.16% ขยายตัว 1.41% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนเนื่องจากภาคการส่งออกของไทยขยายตัวต่อเนื่องโดยเฉพาะเดือนมี.ค.ที่ขยายตัว 19.54% สูงสุดในรอบ 30 ปี ขณะเดียวกันหลายประเทศทั่วโลกรวมถึงไทยได้ผ่อนคลายมาตรการควบคุมโควิด-19และเปิดประเทศส่งผลต่อกิจกรรมทางเศรษฐกิจฟื้นฟื้นตัวมากขึ้นตามลำดับ
“หากพิจารณาจากการนำเข้าสินค้าวัตถุดิบและกึ่งสำเร็จรูป (ไม่รวมทองคำ) เดือนมีนาคมที่ขยายตัวเพิ่มขึ้น 5.66 %และ 11.52% ตามลำดับในการเตรียมการผลิตต่อไป รวมถึงค่าเงินบาทที่อ่อนค่ายังส่งสัญญาณบวกของทิศทางการส่งออกที่เพิ่มขึ้น การเปิดประเทศจะเป็นปัจจัยให้เศรษฐกิจในประเทศจะกลับมาฟื้นตัวมากขึ้น แต่ปัจจัยเงินเฟ้อยังคงต้องจับตาโดยเฉพาะจากระดับราคาพลังงานที่สูงและวัตถุดิบที่เริ่มกระทบต่อต้นทุนการผลิตของภาคอุตสาหกรรมไทยเพิ่มขึ้นด้วย”นายสุริยะกล่าว
นายทองชัย ชวลิตพิเชฐ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) กล่าวว่าสำหรับอุตสาหกรรมหลักที่ดัชนีผลผลิตส่งผลบวกในเดือนมี.ค. 2565 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน อาทิ น้ำตาล ขยายตัวเพิ่มขึ้น 61.25% เนื่องจากผลผลิตอ้อยที่มีปริมาณมากกว่าปีก่อน น้ำมันปิโตรเลียม ขยายตัว 17.51% เนื่องจากจำนวนนักท่องเที่ยวเพิ่มขึ้นหลังการผ่อนคลายมาตรการเข้าประเทศ ยานยนต์ ขยายตัวเพิ่มขึ้น 1.86% จากผลิตภัณฑ์รถบรรทุกปิคอัพ รถยนต์นั่งขนาดกลาง เครื่องยนต์ดีเซล เป็นหลัก
ด้านปุ๋ยเคมี ขยายตัวเพิ่มขึ้น 26.17 %เนื่องจากเกษตรกรได้ขยายพื้นที่เพาะปลูกหลังราคาพืชผลเกษตรสำคัญหลายรายการปรับตัวสูงขึ้น อาทิ ข้าว น้ำมันปาล์ม ฯลฯ เบียร์ ขยายตัวเพิ่มขึ้น 9.33% เป็นผลจากการผ่อนคลายมาตรการควบคุมการแพร่ระบาดและอนุญาตให้มีการจำหน่ายในร้านอาหารและสถานบริการมากขึ้น เป็นต้น
ขณะที่อัตราการใช้กำลังการผลิตเดือนมี.ค.65อยู่ที่ระดับ 68.77% สูงสุดรอบ 12 เดือนนับตั้งแต่เม.ย.64 แต่ปรับตัวลดลงเมื่อเทียบกับมี.ค.64 ที่อยู่ระดับ 69.68% ขณะที่อัตราการใช้กำลังการผลิตไตรมาสแรกอยู่ที่ 66.35% เพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากไตรมาสแรกของปี 2564 ซึ่งมีอัตราการใช้กำลังการผลิตที่ 66.32% จากปัจจัยบวกของการส่งออกและคาดว่าจะทยอยโตขึ้นตามทิศทางการส่งออก
“ สศอ. ได้ใช้เครื่องมือระบบเตือนภัยด้านเศรษฐกิจอุตสาหกรรมไทย (EWS-IE) ในการคำนวณ สะท้อนให้เห็นว่าภาพรวมเศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มจะขยายตัวใน 1-2 เดือนข้างหน้า อุปสงค์ในประเทศและการส่งออกมีแนวโน้มขยายตัว เศรษฐกิจประเทศคู่ค้าทยอยฟื้นตัวจากการผ่อนคลายมาตรการควบคุมการแพร่ระบาด ทำให้มีความต้องการสินค้าอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้นแต่ประเด็นที่ควรระวัง 3 ด้านได้แก่ 1.การปรับโควิด-19จากโรคระบาดเป็นโรคประจำถิ่น 2.อัตราเงินเฟ้อจากระดับราคาน้ำมันและสงครามรัสเซีย-ยูเครน 3.การล็อกดาวน์เมืองท่าสำคัญของจีน “นายทองชัย กล่าว
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
'สุริยะ' ย้ำที่เขากระโดงเป็นของรฟท. ส่วนที่ดินอัลไพน์ ยันไม่ผิดกฎหมาย
ที่ทำเนียบรัฐบาล นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รองนายกรัฐมนตรี และรมว.คมนาคม ให้สัมภาษณ์ถึงความคืบหน้าภายหลังการรถไฟ
'สุริยะ' ลั่น รฟท.ไม่ยอมเสียที่ดินให้ใคร ขอให้จบในชั้นเจ้าหน้าที่ อย่าขยายประเด็นการเมือง
นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รองนายกรัฐมนตรีและรมว.คมนาคม ให้สัมภาษณ์กรณีกรมที่ดินมีมติไม่เพิกถอนสิทธิ์ที่ดินเขากระโดง ซึ่งเป็นข้อพิพาทระหว่างการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.)และกรมที่ดิน
'สุริยะ' ย้ำศึกษาเก็บภาษีรถติด ขอเวลา 6 เดือน - 1 ปี
“สุริยะ" ชี้ ยังเป็นแค่ผลการศึกษาเก็บภาษีรถติด ขอเวลา 6 เดือน-1 ปี ตั้งธงเก็บแค่รถเก๋ง 40-50 ต่อวัน เฉพาะเส้นมีรถไฟฟ้า ส่วนรถไฟฟ้า 20 บาทตลอดสายต้องทำให้เสร็จก่อนลั่น ปีหน้า เกิดแน่
'สุริยะ' เดินหน้าแก้สัญญารถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน อ้างต่างฝ่ายต่างผิดสัญญา
ที่ทำเนียบรัฐบาล นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รองนายกฯ และ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม กล่าวถึงความคืบหน้าการแก้ไขสัญญารถ
จับตา 22 ต.ค.นี้ชง ครม. เคาะตั้งประธานบอร์ด รฟม.
“คมนาคม” ชง ครม. เคาะตั้ง “มนตรี เดชาสกุลสม” นั่งเก้าอี้ประธานบอร์ด รฟม. พร้อมกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิอีก 4 ราย เดินหน้าต่ออายุมาตรการรถไฟฟ้า 20 บาท ขณะที่ “รฟม.” พร้อมชงบอร์ดชุดใหม่อนุมัติขยายสีม่วง 20 บาทต่ออีก 1 ปีทันที