เกษตรกรเลี้ยงกุ้งยิ้ม ครม.ปรับหลักเกณฑ์เข้าถึงเงินกู้

เกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งเฮ! ครม.ปรับหลักเกณฑ์เข้าถึงเงินกู้สถาบันการเงินง่ายขึ้น ชี้ไม่ได้เป็นการส่งเสริมให้มีการเพาะเลี้ยงกุ้งทะเลในพื้นที่ป่าชายเลน

13 เม.ย.2565 – น.ส.รัชดา ธนาดิเรก รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า การประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวันที่ 12 เ.ม.ย. ครม.เห็นชอบปรับหลักเกณฑ์การสนับสนุนด้านการเงินผ่านสถาบันการเงินให้กับเกษตรกรและผู้ประกอบการเพาะเลี้ยงกุ้งทะเลที่ได้รับการรับรองมาตรฐานการปฏิบัติทางการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำที่ดี หรือ GAP (Good Aquaculture Practice) และมาตรฐานฟาร์มกุ้ง CoC (Code of Conduct) จากมติ ครม.เมื่อ 30 ก.ย.2546 ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอ เพื่อเพิ่มโอกาสให้เกษตรกรเข้าถึงแหล่งสินเชื่อจากสถาบันการเงินได้เพิ่มขึ้น เนื่องจากหลักเกณฑ์การพิจารณาสินเชื่อเดิมได้กำหนดให้เกษตรกรและผู้ประกอบกิจการเพาะเลี้ยงกุ้งทะเลจะต้องเป็นฟาร์มที่ได้รับการรับรองทั้ง 2 มาตรฐาน คือ GAP และ CoC จากกรมประมง ทำให้เป็นอุปสรรคในการเข้าถึงสินเชื่อ ซึ่งในปัจจุบันเกษตรกรและผู้ประกอบกิจการเพาะเลี้ยงกุ้งทะเลสามารถเลือกขอรับการรับรองมาตรฐานเพียงมาตรฐานใดมาตรฐานหนึ่งที่เหมาะสมเท่านั้น ดังนั้น กระทรวงเกษตรและสหกรณ์จึงปรับหลักเกณฑ์ให้สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน โดยมีรายละเอียดดังนี้

1.เป็นเกษตรกรและผู้ประกอบการเพาะเลี้ยงกุ้งทะเลที่ประกอบกิจการอยู่ในเขตพื้นที่เพาะเลี้ยงกุ้งทะเลตามประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดและแจ้งประกอบกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม (จสค.) จากเดิมอยู่นอกพื้นที่ป่าชายเลน

2.เป็นฟาร์มที่ได้รับการรับรองมาตรฐานการปฏิบัติทางการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำที่ดี GAP (Good Aquaculture Practice) หรือมาตรฐานฟาร์มเพาะเลี้ยงกุ้งทะเล Code of conduct หรือมาตรฐานสินค้าเกษตรที่เกี่ยวกับการเพาะเลี้ยงกุ้งทะเลตามกฎหมายว่าด้วยมาตรฐานสินค้าเกษตรจากกรมประมง หรือหน่วยงานรับรองเอกชนที่ได้รับการรับรองระบบงานจากสำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ (มกอช.) จากเดิมที่ต้องผ่านการรับรองทั้ง 2 มาตรฐาน คือ GAP และ CoC จากกรมประมง

ทั้งนี้ ที่ประชุมมอบหมายให้ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ปรับปรุงหลักเกณฑ์การพิจารณาให้สินเชื่อของสถาบันการเงินและแจ้งให้สถาบันการเงินรับทราบต่อไป

น.ส.รัชดากล่าวด้วยว่า การปรับหลักเกณฑ์ดังกล่าว ไม่ได้เป็นการส่งเสริมให้มีการเพาะเลี้ยงกุ้งทะเลในพื้นที่ป่าชายเลนที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมเพิ่มขึ้น เนื่องจากปัจจุบันมีกฎหมายกำกับดูแลการเพาะเลี้ยงกุ้งทะเลไม่ให้อยู่ในเขตพื้นที่ป่าชายเลนและไม่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมบังคับใช้อยู่แล้ว โดยเกษตรกรและผู้ประกอบการเพาะเลี้ยงกุ้งทะเลที่จะขอรับรองมาตรฐานนั้น จะต้องขึ้นทะเบียนเกษตรกรผู้เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ (ทบ.1) กับกรมประมงก่อน ซึ่งต้องแสดงหลักฐานข้อมูลที่ดินว่าสถานประกอบการไม่ได้อยู่ในเขตพื้นที่ต้องห้ามตามกฎหมาย เช่น เขตพื้นที่ป่าชายเลน เขตป่าสงวนแห่งชาติ เขตอุทยานแห่งชาติ เป็นต้น รวมถึงต้องอยู่ในเขตพื้นที่เพาะเลี้ยงกุ้งทะเลตามที่คณะกรรมการประมงจังหวัดประกาศกำหนด และต้องแจ้งประกอบกิจการต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ด้วย

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

เอ๊ะยังไง! 2 สัปดาห์ ชื่อ 'กิตติรัตน์' ประธานบอร์ด ธปท. ยังไม่ถึงมือขุนคลัง

'พิชัย' บอกยังไม่ได้รับรายงาน ผลการเลือก 'ประธานบอร์ดแบงก์ชาติ' คาดติดช่วงวันหยุด ชี้ช่วยค่าเกี่ยวข้าวชาวนาไร่ละ 500 บาท ขอฟังความเห็นที่ประชุม นบข.

'นฤมล' ร่วมประชุม รมต.เกษตร ของอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง ชู ความร่วมมือด้านการเกษตรระหว่างกัน

นางนฤมล ภิญโญสินวัฒน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยถึงการหารือกับ H.E. Mr. Zhang Zhili รัฐมนตรีช่วย

รัฐบาลยันผู้ปลูกมันสำปะหลังไม่ถูกกดราคาแน่

รัฐบาลให้ความเชื่อมั่นผู้ปลูกมันสำปะหลัง เตือนพ่อค้ากดราคา โทษจำคุกสูงสุด 7 ปี จัดสายตรวจเฉพาะกิจ ลงพื้นที่ตรวจสอบการซื้อขายมันฯ ในแหล่งเพาะปลูกทั่วประเทศ รับฤดูเก็บเกี่ยวที่จะเริ่ม ธ.ค.นี้

รัฐบาลโอ่ผลงานยกระดับเส้นทางสู่ภาคตะวันออกเชื่อมโยงอีอีซี

รัฐบาลยกระดับเส้นทางสู่ภาคตะวันออก เพิ่มประสิทธิภาพการจราจร เชื่อมโยงอีอีซี ล่าสุดกรมทางหลวงขยาย 4 ช่องจราจร ทล.3481 ตอน บ้านหัวไผ่ - การเคหะฯ จังหวัดปราจีนบุรี แล้วเสร็จ

อย่าหลงเชื่อ! มิจฉาชีพใช้โซเชียลหลอกไปทำงานฟาร์มออสเตรเลีย

รัฐบาลเตือนภัยอย่าหลงเชื่อกลุ่มมิจฉาชีพใช้โซเชียลหลอกทำงานฟาร์มออสเตรเลีย ย้ำรัฐบาลออสเตรเลีย ยังไม่มีความร่วมมือกับไทยด้านการส่งแรงงานและยังไม่มีนโยบายการออกวีซ่าเกษตรให้กับคนไทย

กษ.คิกออฟโครงการเพิ่มประสิทธิภาพ การบริหารจัดการน้ำในพื้นที่ลุ่มต่ำ

นายอัครา พรหมเผ่า รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยภายหลังเป็นประธาน Kick Off “โครงการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการน้ำในพื้