“การบินไทย และไทยสมายล์” จับมือ ททท.เดินหน้าดึงนักท่องเที่ยวจากอินเดียเข้าไทย ชู 7 เส้นทางบินเจาะหัวเมืองศักยภาพ คาดหลัง เม.ย.นี้ กระตุ้นเศรษฐกิจและการท่องเที่ยว มั่นใจยอดเดินทางไม่ต่ำ 1.3 หมื่นคนต่อเดือน
9 เม.ย. 2565 – นายนภินทร ศรีสรรพางค์ ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ร่วมเป็นสักขีพยานในการลงนามหนังสือแสดงเจตจำนง (Letter of Intent-LOI) ระหว่าง การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) บริษัท การบินไทยฯ และบริษัท ไทยสมายล์แอร์เวย์ จำกัด พร้อมระบุว่า ตลาดอินเดียเป็นตลาดศักยภาพขนาดใหญ่ของภูมิภาคเอเชียใต้ ทั้งจำนวนขนาด Market Size และผู้ที่มีศักยภาพในการใช้จ่าย หลายประเทศที่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจด้วยการท่องเที่ยวก็ต้องการพึ่งพิงส่วนแบ่งทางการตลาดจากอินเดียเป็นเป้าหมายหลักเช่นกัน
สำหรับการลงนามความร่วมมือในครั้งนี้ ถือเป็นโอกาสที่ดีต่อการตลาดเชิงรุกหลังการบรรลุข้อตกลงเรื่องการทำ Air Travel Bubble Arrangement ระหว่างสองประเทศ จึงมั่นใจว่าจะเป็นปัจจัยขับเคลื่อนความสำเร็จในการผลักดันการฟื้นคืนของตลาดอินเดียให้กลับมาเติบโตเพิ่มขึ้นในส่วนของตลาดนักท่องเที่ยวอินเดีย ถือเป็นตลาดนักท่องเที่ยวที่มีความสำคัญต่อการท่องเที่ยวไทย จากสถิติปี 2562 นักท่องเที่ยวจากอินเดียเดินทางเข้าไทย 1,995,516 คน ขยายตัว 24.85% สร้างรายได้กว่า 86,372.01 ล้านบาท ขยายตัว 27.45% ซึ่งแสดงให้เห็นว่าอินเดียเป็นตลาดที่มีศักยภาพในการเติบโตสูง และคาดว่าภายหลังความร่วมมือที่จะเกิดขึ้นระหว่างสายการบินไทย ไทยสมายล์ และ ททท.จะทำให้ตลาดอินเดียกลับมาฟื้นตัวหลังชะลอตัวจากผลกระทบโควิด-19
ด้านนายสุวรรธนะ สีบุญเรือง รักษาการแทนประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) เผยว่า ปัจจุบันหลายประเทศเริ่มผ่อนคลายมาตรการการเดินทางระหว่างประเทศ ผู้โดยสารมีความต้องการการเดินทางมากยิ่งขึ้น เพื่อส่งเสริมการเดินทางท่องเที่ยวไทย และเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศให้ขับเคลื่อนไปได้ การบินไทย ไทยสมายล์ และ ททท. จึงร่วมกันลงนามหนังสือแสดงเจตจำนง เพื่อวางกลยุทธ์และดำเนินกิจกรรมการตลาด เพื่อส่งเสริมประสบการณ์การท่องเที่ยวของตลาดอินเดียร่วมกัน
“การบินไทยและไทยสมายล์จะจัดกิจกรรมส่งเสริมการขาย (Joint Promotion) และสิทธิพิเศษแก่นักท่องเที่ยวในเส้นทางเดินทางดังกล่าว การจัดกิจกรรมส่งเสริมการท่องเที่ยวไทยกับนักท่องเที่ยวกลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ กลุ่มท่องเที่ยวพักผ่อน กลุ่มนักกอล์ฟกลุ่มแต่งงาน กลุ่มเยี่ยมญาติ เป็นต้น ตลอดจนแลกเปลี่ยนข้อมูลที่เกี่ยวข้องภายในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว เพื่อเป็นข้อมูลสำหรับการยกระดับและพัฒนาการท่องเที่ยวให้ดียิ่งขึ้นต่อไป”นายสุวรรณนะ กล่าว
ทั้งนี้ จำนวนผู้โดยสารตลาดอินเดียในปี 2562 อยู่ที่ประมาณ 1.9 ล้านคน สร้างรายได้ให้การบินไทยกว่า 8,500 ล้านบาท การร่วมมือกันในครั้งนี้จึงคาดว่าจะช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจและธุรกิจด้านการท่องเที่ยวของไทย หลังจากที่ได้รับผลกระทบอย่างรุนแรงจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ในช่วงเวลา 2 ปีที่ผ่านมา ให้ฟื้นตัวและขยายตัวอย่างมีประสิทธิภาพ
อย่างไรก็ตามโดยปัจจุบันการบินไทย และสายการบินไทยสมายล์ ทำการบินเส้นทางระหว่างอินเดียมายังประเทศไทย ดังนี้1.เส้นทาง ไป-กลับ กรุงเทพฯ-นิวเดลี ทำการบินสัปดาห์ละ 14 เที่ยวบิน2.เส้นทาง ไป-กลับ กรุงเทพฯ-มุมไบ ทำการบินสัปดาห์ละ 7 เที่ยวบิน3.เส้นทาง ไป-กลับ กรุงเทพฯ-เจนไน ทำการบินสัปดาห์ละ 7 เที่ยวบิน4.เส้นทาง ไป-กลับ กรุงเทพฯ-เบงกาลูรู ทำการบินสัปดาห์ละ 7 เที่ยวบิน5.เส้นทาง ไป-กลับ กรุงเทพฯ-กัลกัตตา ทำการบินสัปดาห์ละ 7 เที่ยวบิน (ทำการบินโดยสายการบินไทยสมายล์ เริ่มตั้งแต่วันที่ 11 เมษายน 2565 เป็นต้นไป)6.เส้นทาง ไป-กลับ กรุงเทพฯ-ภูเก็ต-มุมไบ ทำการบินสัปดาห์ละ 7 เที่ยวบิน (ทำการบินโดยสายการบินไทยสมายล์ เริ่มตั้งแต่วันที่ 10 เมษายน 2565 เป็นต้นไป)
นอกจากความร่วมมือในเส้นทางตลาดอินเดียดังกล่าว การบินไทยยังได้เปิดให้บริการเส้นทางบินระหว่างประเทศ ในตารางบินฤดูร้อน ปี 2565 เพิ่มมากขึ้นกว่า 34 เส้นทางบิน ครอบคลุมทั้งเอเชีย ยุโรป และออสเตรเลีย ผู้โดยสารสามารถเดินทางเชื่อมต่อเส้นทางบินสู่เมืองต่างๆ อย่างสะดวกสบายด้วยสายการบินไทยสมายล์ และสายการบินพันธมิตร รวมทั้ง จะมีการพิจารณาเพิ่มจำนวนเที่ยวบินเพื่อรองรับการเดินทางของนักท่องเที่ยว ที่คาดว่าจะมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นต่อไปในอนาคตตามนโยบายของภาครัฐต่อไป
นายนนท์ กลินทะ ประธานเจ้าหน้าที่สายการพาณิชย์ บริษัท การบินไทยฯ กล่าวว่า ภาพรวมปริมาณผู้โดยสารตลาดอินเดียที่เดินทางผ่านสายการบินไทยและสายการบินไทยสมายล์ พบว่าขณะนี้เริ่มฟื้นตัวอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะเส้นทางกรุงเทพฯ – ภูเก็ต – มุมไบ มีอัตราส่วนบรรทุกผู้โดยสาร (เคบิ้น แฟกเตอร์) สูง 80 – 90% สำหรับความร่วมมือที่เกิดขึ้นครั้งนี้ คาดหวังว่าจะเป็นเหมือนจุดสตาร์ทการฟื้นตัวของผู้โดยสารระหว่างประเทศ
ด้านนายธเนศวร์ เพชรสุวรรณ รองผู้ว่าการด้านตลาดเอเชีย และแปซิฟิกใต้ ททท. เปิดเผยเพิ่มเติมถึงแนวทางการส่งเสริมตลาดอินเดียว่า เพื่อให้สอดรับกับแคมเปญกระตุ้นการท่องเที่ยวไทยประจำปี 2565 “Visit Thailand Year 2022” ททท. จะมุ่งเน้นส่งเสริมตลาดอินเดีย โดยมุ่งเน้นกลุ่มเป้าหมายนักท่องเที่ยวคุณภาพกลุ่มความสนใจพิเศษที่มีการใช้จ่ายสูง
ทั้งนี้ หากประเมินจากเคบิ้นแฟกเตอร์ของการบินไทยและไทยสมายล์ ตั้งแต่เดือน เม.ย.นี้เป็นต้นไป คาดว่าประเทศไทยจะสามารถนำชาวอินเดียเข้ามาท่องเที่ยวได้อย่างน้อย 13,000 คนต่อเดือน ทั้งนี้ ยังไม่นับรวมผู้เดินทางจากสายการบินอื่น และคาดว่าจะสูงขึ้นถึง 80,000 คนต่อเดือน เมื่อสถานการณ์กลับเข้าสู่สถานการณ์ปกติ
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
'รมว.ท่องเที่ยว' นำร่อง 'แอ่วเหนือคนละครึ่ง' แพจเกจกระตุ้นท่องเที่ยวปลายปี
นายสรวงศ์ เทียนทอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา เดินทางตรวจเยี่ยม พื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์อุทกภัยในจังหวัดเชียงใหม่และเชียงราย ระหว่างวันที่ 11-12 ต.ค.67 ในสถานที่ท่องเที่ยว
ททท. อัดแคมเปญ WOW! Thailand ดันท่องเที่ยวไตรมาสสุดท้าย สู่เป้า 3.5 ล้านล้านบาท
การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) ร่วมกับพันธมิตรเปิดตัวโครงการ Amazing Thailand Passport Privileges ด้วยแคมเปญ “WOW! Thailand Passport Privileges”
เซเว่นฯ เปิดตัว แสตมป์เสน่ห์ไทย ให้ลูกค้าสะสม
เซเว่นฯ จับมือ ททท. สร้างปรากฎการณ์ “แสตมป์เสน่ห์ไทย ใครๆ…ก็หลงรัก” ผ่านแคมเปญสุดจึ้งแห่งปีโดยมี “โดราเอมอน” มาสร้างความสนุก ผสมผสานความเป็นไทยครั้งแรก!!! จัดใหญ่ทั่วไทย…แจกใหญ่ทั่วถึงสะสมได้ทั้งรูปแบบดวงแสตมป์ และ M-Stamp บน 7 App ตั้งแต่วันที่ 24 สิงหาคม ถึง 15 ธันวาคม 2567
ททท. กางแผนปี 68 ดึงต่างชาติเที่ยวทะลุ 40 ล้านคน สร้างรายได้ 3.4 ล้านล้าน
ฐาปนีย์ เกียรติไพบูลย์ ผู้ว่าการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) กล่าวในงานประชุมบูรณาการแผนปฏิบัติการ ททท. ปี 2568 (Tourism Authority of Thailand Action Plan 2025 : TATAP 2025) ว่า ททท.ตั้งเป้าหมายในปี 2568 สร้างรายได้รวมเพิ่มจากที่ทำได้ในปี 2567 ไปอีก 7.5%