อดีตผู้ว่าแบงก์ชาติชมเปาะนโยบายคุมใช้คริปโตฯซื้อ-ขายสินค้า

“อดีตผู้ว่าแบงก์ชาติ” ชมเปาะนโยบายคุมใช้คริปโตเคอร์เรนซี่ซื้อ-ขายสินค้า พร้อมหนุนพัฒนา เร่งรับมือความเสี่ยงด้านเทคโนโลยีใหม่ ๆ

5 เม.ย. 2565 – ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล อดีตผู้ว่าการ ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวในงานสัมมนา “เหลียวหลัง แลหน้า กับผู้ว่าการ ธปท.” ในโอกาสครบรอบ 80 ปี ธปท. ว่า ขอชื่นชมทัศนคติของ ธปท.ในปัจจุบันเกี่ยวกับการดูแลสินทรัพย์ดิจิทัล หรือเรื่องคริปโตเคอร์เรนซี่ ที่ห้ามไม่ให้นำคริปโตเคอร์เรนซี่ ไปใช้ในการซื้อ-ขายสินค้า แต่ในขณะเดียวกัน ธปท.ได้พัฒนาเกี่ยวกับดิจิทัลเคอร์เรนซี่ขึ้นมา ซึ่งอยากให้ ธปท.พัฒนาให้เร็วกว่าแผนที่วางไว้ เพราะช่วยป้องกันไม่ให้คริปโตเคอร์เรนซี่ขยายเข้าไปในวงการค้าได้

นายชัยวัฒน์ วิบูลย์สวัสดิ์ อดีตผู้ว่าการ ธปท. กล่าวว่า ความท้าทายของ ธปท.ที่เห็นได้ชัดเจนในขณะนี้ คือความท้าทายที่มาจากด้านเทคโนโลยี ซึ่งทำให้เกิดเครื่องมือทางการเงินใหม่ ๆ อยู่เสมอ แม้จะมีข้อดีที่สามารถตอบสนองความต้องการของคนในยุคปัจจุบันและเป็นทางเลือกที่ดี แต่ในฐานะ ธปท.ต้องมองไปข้างหน้าว่าจะทำให้เกิดอะไรขึ้นบ้าง และจะมีผลกระทบมากน้อย ธปท.ต้องทันต่อเหตุการณ์ หลายเรื่องเปรียบเหมือนต้องไล่ตามสิ่งใหม่ ๆ อยู่ตลอดเวลา แต่เชื่อในพื้นฐานที่วางไว้ดี

“ในเรื่องคริปโตเคอร์เรนซี่ เราใช้ความเป็นผู้กำกับดูแลที่จะบอกว่าเราไม่สนับสนุนให้ทำ เป็นการออกแรงอย่างทันสมัย การทำงานของ ธปท.อาจยากขึ้น เพราะมีผู้มีส่วนได้ส่วนเสียมากขึ้นกว่าในอดีต” นายชัยวัฒน์ กล่าว

ทั้งนี้ หลักการที่สำคัญของการดำเนินนโยบายของ ธปท. คือ ความพอดี ความคล่องตัว และความระมัดระวัง โดยจากอดีตที่ผ่านมาพว่า นโยบายการเงินที่เข้มงวด ไม่ใช่นโยบายที่ประชาชนชอบ เพราะว่ารัฐบาลประชาชนชอบนโยบายที่ผ่อนคลายมากกว่า ขณะเดียวกันนโยบายการเงินและนโยบายการคลังต้องประสานกันให้ดี

นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล อดีตผู้ว่า ธปท. กล่าวว่า ในเวลานี้เป็นสินทรัพย์ดิจิทัล ก็เป็นฉากหนึ่ง บทหนึ่ง อนาคตก็อาจมีมาอีก แต่หลักการของธปท. คือ 1.อย่าไปอยู่แต่เรื่องความสำเร็จในอดีต 2.ถ้าต้องปรับเปลี่ยนเมื่อไหร่ ต้องรู้ก่อน 3.ใช้ประโยชน์จากความหลากหลาย ในฐานะผู้นำที่ดี จะต้องจับหลักการในการดูแลให้ได้ ซึ่งคริปโตเคอร์เรนซี่ สินทรัพย์ดิจิทัล หรือ บิทคอยน์ เป็นเพียงจุดเล็ก ๆ ในประวัติศาสตร์ที่ผ่านเข้ามาเท่านั้น

“เสาหลักสำคัญ 3 เสาของ ธปท. คือ 1.การมีกรอบนโยบายการเงินที่ยืดหยุ่น มีธรรมาภิบาล และมีเครื่องมือทางการเงินที่เพียงพอในการแก้ไขปัญหา 2.มีบุคลากรที่มีความสามารถ และระบบการทำงานที่มีประสิทธิภาพ 3.มีประวัติศาสตร์ที่ดี ค่านิยมที่ดี สามารถปรับตัวให้เข้ากับบริบทที่เปลี่ยนแปลงไปได้” นายประสาร กล่าว

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

109 นักวิชาการ กลุ่มเศรษฐศาสตร์เพื่อสังคม ออกแถลงการณ์คัดค้าน รัฐบาลครอบงำแบงก์ชาติ

109 นักวิชาการ และกลุ่มเศรษฐศาสตร์เพื่อสังคม ออกแถลงการณ์ห่วงใยธนาคารแห่งประเทศไทย ถูกแทรกแซงจากกลุ่มการเ

อึ้ง! 'พิชัย' ตอบกระทู้ปัญหาTemu วกตำหนิ 'แบงก์ชาติ' ไม่ลดดอกเบี้ย

'นันทนา' จี้ถาม 'รมว.พณ.' จัดการแอปTemu 'พิชัย' อ้างสินค้าจีนแทรกแค่ปลายเหตุ แต่ต้นเหตุเกิดจากโควิด งงวกตำหนิ 'แบงก์ชาติ' ไม่ลดดอกเบี้ย

อดีตผู้ว่าฯแบงก์ชาติ ค้านเปิดกาสิโน ชี้เป็นนโยบายฉาบฉวย ผลข้างเคียงสังคมเยอะ

นโยบายกาสิโนอาจจะช่วยเรื่องเศรษฐกิจให้มีรายได้ มีคนเข้ามาเล่น แต่ผมว่า เป็นนโยบายที่ฉาบฉวย คือไม่ได้เป็นนโยบายที่จะสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับประชาชนในภาพใหญ่