ส.อ.ท. ถกกลุ่มห้องเย็นหาวิธีเก็บ 'ทุเรียน-มังคุด' หากส่งออกไปจีนไม่ได้

ส.อ.ท.ลุยหารือกลุ่มอุตสาหกรรมเครื่องทำความเย็น และผู้ประกอบการคลังสินค้า สำรองห้องเย็นรับผลผลิตทุเรียน-มังคุด ป้องกันผลไม้เน่าเสีย รับมือหากส่งออกจีนไม่ได้จากมาตรการ ZERO COVID

5 เม.ย. 2565- นายเกรียงไกร เธียรนุกุล รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย(ส.อ.ท.) เปิดเผยว่า ขณะนี้ส.อ.ท.อยู่ระหว่างการหารือกับกลุ่มอุตสาหกรรมเครื่องปรับอากาศและเครื่องทำความเย็น และผู้ประกอบการด้านคลังสินค้า(Warehouse) เพื่อที่จะร่วมกันพัฒนาระบบห้องเย็น ให้ครอบคลุมพื้นที่จัดเก็บผลไม้มากขึ้นโดยเฉพาะการรองรับทุเรียนและมังคุดที่กำลังเข้าสู่ฤดูออกผลผลิตช่วงเม.ย.-พ.ค.นี้ ซึ่งส.อ.ท.มีความกังวลอย่างมากเนื่องจากที่ผ่านมาจีนได้ออกนโยบาย ZERO COVID เพื่อป้องกันไม่ให้มีการนำเชื้อโควิด-19 จากภายนอกเข้าสู่พลเมืองของประเทศ จนทำให้ผลผลิตจากไทยตกค้างบริเวณแนวชายแดนจีนเป็นจำนวนมาก

“จากการสำรวจเราพบว่า ทุเรียนปีนี้ที่จะออกช่วงเม.ย.-พ.ค.จะมีเกือบ 1 ล้านตันเนื่องจากผลผลิตค่อนข้างดี และตามมาด้วยมังคุดอีก 4 แสนกว่าตันซึ่งปกติจะออกหลังทุเรียนมีเวลาเหลื่อมกันแต่ปีนี้ออกมาใกล้ๆ กัน ขณะที่ตลาดส่งออกหลักผลไม้ดังกล่าวของไทยคือจีน แต่ด้วยมาตรการ ZERO COVID ของจีนทำให้เราเองก็กังวลหากมีการระบายล่าช้าจะก่อความเสียหายมากและที่สำคัญจะกระทบต่อกำลังซื้อภาคเกษตรกรให้ลดต่ำลงไปอีก”นายเกรียงไกร กล่าว

ทั้งนี้แนวทางที่ส.อ.ท.กำลังดำเนินการจะมีส่วนสำคัญต่อการรักษาสภาพของผลไม้โดยเฉพาะระยะสั้นในทุเรียนกับมังคุดไม่ให้เน่าเสียเร็ว และจะทำให้เกษตรกรไม่ต้องถูกกดหรือต้องไปเสนอขายในราคาต่ำลักษณะการดัมพ์ราคา โดยความร่วมมือนี้จะเป็นอีกกลไกลหนึ่งที่จะมาช่วยภาครัฐในการแก้ไขจุดอ่อนของสินค้าผลไม้ของไทยภาพรวมที่ไม่ใช่เพียงทุเรียน และมังคุด อย่างไรก็ตามหากการส่งออกทุเรียนและมังคุดของไทยปีนี้สะดุดหรือได้รับผลกระทบจะยิ่งกดดันต่อภาคเกษตรกรในฤดูเก็บเกี่ยวต่อไปที่ต้นทุนต่างๆ จะสูงขึ้นโดยเฉพาะจากค่าปุ๋ยที่แพงขึ้นเท่าตัวซึ่งอาจประสบปัญหาสภาพคล่องทางการเงินได้ซึ่งนั่นหมายถึงภาคเกษตรทั้งระบบจะกระทบในลักษณะเดียวกันนี้

“ราคาปุ๋ยที่มีแนวโน้มแพงขึ้นต่อเนื่องจากผลกระทบการสู้รบระหว่างรัสเซีย-ยูเครนโดยรัสเซียและยูเครนมีสัดส่วนการส่งออกปุ๋ย 22%ของการส่งออกโลกขณะที่ในปี 2564 ไทยมีการน าเข้าปุ๋ยจากต่างประเทศทั้งสิ้น 5.6 ล้านตัน โดยมีการนำเข้าจากรัสเซีย เบลารุส และยูเครน คิดเป็นสัดส่วน 13.2% ของการนำเข้ารวมปัญหาความขัดแย้งทำให้ราคาปุ๋ยเฉลี่ยในประเทศก.พ. เพิ่มขึ้น 58% ขณะที่ดัชนีราคาปุ๋ยในตลาดโลกของวันที่ 25 มี.ค. 2565 เพิ่มขึ้น 112.8% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน”นายเกรียงไกร กล่าว

ปัจจัยดังกล่าวทำให้ต้นทุนการผลิตภาคเกษตรเพิ่มขึ้น และจะส่งผลต่อเนื่องให้ระดับราคาสินค้าเกษตรและราคาอาหารเพิ่มสูงขึ้นในที่สุด นอกจากนี้ เมื่อพิจารณาปริมาณปุ๋ยคงคลังในประเทศพบว่าลดลงอยู่ในระดับต่ำ ส่วนหนึ่งเนื่องจาผู้ประกอบการชะลอการนำเข้าจากต้นทุนที่สูงขึ้น ซึ่งเป็นปัจจัยที่ต้องเร่งติดตามและเตรียมการรองรับฤดูกาลเพาะปลูกใหม่เพื่อไม่ให้เกิดการขาดแคลนภายในประเทศ

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

เตือนภัยคนใช้รถ จับ 2 โจรแดนมังกร ตระเวนลักทรัพย์ตามลานจอด

พล.ต.ท.สยาม บุญสม ผู้บัญชาการตำรวจนครบาล (ผบช.น.) พร้อมด้วย พล.ต.ต.นพศิลป์ พูลสวัสดิ์ รอง ผบช.น. พล.ต.ต.กัมปนาท อรุณคีรีโรจน์ ผบก.น.7