กรมทรัพย์สินทางปัญญาเผย “มะพร้าวน้ำหอมราชบุรี” แชมป์มูลค่าส่งออกสินค้า GI สูงสุดปี 64 ตามด้วย “มะขามหวานเพชรบูรณ์-กล้วยหอมทองปทุม-ส้มโอขาวใหญ่สมุทรสงคราม-ส้มโอทับทิมสยามปากพนัง” เตรียมลุยขึ้นทะเบียน GI ในต่างประเทศ เพิ่มความคุ้มครองสินค้า GI ไทย ล่าสุดได้รับจดแล้ว 7 สินค้าใน 5 ประเทศ กำลังพิจารณารับจดอีก 10 สินค้า ใน 5 ประเทศ และกำลังทำคำขอยื่นจดไวน์เขาใหญ่ที่สหภาพยุโรป
4 เมษายน 2565 – น.ส.กนิษฐา กังสวนิช รองอธิบดีกรมทรัพย์สินทางปัญญา เปิดเผยว่า ปัจจุบันสินค้าที่ได้รับการขึ้นทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (GI) มีมูลค่าการส่งออกในปี 2564 รวม 5,406,594,788 บาท โดยสินค้า GI ไทยที่มีมูลค่าการส่งออกมากเป็นอันดับหนึ่ง คือ มะพร้าวน้ำหอมราชบุรี ส่งออกได้มูลค่า 3,495 ล้านบาท โดยส่งออกไปจีนและสหรัฐฯ รองลงมา คือ มะขามหวานเพชรบูรณ์ 300 ล้านบาท ส่งออกไปจีน เวียดนาม ยุโรป กล้วยหอมทองปทุม 197 ล้านบาท ส่งออกไปจีน ส้มโอขาวใหญ่สมุทรสงคราม 200 ล้านบาท ส่งออกไปจีน ส้มโอทับทิมสยามปากพนัง 138 ล้านบาท ส่งออกไปจีน ไต้หวัน และฮ่องกง
ทั้งนี้ ยังมีมังคุดเขาคีรีวง ข้าวเจ๊กเชยเสาไห้ ข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาร้องไห้ ข้าวหอมทองปทุมธานี มะม่วงน้ำดอกไม้สระแก้ว กล้วยตากบางกระทุ่มพิษณุโลก มะม่วงน้ำดอกไม้สีทองบางคล้า ส้มโอทองดีบ้านแท่น กาแฟเทพเสด็จ ส้มโอท่าข่อย ลิ้นจี่ค่อมสมุทรสงคราม นิลเมืองกาญจน์ ศิลาดลเชียงใหม่ หอมแดงศรีสะเกษ ร่มบ่อสร้าง มะขามเทศเพชรโนนไทย กาแฟดอยตุง ข้าวไร่ลืมผัว ทุเรียนภูเขาไฟศรีสะเกษ ที่ส่งออกได้ตั้งแต่หลักแสนไปจนถึงหลักล้านและหลายสิบล้าน
ส่วนสินค้าที่อยู่ระหว่างการพิจารณาขึ้นทะเบียน GI ที่เริ่มมีการส่งออกได้ เช่น กล้วยหอมทองเพชรบุรี กล้วยหอมทองละแม เผือกหอมบ้านหมอ กล้วยหอมทองพบพระ มะม่วงน้ำดอกไม้สีทองบ้านแฮดขอนแก่น อะโวคาโดตาก ครกหินแกรนิตตาก ทุเรียนหมอนทองระยอง เป็นต้น
น.ส.กนิษฐากล่าวว่า เพื่อเป็นการดูแลและคุ้มครองสินค้า GI ไทยที่ส่งออกไปจำหน่ายในต่างประเทศ กรมฯ มีแผนที่จะยื่นจดทะเบียน GI ในตลาดต่างประเทศ โดยเฉพาะในตลาดที่เป็นเป้าหมายในการส่งออกสินค้า GI ไปจำหน่าย โดยล่าสุดมีสินค้า GI ไทยขึ้นทะเบียนในต่างประเทศแล้ว 7 สินค้า ใน 5 ประเทศ ได้แก่ สหภาพยุโรป สินค้าข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาร้องไห้ กาแฟดอยตุง กาแฟดอยช้าง ข้าวสังข์หยดเมืองพัทลุง เวียดนาม สินค้าเส้นไหมไทยพื้นบ้านอีสาน มะขามหวานเพชรบูรณ์ กัมพูชา สินค้ากาแฟดอยตุง อินโดนีเซีย สินค้าผ้าไหมยกดอกลำพูน และอินเดีย สินค้าผ้าไหมยกดอกลำพูน
โดยมีสินค้าที่อยู่ระหว่างพิจารณารับจดทะเบียนอีก 10 สินค้า ใน 5 ประเทศ ได้แก่ มาเลเซีย สินค้าข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาร้องไห้ ข้าวสังข์หยดเมืองพัทลุง ส้มโอทับทิมสยามปากพนัง อินโดนีเซีย สินค้าข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาร้องไห้ ข้าวสังข์หยดเมืองพัทลุง เวียดนาม สินค้าลำไยอบแห้งเนื้อสีทองลำพูน ญี่ปุ่น สินค้ากาแฟดอยช้าง กาแฟดอยตุง สับปะรดห้วยมุ่น จีน สินค้าข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาร้องไห้ มะขามหวานเพชรบูรณ์ ส้มโอทับทิมสยามปากพนัง ทุเรียนปราจีน มะพร้าวน้ำหอมราชบุรี
นอกจากนี้ กรมฯ ยังอยู่ระหว่างพิจารณาจัดทำคำขอ 1 สินค้า ใน 1 ประเทศ คือ สหภาพยุโรป สินค้าไวน์เขาใหญ่ โดยไวน์เขาใหญ่ เป็นไวน์ที่ทำจากการหมักน้ำองุ่นสดสายพันธุ์ Vitis Vinifera ที่ปลูกและเก็บเกี่ยวและผ่านกระบวนการทำไวน์ตามมาตรฐานที่กำหนด ในขอบเขตพื้นที่แหล่งภูมิศาสตร์ไวน์เขาใหญ่ในอำเภอปากช่อง และอำเภอวังน้ำเขียว ของจังหวัดนครราชสีมา ซึ่งอยู่นอกเขตป่าอนุรักษ์
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
พาณิชย์ขึ้นทะเบียน 'ทุเรียนบางนรา' สินค้า GI ตัวใหม่
“พาณิชย์” เดินหน้าสนับสนุนชุมชนท้องถิ่นอย่างต่อเนื่อง ล่าสุดขึ้นทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (GI)“ทุเรียนบางนรา” ของจังหวัดนราธิวาส เนื้อละเอียด รสชาติหวานมันกลมกล่อมเป็นเอกลักษณ์ มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักกันแพร่หลาย จนเป็นที่ต้องการของตลาดทั้งในประเทศและต่างประเทศ
เริ่มแล้ว!! มหกรรมสินค้าสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ไทย สุดยอดสินค้า GI ทั่วไทยถึงมือผู้บริโภคใจกลางกรุง ในงาน GI MARKET 2024 ที่เอ็ม บี เค เซ็นเตอร์
เริ่มแล้ววันนี้ มหกรรมสินค้าสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ไทย GI ทุกภูมิภาค ทั่วประเทศไทย รวมไว้ในงานเดียว ส่งมอบเอกลักษณ์ท้องถิ่นถึงมือผู้บริโภคใจกลางกรุง ในงาน GI MARKET 2024 จัดโดย ศูนย์การค้าเอ็ม บี เค เซ็นเตอร์ ร่วมกับ กรมทรัพย์สินทางปัญญา
'พาณิชย์' บุกทลาย แหล่งอะไหล่เครื่องยนต์และแชมพูปลอมระบาด
กรมทรัพย์สินทางปัญญา บุกทลาย แหล่งอะไหล่เครื่องยนต์และแชมพูปลอมระบาดเสี่ยงอันตรายต่อผู้บริโภคได้
พาณิชย์ขึ้นทะเบียน ‘ส้มควายภูเก็ต’ เป็นสินค้า GI รายการใหม่
กรมทรัพย์สินทางปัญญา เดินหน้าขึ้นทะเบียน “ส้มควายภูเก็ต” สินค้า GI รายการใหม่ อนุรักษ์ต่อยอดภูมิปัญญา สร้างรายได้ สร้างอาชีพแก่เกษตรกรชาวภูเก็ตอย่างยั่งยืนกรมทรัพย์สินทางปัญญา เดินหน้าขึ้นทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (GI) “ส้มควายภูเก็ต” สินค้าภูมิปัญญาคุณภาพดี รสชาติเปรี้ยวจัด มีคุณค่าทางโภชนาการ แปรรูปได้หลากหลาย ทั้งรูปแบบผลสด แบบแห้งและแบบผง อีกหนึ่งสินค้าเด่นจากจังหวัดภูเก็ต สร้างความภาคภูมิใจและรายได้สู่จังหวัดภูเก็ตกว่า 3.6 ล้านบาท