รฟท.เตรียมเปิดประมูลพื้นที่เชิงพาณิชย์สถานีกลางบางซื่อ พ.ค.นี้

ลุยเปิดประมูลพื้นที่เชิงพาณิชย์สถานีกลางบางซื่อ วางไทม์ไลน์เปิดประกวาดราคา พ.ค.นี้ เอกชนยื่นซองกลาง มิ.ย. ได้ตัวเอกชนเข้าพื้นที่ พ.ย.65 คาดสร้างรายได้ให้กับ รฟท. 7.2 พันล้าน

31 มี.ค.2565-นายอนันต์ โพธิ์นิ่มแดง ผู้ช่วยผู้ว่าการด้านปฏิบัติการการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) เปิดเผยว่าที่ประชุมคณะกรรมการ (บอร์ด) รฟท. มีนายจิรุตม์ วิศาลจิตร อธิบดีกรมการขนส่งทางบก(ขบ.) ในฐานะประธานบอร์ด รฟท. เป็นประธาน ได้รับทราบแนวการดำเนินการประกวดราคาโครงการจัดหาเอกชนเพื่อพัฒนาพื้นที่เชิงพาณิชย์ บริเวณอาคารสถานีกลางบางซื่อ และสถานีรถไฟชานเมืองสายสีแดง (รถไฟฟ้าสายสีแดง) 12 สถานี จาพื้นที่ 52,375 ตาราตางเมตร(ตร.ม)ได้มีการปรับลดจำนวนพื้นที่ลงประมาณ 4,700 ตร.ม.ส่งผลให้เหลือพื้นที่ที่จะใช้ประมูลเพื่อพัฒนาพื้นที่เชิงพาณิชย์ฯ 47,675 ตร.ม.

สำหรับการเปิดประมูลพื้นที่เชิงพาณิชย์ 47,675 ตร.ม. นั้น รฟท.เตรียมเปิดประกวาดราคาในเดือน พ.ค.นี้ เอกชนยื่นซองกลาง มิ.ย. นี้ คาดว่าจะได้ตัวเอกชนภายในเดือน พ.ย.65 และส่งมอบพื้นที่ให้เอกชนเริ่มพัฒนาพื้นที่เชิงพาณิชย์ฯ ได้ประมาณปลายปี 2565 คาดว่าตลอดอายุสัมปทานประมาณ 20 ปี เป็นสัญญา 1 และสัญญา 2 คาดว่าการเปิดประมูลในระยะที่1 จะสร้างรายได้ให้กับ รฟท. ประมาณ 7,200 ล้านบาท หรือประมาณ 360 ล้านบาทต่อปี ส่วนสัญญาที่ 3 และ 4 เป็นสัญญาระยะสั้น 3 ปีคาดว่าตลอดอายุสัมปทาน 3 ปี จะสร้างรายได้ให้กับ รฟท. ประมาณ 120 ล้านบาท

“แนวทางการเปิดประมูลของเอกชนนั้น การดำเนินการจะพิจารณาจากใครให้ข้อเสนอที่สูงกว่าร่วมถึงทางด้านเทคนิคด้วย เนื่องจากการประมูลดังกว่าวใช้เกรฑ์ด้านเทคนิคและราคาด้วย แบ่งสัดส่วนด้านเทคนิค 80% ด้านราคา 20% เนื่องจากการที่จะให้การพัฒนาสถานีกลางบางซื่อเกิดขึ้นได้นั้น เทคนิคมีความสำคัญกว่า เพื่อให้ผู้ปนะกอบการที่มีความชำนาญทางด้านนี้และเทคนิคที่ดีที่จะผสมผสานเรื่องของการเดินรถไฟฯและพื้นที่ที่มีอยู่ให้ได้ประโยชน์สูงสุด”นาย อนันต์ กล่าว่า

นายอนันต์ กล่าวว่า สำหรับรายละเอียดเงื่อนไขการประมูล(TOR) นั้น รฟท. ได้กำหนดเบื้องต้นว่าการพัฒนาพื้นที่เชิงพาณิชย์ฯ จะต้องมีองค์ประกอบอย่างน้อย 4 อย่าง ประกอบด้วย 1.ศูนย์อาหาร 2.กิจกรรมธุรกรรมทางด้านการเงิน 3. พื้นที่จัดจำหน่ายสินค้า OTOP และ 4.ตู้จัดเก็บสัมภาระ ขณะเดียวกันได้เปิดทางให้เอกชนเป็นผู้ยื่นเสนอแผน เช่น ร้านสินค้าแบรนด์เนม, โรงแรมฯ และสินค้าปลอดภาษีอากร (ดิวตี้ฟรี) เป็นต้น โดยTOR ได้เปิดกว้างให้ผู้ประกอบการที่เคยพัฒนาพื้นที่ฯ อย่างน้อย 1 หมื่นตร.ม. เข้าร่วมประมูลด้วย ซึ่งคาดว่าจะมีเอกชนให้ความสนใจ โดยเฉพาะกลุ่มเซ็นทรัล ที่ก่อนหน้านี้เคยมีการทำสัญญาการพัฒนาพื้นที่เชิงพาณิชย์กับ รฟท. มาก่อน

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

การรถไฟฯ โชว์เอกสารยืนยันที่ดิน ‘เขากระโดง’ เป็นกรรมสิทธิของตัวเอง

"การรถไฟฯ" แถลงการณ์ยืนยัน ที่ดิน "เขากระโดง" เป็นกรรมสิทธิของ รฟท. ย้ำมีเอกสาร-ข้อมูล พร้อมยืนยัน ลั่นจะดำเนินการทุกอย่าง เพื่อให้ที่ดินดังกล่าว กลับมาเป็นของ รฟท. เพื่อรักษาสมบัติของแผ่นดิน

'มท.2' ควงอธิบดีที่ดิน ลงพื้นที่เขากระโดง พิสูจน์ปมพิพาทกับ รฟท.

'มท.2' ควงอธิบดีกรมที่ดิน ลงพื้นที่เขากระโดง พิสูจน์ปมพิพาทที่ดิน รฟท. ชาวบ้าน 2 ตำบล โชว์เอกสารสิทธินส.3 หลักฐานยันอาศัยอยู่ตั้งแต่ปู่ย่าตายาย เรียกร้องความยุติธรรม

บอร์ด รฟท. เคาะจัดซื้อรถโดยสาร 182 คัน ปักหมุดใช้ล็อตแรกพ.ค.71

บอร์ด รฟท. เคาะจัดซื้อรถโดยสาร 182 ตู้ 14 ขบวน 1.05 หมื่นล้าน อัพเกรดชั้น 3 ติดแอร์ขบวนแรกในไทย หวังนำมาวิ่งทดแทนรถเก่าใช้งานมากว่า 50 ปี วิ่งให้บริการ 5 เส้นทาง ชี้เป็นรถชั้น 3 แอร์ชุดแรก เล็ง เสนอ ครม. ขอกู้เงิน มี.ค.ปีหน้า ปักธงรับมอบขบวนรถล็อต 2 ขบวน พ.ค.71  

'จุลพงศ์' อัด 'กรมที่ดิน-รฟท.' ยื้อปม 'เขากระโดง' ให้วนเวียนเอื้อประโยชน์นักการเมือง

'จุลพงศ์' ยันคำพิพากษา 'เขากระโดง' เป็นกรรมสิทธิ์รฟท.สามารถใช้ยันกับบุคคลภายนอกได้ อัด'กรมที่ดิน' ใหญ่กว่าศาลเลือกปฏิบัติเพิกถอนสิทธิ์บางแปลงแต่บางแปลงตั้งกก.สอบสวน เอื้อนักการเมือง ข้องใจ 'รฟท.' ไม่เลือกวิธีฟ้องกรมที่ดินให้เพิกถอนเอกสารสิทธิ์ ทำให้วนเวียนล่าช้า

เขากระโดงลาม! กมธ.ทหารข้องใจ มทบ.26 ก่อสร้างผิดจุดที่ขออนุญาต

'กมธ.ทหาร'แฉกองทัพ สร้างค่ายทหารผิดจุดจากที่ขออนุญาต เลี่ยงพื้นที่เขากระโดงที่ครอบครองโดย 'ตระกูลใหญ่บุรีรัมย์' เรียก รฟท., ผบ.มทบ.26, มท. แจง 28 พ.ย.นี้ 'วิโรจน์' เหน็บมีอิทธิพลขนาดค่ายทหารยังย้ายหนี

'สุริยะ' ย้ำที่เขากระโดงเป็นของรฟท. ส่วนที่ดินอัลไพน์ ยันไม่ผิดกฎหมาย

ที่ทำเนียบรัฐบาล นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รองนายกรัฐมนตรี และรมว.คมนาคม ให้สัมภาษณ์ถึงความคืบหน้าภายหลังการรถไฟ