เอกชนลุ้นไทยใช้เหล็กปีนี้ โตทะลุ 5% จับตาสงครามรัสเซีย-ยูเครนหนุนราคาเหล็กพุ่ง ชี้หากยังยืดเยื้ออาจกระทบอุตสาหกรรมเหล็กยาวถึงไตรมาสที่ 3
16 มีนาคม 2565 – นายนาวา จันทนสุรคน กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท สหวิริยาสตีลอินดัสตรี จำกัด (มหาชน) หรือ เอสเอสไอ เปิดเผยถึงภาพรวมอุตสาหกรรมเหล็กในปี 2564 ว่า ประเทศไทยมีการบริโภคสินค้าเหล็กสำเร็จรูปทั้งหมด 18.64 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจากปี 2563 ทั้งนี้จึงคาดการณ์ว่าในปี 2565 จะมีการบริโภคสินค้าเหล็กอยู่ที่ 19.6 ล้านตัน หรือเพิ่มขึ้นกว่า 5% โดยมีปัจจัยสนับสนุนจากการขยายตัวของอุตสาหกรรมอย่างต่อเนื่อง เช่นการก่อสร้างโดยเฉพาะโครงสร้างพื้นฐานของภาครัฐ รวมถึงการส่งเสริมอุตสาหกรรมในประเทศ แต่ทั้งนี้ยังมีปัจจัยที่ต้องติดตามอย่างใกล้ชิด อาทิ สถานการณ์เศรษฐกิจโลก รวมถึงผลกระทบของสงครามระหว่างรัสเซียและยูเครน
“ต้องยอมรับว่าสงครามรัสเซียและยูเครนมีผลกระทบทั้งทางตรงและทางอ้อมกับอุตสาหรรมเหล็ก เนื่องจากทั้งสองประเทศถือเป็นประเทศผู้ผลิตวัตถุดิบต้นน้ำของอุตสาหกรรมเหล็ก ทำให้ปัจจุบันไม่สามารถผลิตและส่งออกวัตถุดิลเหล่านั้นได้ ทำให้ราคาเหล็กในกลุ่มประเทศยุโรปที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องจากปัญหาขาดแคลนในปัจจุบัน ทำให้ผู้ผลิตในประเทศต่าง ๆ นั้นมีความต้องการที่จะส่งเหล็กไปขายในพื้นที่นั้นเพิ่มขึ้น ขณะที่ประเทศไทยเองก็อาจจะได้รับผลกระทบเป็นโดมิโนตามมาเนื่องจากก็มีสัดส่วนการนำเข้าเหล็กจากทั้งสองประเทศนี้ประมาณ 0.8-1.8% ทั้งนี้มองว่าหากปัญหาสงครามยังยืดเยื้อและรุนแรงเพิ่มขึ้นอาจจะส่งผลกระทบมายังราคาและความขาดแคลนที่เพิ่มขึ้นไปถึงไตรมาสที่ 3 ของปีนี้”นายนาวา กล่าว
นายนาวา กล่าวว่า เพื่อพัฒนาอุตสาหกรรมเหล็กไทยอย่างยั่งยืน ภาครัฐควรเร่งดำเนินการตามแผนพัฒนาอุตสาหกรรมเหล็ก 4.0 ซึ่งเป็นแผนที่กลุ่มอุตสาหกรรมเหล็ก สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ร่วมกับกลุ่ม 7 สมาคมผู้ประกอบการอุตสาหกรรมเหล็กไทย โดยมีสถาบันเหล็กและเหล็กกล้าแห่งประเทศไทยเป็นที่ปรึกษา ได้ยื่นต่อกระทรวงอุตสาหกรรม และได้มีการนำเสนอแผนต่อคณะทำงานศึกษาแนวทางในการพัฒนาอุตสาหกรรมเหล็กไทยอย่างยั่งยืนเมื่อปี 2564 ที่ผ่านมา รวมถึงแผนเร่งด่วนที่ควรเร่งดำเนินการ เช่น การควบคุมการตั้งโรงงานสินค้าเหล็กบางประเภท ที่ปัจจุบันมีกำลังการผลิตล้นเหลือ และมีอัตราการใช้กำลังการผลิตต่ำ เช่นเดียวกับที่รัฐบาลได้ควบคุมห้ามตั้งห้ามขยายโรงงานเหล็กเส้นเสริมคอนกรีตหรือเหล็กแท่งเล็กสำหรับเหล็กเส้นเสริมคอนกรีต
และขยายผลการส่งเสริมการใช้เหล็กที่ผลิตในประเทศในโครงการร่วมลงทุนภาครัฐเอกชน (PPP) ด้วย นอกเหนือจากการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ เนื่องจากโครงการ PPP มีมูลค่าการลงทุนที่สูงมาก โดยแผนการจัดทำโครงการร่วมลงทุน พ.ศ. 2563 – 2570 (แผนร่วมลงทุน) มีรายการโครงการที่ประสงค์จะร่วมลงทุนทั้งหมดรวม 110 โครงการ มูลค่าการลงทุนรวมประมาณ 1.12 ล้านล้านบาท ซึ่งหากสามารถสนับสนุนให้ใช้สินค้าในประเทศได้จะสามารถสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจในประเทศได้อย่างมหาศาล
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ททท.ตราด งัดตัวเลขสวนเอกชน กระแสเกาะกูดฉุดนักท่องเที่ยว
ผอ.ททท.ตราด โต้กระแส MOU 44 ทำยอดนักท่องเที่ยวเกาะกูดหลนวูบ กางตัวเลขนทท. ไม่มีลด ย้ำ รัฐบาลสร้างความมั่นใจผ่านข้อเท็จจริง ขณะที่ “อนุทิน”ลงพื้นที่ตรวจราชการจันทร์นี้
'กกร.เชียงใหม่' จ่อชง 'ครม.สัญจร' เยียวยาผู้ประกอบการน้ำท่วม
นายอาคม สุวรรณกันทา ประธานสมาพันธ์ SMEs ไทย จังหวัดเชียงใหม่ และรองประธานหอการค้าจังหวัดเชียงใหม่ เปิดเผยว่า มาหาอุทกภัยที่เกิดขึ้นกับเชียงใหม่ปีนี้
'อิ๊งค์' คุย กกร. ชื่นมื่น! ปลื้มอวย 'พ่อนายกฯ' แก้เศรษฐกิจเก่งสุด
นายกฯ คุย ‘กกร.’ รับข้อเสนอแก้เศรษฐกิจ จับมือเอกชนหารายได้ใหม่เข้าประเทศ ด้าน ‘สนั่น’ เชื่อมั่นรัฐบาลอิ๊งค์ พร้อมช่วยดันจีดีพีโต ชมเปาะ 'ทักษิณ' เก่งสุด
เร่งแก้ปมเอกชนฟ้องขับไล่ชาวบ้านอาศัยเขตป่าชายเลนตามมติครม.
อธิบดีกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง นำทีมเข้าตรวจสอบสภาพพื้นที่ชุมชนประชาสามัคคี ต.เกาะแก้ว จ.ภูเก็ต ปมข้อพิพาทกับเอกชนชาวบ้านถูกฟ้องขับไล่ออกจากพื้นที่