‘ศักดิ์สยาม-อนุทิน’ควงคู่รับนายกฯเปิดเที่ยวบินพาณิชย์ปฐมฤกษ์ ท่าอากาศยานเบตง ปูพรมลุยพัฒนาระบบกขนส่งในพื้นที่จ.ยะลา กระตุ้นเศรษฐกิจและความมั่นคง 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ชูเป็นศูนย์กลางการบินของภูมิภาค หนุน เส้นทางระหว่างประเทศไทย มาเลเซีย และสิงคโปร์ในอนาคตด้วย
14 มี.ค.2565-นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รมว.คมนาคม เปิดเผยภายหลังพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธานในพิธีเปิดเที่ยวบินพาณิชย์ปฐมฤกษ์ ท่าอากาศยานเบตง เพื่อพัฒนาระบบการขนส่งในพื้นที่จังหวัดยะลา กระตุ้นเศรษฐกิจและความมั่นคง 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ แก้ไขปัญหาการเดินทางสู่อำเภอเบตง ที่มีสภาพภูมิประเทศ เป็นภูเขาสูงชัน ไม่สะดวกต่อการเดินทางให้สามารถสัญจรไปมาได้อย่างสะดวกปลอดภัยมากยิ่งขึ้น รวมทั้งกระตุ้น การท่องเที่ยวในพื้นที่ สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ “มั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน”
นายศักดิ์สยาม กล่าวว่า ภายใต้การบริหารงานของพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี มีนโยบายพัฒนาสาธารณูปโภคพื้นฐานด้านคมนาคมของประเทศ จึงมีดำริให้ขยายขีดความสามารถของระบบท่าอากาศยานภูมิภาค เพื่อสร้างประโยชน์ให้ประชาชนในหลายด้าน เป็นรากฐานสำคัญของการพัฒนาเศรษฐกิจ และสร้างความสามารถในการแข่งขันของประเทศไทย กระทรวงคมนาคม โดย ทย. จึงได้ดาเนินโครงการก่อสร้างท่าอากาศยานเบตง ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 6 ตุลาคม 2558 และนโยบายการพัฒนา 14 จังหวัดภาคใต้ เพื่อเพิ่มศักยภาพการพัฒนาทางดานเศรษฐกิจ สังคม และการทองเที่ยว เนื่องจากอำเภอเบตงมีกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่ก่อให้เกิดรายได้ให้กับจังหวัด รองจากอำเภอเมืองยะลา
ทั้งนี้เนื่องจากแต่การเดินทาง ในปัจจุบันต้องอาศัยการเดินทางทางถนนเป็นหลัก ซึ่งสภาพภูมิประเทศเป็นภูเขาสูงชัน ถนนแคบและคดเคี้ยว ลาดชันเป็นช่วง ๆ ทำให้ไม่ได้รับความสะดวกในการเดินทางจากอำเภอเบตงไปยังเมืองอื่น ๆ ดังนั้น เพื่อเป็นการ แก้ไขปัญหาการคมนาคมของอำเภอเบตงและพื้นที่ใกลเคียง ท่าอากาศยานเบตงจึงเป็นอีกหนึ่งศูนย์กลางการบิน สำคัญที่จะช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจและความมั่นคงในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ได้เป็นอย่างดี ท่าอากาศยานเบตง ได้รับใบรับรองการดำเนินงานสนามบินสาธารณะจากสำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย เมื่อวันที่ 28 มกราคม 2565 ซึ่งมีความพร้อมให้บริการตามมาตรฐาน
นายศักดิ์สยาม กล่าวว่า สนามบินเบตงเริ่มให้บริการเที่ยวบินพาณิชย์แรก โดยสายการบินนกแอร์ เส้นทางกรุงเทพฯ – เบตง – กรุงเทพฯ ในวันที่ 14 มีนาคม 2565 ซึ่งเส้นทางการบินและการขึ้น – ลงของอากาศยาน จะอยู่ในน่านฟ้าของประเทศไทยเท่านั้น นอกจากเส้นทางให้บริการภายในประเทศแล้ว ท่าอากาศยานเบตงยังมี ความพร้อมที่จะมุ่งสู่การเป็นศูนย์กลางการบินของภูมิภาค (Regional Hub) เส้นทางระหว่างประเทศไทย มาเลเซีย และสิงคโปร์ในอนาคตด้วย
นายปริญญา แสงสุวรรณ อธิบดีกรมท่าอากาศยาน (ทย.) กล่าวว่า สำหรับการให้บริการสนามบินเบตงคาดว่าในอนาคตจะมีการเพิ่มเที่ยวบิน 2 เส้นทาง ได้แก่ เส้นทาง สุวรรณภูมิ-เบตง และหาดใหญ่-เบตง จากเดิมที่มีเฉพาะเส้นทาง ดอนเมือง-เบตง โดยเส้นทาง หาดใหญ่-เบตง คาดว่าจะได้เห็นการเปิดให้บริการภายในปี 2565 นี้ ซึ่งถ้าทำได้จะส่งผลดีต่อพื้นที่เพราะห่างจากชายแดนมาเลเซียประมาณ 20 กิโลเมตร (กม.) โดยสามารถรองรับชาวมาเลเซีย โดยเฉพาะรัฐเคดะห์ และรัฐเปรัก ที่มีประชากรประมาณ 4.2 ล้านคน ซึ่งหากทำได้จริงอุตสาหกรรมการบินจะกลับมารับผู้โดยสารได้มากขึ้น รวมถึงในอนาคตก็กรมมีความพร้อมที่จะเปิดให้บริการอีก 1 เส้นทาง คือ เบตง-มาเลเซีย แต่ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับภาครัฐเป็นผู้พิจารณาต่อไป
นายปริญญา กล่าวอีกว่า ส่วนสนามบินเบตงจะถึงจุดคุ้มทุนที่ไม่ต้องใช้เงินอุดหนุนจากภาครัฐได้เมื่อไหร่ นั้น ทางกรมฯจะประเมินว่าหลังจากนี้อีก 6 เดือน จะได้ความชัดเจนว่าสนามบินจะอยู่ได้หรือไม่ แต่กรมเชื่อว่าสนามบินจะไปต่อได้ เดี๋ยวกันสายการบิน ที่มาทำการบินที่เบตงก็เชื่อว่า การเปิดเส้นทางนี้จะทำให้ถึงจุดคุ้มทุนได้แน่นอนอย่างไรก็ตาม สนามบินเบตงสามารถรองรับผู้โดยสาร 800,000 คนต่อปี หรือชั่วโมงละ 300 คน
“สำหรับสายการบินที่มีความสนใจขอเปิดทำการบินในเส้นทางดังกล่าว ทางกรมมีพร้อมที่จะรับพิจารณา แต่ทั้งนี้ ต้องขึ้นอยู่กับการพิจารณาของสำนักการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย (กพท.) ด้วย ยืนยันว่าการเปิดสนามบินใหม่แห่งที่ 29 ของ ทย. เราทำเพื่อประชาชน และเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจ เพื่อให้สนามบินเบตงเป็นศูนย์กลางของโลจิสติกส์ให้ได้ ซึ่งตอนนี้สามเหลี่ยมเศรษฐกิจของชายแดนภาคใต้ ได้ถือกำเนิดแล้ว ซึ่งจะเห็นว่าโลจิสติกส์ของกระทรวงคมนาคม ที่ได้ให้นโยบายไว้ ต้องมีความเชื่อมโยง ถามทางถนนและขนส่งทางบก ที่มีการรองรับไว้เรียบร้อยแล้ว”นายปริญญา กล่าว
นายปริญญา กล่าวต่อว่า เบื้องต้นทราบว่าขณะนี้ สายการบินบางกอกแอร์เวย์มีความสนใจ ในการเปิดทำการบินใหม่ในเส้นทาง สุวรรณภูมิ-เบตง ปัจจุบัน ทย.ได้รับรายงานว่าสายการบินฯ อยู่ระหว่างการศึกษาจำนวนผู้โดยสารและจุดคุ้มทุน ที่ทำการบินในเส้นทางนี้
นอกจากนี้ ทย.มีแผนที่จะดำเนินโครงการก่อสร้างขยายทางวิ่ง (รันเวย์) จาก 1,800 เมตร เป็น 2,500 เมตร ทางขับ ลานจอดเครื่องบิน และส่วนประกอบอื่นๆ วงเงินรวมประมาณ 1,871 ล้านบาท ซึ่งปัจจุบันอยู่ระหว่างออกแบบและขออนุมัติโครงการ เพื่อเสนอจัดทำรายงาน การประเมินผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม (อีไอเอ) โดยคาดว่าจะสามารถดำเนินการได้ภายในปี 2565 นี้ หลังจากนั้นจะเริ่มดำเนินการก่อสร้างภายใน 3 ปี หากดำเนินการก่อสร้างแล้วเสร็จคาดว่าจะสามารถรองรับเครื่องบินขนาดใหญ่ หรือขนาด 737-800 และขนาดเครื่องบิน A-320
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
นายกฯ ปลุกทุกภาคส่วน ยุติความรุนแรงต่อเด็กและสตรีทุกรูปแบบ
น.ส.แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี กล่าวผ่านวีดิทัศน์ว่า เนื่องในเดือนพฤศจิกายนของทุกปีเป็นเดือนแห่งการรณรงค์ยุติความรุนแรงต่อเด็กและสตรี ประจำปี 2567
ความจริง 'ชั้น 14' ชี้ชะตา 'รัฐบาลอิ๊งค์'
นายดิเรกฤทธิ์ เจนครองธรรม ประธานสถาบันสุจริตไทย และอดีตสมาชิกวุฒิสภา (สว.) โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า อายุรัฐบาลขึ้นกับความจริงบนชั้น 14 โรงพยาบาลตำรวจ (รพ.ตร.)
'อนุทิน' สั่งการตั้งรองผู้ว่าฯ ด้านเศรษฐกิจลุยพัฒนาพื้นที่
"อนุทิน" สั่งการ “ผู้ว่าฯทั่วประเทศ” อำนวยความสะดวกภาคเอกชน เดินหน้าตั้งรองผู้ว่าฯ ด้านเศรษฐกิจลุยพัฒนาพื้นที่ พร้อมรับสมุดปกขาวหอการค้า ปั้นเศรษฐกิจไทยเฟื่องฟู
'ชินวัตร' ตีปีกดันรัฐบาลครบเทอม วิบากกรรมไล่ล่า 'ชั้น14' หลอกหลอน
ดูจากมติเอกฉันท์ของศาลรัฐธรรมนูญไม่รับคำร้องของ นายธีรยุทธ สุวรรณเกษร ยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญให้พิจารณาวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 49
ชูศักดิ์ดิ้นหนัก ลุยล็อบบี้กมธ. ปั้นกม.การเงิน
“นายกฯ อิ๊งค์” บอกไม่ได้จบกฎหมายมา โยน “ชูศักดิ์” ดูแลเรื่องรัฐธรรมนูญ