สำนักวิจัยซู เปอร์โพล (SUPER POLL) เสนอผลสำรวจ เสียงของประชาชน ต่อ วิกฤตน้ำมันแพง
13 มีนาคม 2565 – ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการสำนักวิจัยซูเปอร์โพล (SUPER POLL) เสนอผลสำรวจ เรื่อง เสียงของประชาชน ต่อ วิกฤตน้ำมันแพง กรณีศึกษาประชาชนทุกสาขาอาชีพทั่วประเทศโดย ดำเนินดำเนินโครงการทั้งการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) และการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) จำนวน 1,159 ตัวอย่าง ระหว่างวันที่ 6 – 12 มีนาคม 2565 ที่ผ่านมา พบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 95.8 ระบุ ปัญหากลไกการตลาด มีผลต่อราคาน้ำมันในตลาดโลก ในขณะที่ร้อยละ 95.0 ระบุ ทุกคนต้องการใช้น้ำมันปริมาณที่มากขึ้น หลังผ่านวิกฤตโควิดและเป็นช่วงฟื้นตัวเศรษฐกิจในภาคอุตสาหกรรมต่าง ๆ และร้อยละ 89.8 ระบุ ปัญหาจากสงครามระหว่างประเทศยูเครน กับรัสเซีย ส่งผลกระทบต่อ ราคาน้ำมันโลก ทำให้น้ำมันมีการปรับตัวสูงขึ้น
ที่น่าเป็นห่วงคือ ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 95.9 ระบุ การปรับตัวขึ้นของ น้ำมัน ส่งผลให้ ค่าครองชีพสูงขึ้น เช่น อาหาร สินค้า ค่าขนส่งและการเดินทาง เป็นต้น และร้อยละ 94.9 ระบุ การปรับตัวขึ้นของน้ำมัน มีผลให้ต้นทุน การผลิตที่เพิ่มสูงขึ้น
นอกจากนี้ ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 94.9 ระบุ พอใจการส่งเสริมจาก รัฐบาล นำพลังงานทดแทนและพลังงานสะอาด มาใช้ทั้งในภาคขนส่ง ภาค อุตสาหกรรมและครัวเรือนมากขึ้น ร้อยละ 94.8 ระบุ พอใจความพยายาม ในการออกกฎหมาย เพื่อรองรับอุตสาหกรรมและรถยนต์ไฟฟ้าในอนาคต ร้อยละ 94.6 ระบุ สนับสนุนรัฐบาลให้จัดหาแหล่งน้ำมันอื่นๆเพิ่มเติม เช่น ขยายโอกาสความสัมพันธ์กับซาอุดิอาระเบีย เป็นต้น ร้อยละ 94.5 ระบุ สนับสนุนให้ภาครัฐ เร่งออกมาตรการสนับสนุนและทางภาษีที่เป็นรูปธรรม รองรับการใช้พลังงานทางเลือกมากขึ้น และร้อยละ 94.2 ระบุ พอใจต่อ ภาครัฐมีการสนับสนุนพลังงานทางเลือก เช่น รถไฟฟ้า เรือไฟฟ้า เป็น พลังงานสะอาดรองรับการใช้น้ำมัน
อย่างไรก็ตาม ความต้องการของประชาชน ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 96.2 ระบุ ควรมีการลดค่าโดยสารสาธารณะทุกประเภทในช่วงวิกฤตน้ำมันแพง เพื่อช่วยบรรเทาความเดือดร้อนประชาชนในช่วงนี้ ร้อยละ 95.8 ระบุ ควรมีมาตรการระยะยาวในการแก้ปัญหาด้านพลังงานน้ำมันอย่างจริงจัง เร่งด่วนที่เป็นรูปธรรม และร้อยละ 93.3 ระบุ การแก้ปัญหาเฉพาะหน้า ทุกคน ต้องร่วมกันประหยัดพลังงานน้ำมัน ใช้ทรัพยากรเท่าที่จำเป็น หันมาใช้ พลังงานทดแทน และพลังงานสะอาด
ผอ.ซูเปอร์โพล กล่าวว่า ผลโพลนี้สะท้อนให้เห็นว่า ประชาชนส่วน ใหญ่ เข้าใจและรับรู้ได้ถึงปัญหาวิกฤตพลังงานที่เกิดขึ้นปัจจุบัน จากปัญหา การฟื้นตัวของอุตสาหกรรมโลกหลังโควิด-19 และสงครามในยูเครน มีผล ต่อกลไกการตลาดโลก ซึ่งส่งผลกระทบตรงต่อปัญหาความเดือดร้อนใน ชีวิตและค่าครองชีพที่สูงขึ้นและยังชี้ให้เห็นความเข้าใจและความพอใจรัฐบาล ถึงความพยายาม ในการแก้ปัญหาน้ำมัน ทั้งการตรึงราคาน้ำมัน การบริหารจัดการกองทุน น้ำมันและการจัดหาแหล่งพลังงานทดแทน เพื่อลดปัญหาความเดือดร้อน ด้านค่าครองชีพ ขณะเดียวกัน ก็ต้องการให้กระทรวงพลังงาน กระทรวง คมนาคม และกระทรวงพาณิชย์ เข้ามาใส่ใจ ช่วยดูแลลดภาระค่าครองชีพ ที่เพิ่มใกล้ชิดขึ้น ทั้งค่ารถโดยสารสาธารณะ การตรึงราคาสินค้า ค่าขนส่ง ก๊าซหุงต้ม รวมทั้งลงพื้นที่คุมและตรวจสอบราคาสินค้า
“อย่างไรก็ตาม ในวิกฤตยังเป็นโอกาส ถึงการทำความเข้าใจกับ ประชาชนและการรณรงค์ร่วมประหยัดพลังงานครั้งใหญ่ ซึ่งถือเป็นการแก้ ปัญหาลดความเดือดร้อนเฉพาะหน้า ที่ทำได้และส่งผลทันที และหาก รัฐบาล จริงจังเร่งขับเคลื่อนโอกาสและส่งเสริม ให้ภาคเอกชนและภาค ประชาชนได้เข้าถึงและใช้พลังงานสะอาดเป็นพลังงานทางเลือกต่อภาค อุตสาหกรรมและภาคครัวเรือนให้เป็นรูปธรรมรายวันโดยเร็ว โดยหน่วยราชการร่วมกันนำร่อง ถือว่ายังไม่สายเกินไปที่เราจะร่วมกันพลิกเปลี่ยน ประเทศครั้งใหญ่ด้านพลังงาน” ผอ.ซูเปอร์โพล กล่าว
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
'นักวิชาการ' ค้านตั้งกำแพงภาษีสินค้าจากจีน แนะรัฐควรช่วยผู้ประกอบการแบบจีน
นายกมล กมลตระกูล นักวิชาการอิสระ และประธานอนุกรรมการด้านการเงินและการธนาคาร สภาผู้บริโภค โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก ว่า
ตร.84%ภูมิใจ ใส่เครื่องแบบ ปูน‘บำเหน็จ’ รองหรั่ง6ขั้น
ตำรวจ 84% ภูมิใจในเครื่องแบบ สายงานสืบสวนพอใจน้อยที่สุด
กลุ่ม LGBTQ ยังไม่เข้าใจกม.สมรสเท่าเทียม
นายนพดล กรรณิกา ผู้ก่อตั้งสำนักวิจัย ซูเปอร์โพล เสนอผลสำรวจเรื่อง เสียงของ LGBTQiA+ กรณีศึกษาตัวอย่างกลุ่ม LGBTQiA+ ทุกสาขาอาชีพทั่วประเทศ ดำเนินโครงการทั้งการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) และการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research)
โพลชี้ชัดเจน ประชาชน อยากเห็นนายกฯ ปฏิรูปตำรวจ
นายนพดล กรรณิกา กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ นโยบายตำรวจแห่งชาติ (ก.ต.ช.) ที่ปรึกษามูลนิธิ สถาบันวิจัยความสุขชุมชนและความเป็นผู้นำ และผู้ก่อตั้งซูเปอร์โพล เสนอผลการศึกษาเรื่อง ปฏิรูปตำรวจ กับ ศรัทธาจากประชาชน กรณีศึกษาตัวอย่างประชาชนทุกสาขาอาชีพทั่วประเทศ ดำเนินโครงการทั้งการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) และการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) จำนวนทั้งสิ้น 1,597 ตัวอย่าง ดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 1 - 4 พฤษภาคม พ.ศ.2567 ที่ผ่านมา
ซูเปอร์โพล เปิดผลสำรวจความคิดเห็น 'เงินถูกโจรกรรม ใครต้องรับผิด'
นายนพดล กรรณิกา ผู้ก่อตั้งซูเปอร์โพลและศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยจอร์ชทาวน์ วอชิงตัน ดีซี สหรัฐอเมริกาด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์และการจัดการความเสี่ยง
'ซูเปอร์โพล' เผยจุดยืนการเมืองคนไทย หนุน-ไม่หนุน รัฐบาลพอๆกัน
สำนักวิจัยซูเปอร์โพล (SUPER POLL) เสนอผลสำรวจ เรื่อง เปิดจุดยืนการเมืองของประชาชน กรณีศึกษาตัวอย่างประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งทุกสาขาอาชีพทั่วประเทศอายุ 18 ปีขึ้นไป ดำเนินโครงการทั้งการวิจัยเชิงปริมาณ