วิธีคำนวณ ส.ส.ปาร์ตี้ลิสต์ หรือ ส.ส.บัญชีรายชื่อ ความจริงบัญญัติไว้ชัดเจนตั้งแต่แรกเริ่มในการแก้ไขรัฐธรรมนูญ แต่แล้วขณะนี้ก็เป็นประเด็นถกเถียงขึ้นมา เมื่อ นพ.ระวี มาศฉมาดล ส.ส.บัญชีรายชื่อ และหัวหน้าพรรคพลังธรรมใหม่ ออกมาเปิดเผยว่า จะใช้สิทธิ์แปรญัตติในชั้นกรรมาธิการ (กมธ.) ให้ใช้สูตรจัดสรรปันส่วนผสมในการคำนวณ
โดยเจ้าตัวระบุว่าต้องยึดตามเนื้อหาตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 93 และมาตรา 94 ที่กำหนดเกี่ยวกับ ส.ส.พึงมีของแต่ละพรรค ตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ โดยวิธีคำนวณจะให้นับทุกคะแนนจากบัตรเลือกตั้งทั้งแบบ ส.ส.เขต และ ส.ส.บัญชีรายชื่อ แล้วนำมาหารด้วย 500 ตามจำนวน ส.ส.ทั้งสภา แล้วนำคะแนนของพรรคการเมืองแต่ละพรรคมาหารด้วยจำนวนดังกล่าว จึงจะได้ ส.ส.พึงมีของแต่ละพรรค พรรคใดได้ ส.ส.เขตเต็มจำนวนแล้วจะไม่ได้ ส.ส.เพิ่มเติม
อีกทั้งยังยกชื่อคนใหญ่คนโตในรัฐบาลมาแอบอ้างว่าเห็นดีเห็นงามกับแนวทางนี้ ทั้ง พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี และหัวหน้าพรรคพลังประชารัฐ วิษณุ เครืองาม รองนายกฯ อนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกฯ และ รมว.สาธารณสุข ในฐานะหัวหน้าพรรคภูมิใจไทย
ทว่า หากเปิดดูของจริง รัฐธรรมนูญที่ได้แก้ไข และเพิ่งประกาศบังคับใช้ไปเมื่อเดือนธันวาคม 2564 จะพบว่า มาตรา 91 บัญญัติชัดเจนว่า “มาตรา 91 การคำนวณสัดส่วนผู้สมัครรับเลือกตั้งตามบัญชีรายชื่อของแต่ละพรรคการเมืองที่จะได้รับเลือกตั้ง ให้นำคะแนนที่แต่ละพรรคการเมืองได้รับการเลือกตั้งมารวมกันทั้งประเทศ แล้วคำนวณเพื่อแบ่งจำนวนผู้ที่จะได้รับเลือกของแต่ละพรรคการเมือง เป็นสัดส่วนที่สัมพันธ์กันโดยตรงกับจำนวนคะแนนรวมข้างต้น โดยให้ผู้สมัครรับเลือกตั้งซึ่งมีรายชื่อในบัญชีรายชื่อของแต่ละพรรคการเมืองได้รับเลือกตามเกณฑ์คะแนนที่คำนวณได้เรียงตามลำดับหมายเลขในบัญชีรายชื่อของพรรคการเมืองนั้น
หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการสมัครรับเลือกตั้ง ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ การออกเสียงลงคะแนน การนับคะแนน การรวมคะแนน การประกาศผลการเลือกตั้ง และการอื่นที่เกี่ยวข้อง ให้เป็นไปตาม พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส.”
จากประโยคที่ว่า สัดส่วนที่สัมพันธ์กันโดยตรง หมายถึงการนำคะแนนของทุกพรรคมารวมกันทั้งหมด แล้วนำไปหารด้วยจำนวน ส.ส.บัญชีรายชื่อ 100 คน เรียกว่าชัดเจนที่สุด
นอกจากนี้ ในร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส. (ฉบับที่ ...) พ.ศ. ... เอง ทั้งฉบับของคณะรัฐมนตรี และฉบับพรรคร่วมรัฐบาล ที่เสนอโดย วิเชียร ชวลิต ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคพลังประชารัฐ ที่รัฐสภาเพิ่งผ่านการรับหลักการวาระหนึ่งมา ก็แก้ไขมาตรา 128 ว่าด้วยวิธีการคำนวณ ส.ส.บัญชีรายชื่อ ใหม่ทั้งหมด
โดยวรรคทองอยู่ที่ มาตรา 128 (2) ชัดเจนว่า “ให้นำคะแนนรวมทั้งหมดที่ทุกพรรคการเมืองได้รับ หารด้วยหนึ่งร้อย ผลลัพธ์ที่ได้ให้ถือเป็นคะแนนเฉลี่ยต่อ ส.ส.บัญชีรายชื่อหนึ่งคน”
ฉะนั้น การแปรญัตติแบบที่ นพ.ระวี เสนอ จะเป็นไปได้อย่างไร เพราะมันคนละทิศคนละทาง คนละสูตรกัน ขนาด นิกร จำนง ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคชาติไทยพัฒนา ในฐานะเลขานุการคณะ กมธ.วิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส. ยังฟันฉับ “เจตนารมณ์ของมาตรา 91 ของรัฐธรรมนูญที่แก้ไข คือให้หารด้วยจำนวน 100 คน เพื่อให้เป็นสัดส่วนที่สัมพันธ์โดยตรง ไม่ใช่ใช้จำนวน 500 คน”
จะมีก็เพียงแต่ อัครเดช วงษ์พิทักษ์โรจน์ ส.ส.ราชบุรี พรรคประชาธิปัตย์ ในฐานะ กมธ.ที่ดูจะแตกเหล่า เห็นด้วยกับแนวคิดของหัวหน้าพรรคพลังธรรมใหม่ ขนาด ปดิพัทธ์ สันติภาดา กมธ.ในสัดส่วนพรรคก้าวไกล ยังเคยกล่าวไว้ในที่ประชุมร่วมรัฐสภาเมื่อครั้งเสนอหลักการร่างกฎหมายลูก ว่าพรรคเห็นด้วยกับวิธีการคำนวณ ส.ส.บัญชีรายชื่อของฝ่ายรัฐบาล
เรื่องนี้ชัดเจนในลายลักษณ์อักษร แต่ในชั้น กมธ.ยังมีความพยายามบิดของบางฝ่ายให้ใช้สูตรหาร 500 เนื่องจากยิ่งหารมาก คะแนนที่ใช้เป็นเกณฑ์วัด ส.ส.บัญชีรายชื่อหนึ่งคนจะยิ่งน้อยลง ซึ่งเท่ากับว่าพรรคขนาดกลางและพรรคขนาดเล็กจะได้ประโยชน์ด้วย
ดังนั้นต้องจับตาเป็นพิเศษ ว่ากันว่าเรื่องเล่นแร่แปรธาตุ เป็นงานถนัดนักการเมือง หรือบางทีเถียงกันแทบขาดใจ สุดท้าย พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี อาจประกาศยุบสภา หักมุมไปเลย.
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ติดสลักกม.ประชามติ รธน.ใหม่ส่อลากยาว
สัปดาห์ที่ผ่านมา คณะกรรมาธิการร่วมกันเพื่อพิจารณาร่าง พ.ร.บ.ว่าด้วยการออกเสียงประชามติ ได้ข้อสรุปหลักเกณฑ์ที่จะใช้สำหรับการแก้ไขรัฐธรรมนูญเรียบร้อย โดยให้ยึดเสียงข้างมาก 2 ชั้น กล่าวคือ 1.ต้องมีผู้ออกมาใช้สิทธิ์เกินกึ่งหนึ่งของผู้มีสิทธิ์ทั้งหมด และ 2.ต้องได้เสียงเห็นชอบเกินกึ่งหนึ่งของผู้ออกมาใช้สิทธิ์
'นิกร' ชี้เหตุปัจจัยยังไม่พอ 'สนธิ' ปลุกระดมปีหน้า บอกนักการเมืองโฟกัสเลือกตั้งนายก อบจ.
นายนิกร จำนง ผู้อำนวยการพรรคชาติไทยพัฒนา กล่าวถึงกรณีที่นายสนธิ ลิ้มทองกุล ออกมาประกาศ ว่า ในปีหน้า 2568 จะมีการจัดเวทีทุกเดือนและอาจมีการลงถนน ว่า เป็นเรื่องในอนาคตต้องรอดู จะว่าไม่กังวลก็กังวล
'นิกร' ยอมรับสภาพ พรบ.ประชามติ แก้รธน.ล่าช้าไป 1 ปี คาดทำครั้งแรกต้นปี 69
นายนิกร จำนง ในฐานะกรรมาธิการ (กมธ.) ร่วมเพื่อพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ว่าด้วยการออกเสียงประชามติ กล่าวถึงกรณีที่มีการระบุว่ากฎหมายประชามติเป็นกฎหมายการเงิน เพื่อลดเวลาพักร่างกฎหมาย 180 วัน
'ชูศักดิ์' รับเลือกตั้งครั้งหน้า คงต้องใช้ รธน.ฉบับเดิม ขอแค่ตั้ง ส.ส.ร. ทันรัฐบาลนี้
นายชูศักดิ์ ศิรินิล รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในฐานะรองหัวหน้าพรรคเพื่อไทย (พท.) กล่าวถึงกรณีนายนิกร จำนง เลขานุการคณะกรรมาธิการ (กมธ.) ร่วมกันเพื่อพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ว่าด้วยการออกเสียงประชามติ ยืนยันว่าการจะแปลงร่างกฎหมายประชามติเป็นกฎหมายการเงินไม่สามารถทำได้
ชนักติดหลัง-หอกดาบ ที่ค้างอยู่ของ"ทักษิณ"
แน่นอนว่า ทักษิณ ชินวัตรและพรรคเพื่อไทย ย่อมต้องถอนหายใจโล่งอก ที่ไม่ต้องตกอยู่ในสถานะ ผู้ถูกร้อง ที่ศาลรัฐธรรมนูญ หลังศาลรัฐธรรมนูญยกคำร้อง-ไม่รับคำร้องไว้วินิจฉัยในคดีที่ ธีรยุทธ สุวรรณเกษร ยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญ หรือ "คดีล้มล้างการปกครอง" ที่ศาล รธน.มีมติยกคำร้องไปเมื่อ 22 พ.ย.ที่ผ่านมา
นิกรหักเพื่อไทย เตือนส่อผิดกม. ให้กมธ.ตีความ
“นิกร” หักข้อเสนอ “ชูศักดิ์” เลยช่วงเวลาแปลงร่างประชามติเป็นกฎหมายการเงินแล้ว