เริ่มมีภาคประชาชนในการตั้งคำถามถึงท่าทีของไทยในสถานการณ์ความขัดแย้งระหว่างมหาอำนาจของโลก จากกรณี รัสเซีย กับ ยูเครน ที่เปิดปฏิบัติการทางทหารไปแล้ว และเกรงจะลุกลามไปในประเด็นขัดแย้งอื่น เช่น ไต้หวัน-จีน และ ความตึงเครียดในทะเลจีนใต้ ที่แต่ละฝ่ายกำลังเก็บแต้มชาติพันธมิตรไว้ในมือ
นิติธร ล้ำเหลือ หรือ 'ทนายนกเขา' แกนนำกลุ่มประชาชนคนไทย เปิดเกมยื่นหนังสือถึงสถานทูตจีนและสหรัฐ โดยสถานทูตจีนรับลูกตอบคำถาม พร้อมแสดงความกังวลใน ยุทธศาสตร์อินโด-แปซิฟิก ฉบับใหม่ของสหรัฐ ขณะที่ฝ่ายสถานทูตสหรัฐยังนิ่ง
แกนนำกลุ่มประชาชนคนไทยยังฝากไปถึงผู้นำเหล่าทัพ ถึงข้อผูกมัดตามข้อตกลงในโครงการความช่วยเหลือทางด้านการทหารของสหรัฐ การฝึกร่วมผสมคอบร้าโกลด์ รวมถึงสิทธิพิเศษด้านต่างๆ นอกเหนือข้อบังคับของกฎหมายไทย ข้อตกลงเรื่องฐานทัพสหรัฐในพื้นที่ของไทย การติดตั้งอุปกรณ์ทางด้านไซเบอร์ในการขยายสถานทูต และสร้างสถานกงสุลใหม่ต่างๆ ที่ไทยไม่มีอำนาจในการตรวจสอบในการนำอุปกรณ์ต่างๆ เข้ามาหรือไม่
คำถามต่างๆ สอดคล้องกับความกังวลของ “จีน” ที่เห็นการดำเนินยุทธศาสตร์ของ “สหรัฐ” มุ่งหวังใช้ไทยเป็นฐานที่มั่นในภูมิภาคนี้ เพราะก็จะเหลือแค่ประเทศไทยที่ยังไม่ได้เลือกข้างฝ่ายใด หลังจากที่ลาว-กัมพูชา-เมียนมา ที่อยู่รอบบ้านแสดงท่าทีสนับสนุนจีน และให้ใช้พื้นที่ในการตั้งฐานบิน และ ฐานทัพเรือไปแล้ว
แต่ที่ผ่านมาไทยดำเนินนโยบาย เป็นกลาง ไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด และยึดประโยชน์ของชาติ แม้ทางด้านการทหารจะมีความใกล้ชิดกับสหรัฐ ตั้งแต่สงครามเวียดนาม จนมีโครงการช่วยเหลือทางด้านทหารเป็นระยะเวลายาวนาน แต่ในด้านอื่นไทยเองก็ถูกบีบและต่อรองในหลายเรื่อง โดยเฉพาะเรื่องการเมืองภายใน
ดังนั้น จังหวะการขยายอิทธิพลของจีนจึงเป็นผลดีของไทยที่จะใช้ถ่วงดุลสหรัฐอเมริกาอยู่ไม่น้อย แต่ขณะเดียวกันก็ต้องระมัดระวังเรื่องกาเจรจา-ต่อรองในหลายเรื่อง โดยเฉพาะเรื่องการค้า โครงการลงทุน เพื่อไม่ให้ไทยเสียเปรียบ
กระนั้นจีนเองก็มองไทยในแง่พื้นที่ทางยุทธศาสตร์ไม่ต่างจากสหรัฐ โดยเฉพาะยุทธศาสตร์อินโด-แปซิฟิก ที่จะใช้เป็นเครื่องมือในการใช้ไทยกีดกันจีน
หรือแม้กระทั่ง โครงการปรับปรุงอาคาร-พื้นที่การก่อสร้างสถานกงสุลสหรัฐที่เชียงใหม่ ซึ่งก่อนหน้านี้ก็มีกระแสข่าวอย่างต่อเนื่องในเรื่องของการติดตั้งอุปกรณ์พิเศษทางด้านการทหารทางด้านข่าวกรอง จนล่าสุดเมื่อวันที่ 25 ม.ค.ที่ผ่านมา ผู้เชี่ยวชาญเรื่องเมียนมาและชนกลุ่มน้อยในไทยกล่าวถึงสถานกงสุลใหญ่สหรัฐอเมริกาในจังหวัดเชียงใหม่ผ่าน The Irrawaddy เว็บไซต์ข่าวเมียนมาว่าเป็นหนึ่งในความพยายามของสหรัฐที่มุ่งเป้าไปที่จีนจริง
สำหรับสถานกงสุลใหญ่อยู่ระหว่างการก่อสร้างในราคา 300 ล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งมีกำหนดเปิดทำการในปี 2023 อยู่ห่างเพียง 500 กิโลเมตรจากชายแดนจีน และยังใกล้กับเมียนมาและลาว จนมีการตั้งข้อสังเกตว่า เป็นความพยายามของสหรัฐที่จะเสริมขีดความสามารถในการรวบรวมข่าวกรองจากพื้นที่ภาคเหนือของไทยในปรับปรุงพื้นที่กงสุลด้วย
แต่กระนั้น การปรับปรุงสถานทูตสหรัฐ และสถานกงสุล เป็นโครงการที่ถูกกำหนดไว้แล้ว มีแนวทางการติดตั้งอุปกรณ์ปกป้องสถานที่ตั้ง หลังจากที่เกิดกรณีบุกสังหารทูตในสถานกงสุลเบงกาซี ในลิเบีย ซึ่งสถานทูตของสหรัฐทั่วโลกจะมีการเสริมอุปกรณ์ต่างๆ เพื่อให้เป็นไปตามแนวทางการรักษาความปลอดภัยอย่างเข้มงวด จึงไม่แปลกที่จะมีข้อสังเกตเรื่อง อุปกรณ์พิเศษ ที่อาจจะนำมาใช้
แน่นอนว่าระบบข่าวกรองและแจ้งเตือนจึงเป็นสิ่งสำคัญ ยิ่งสถานกงสุลที่ไม่ห่างกับชายแดนไทย เผชิญหน้ากับ ฐานทหาร ของกองกำลังฝ่ายตรงข้าม ประกอบกับกองกำลังชนกลุ่มน้อยที่มีศักยภาพทางด้านยุทโธปกรณ์ที่มีรัศมีทำการยิงได้ไกล มาตั้งจ่ออยู่ริมชายแดน จึงเป็นไปได้ที่สหรัฐเองก็ต้องเฝ้าระวังด้วยเช่นกัน
ไม่ต่างจากฝ่ายตรงข้ามสหรัฐที่มีกระแสข่าวว่า กำลังสร้างฐานที่มั่นของตัวเองไว้ในพื้นที่สีเทา จากการปรากฏตัวของเหล่าบรรดา “สายลับ” ที่แฝงตัวมาในคราบของเจ้าหน้าที่ นักธุรกิจที่ป่วนเปี้ยนในบ่อนกาสิโน สร้างเครือข่ายคอลเซ็นเตอร์ เปิดช่องทางแนวรบด้านไซเบอร์ไว้ล่วงหน้า และอาจมียุทโธปกรณ์ หรืออุปกรณ์ด้านข่าวกรอง เฉกเช่นที่สหรัฐมีหรือไม่
พื้นที่ด้านเหนือที่เป็นชายแดนจึงถูกชี้เป้าล่วงหน้า เพราะขณะนี้คาดเดาได้ยากว่า “สงคราม” ระหว่างรัสเซีย-ยูเครน จะจบลงเมื่อไหร่ ไต้หวัน-จีน ที่มีปมซับซ้อนมากกว่า จะไปถึงจุดที่ใช้กำลังทางทหารหรือไม่ รวมไปถึงสถานการณ์ในทะเลจีนใต้ที่ตึงเครียดจะพัฒนาไปสู่จุดใด ความอ่อนไหวในพื้นที่ กันชน ต่างๆ ทั่วโลกก็เปรียบเหมือนมีระเบิดเวลาตั้งไว้หลายลูก
ขณะที่การฝึกผสม คอบร้าโกลด์ รวมไปถึงการฝึกรหัสต่างๆ อีกหลายสิบรหัส ยุทโธปกรณ์ต่างๆ ที่ประจำการอยู่ หลักสูตรการเรียน ทุนการศึกษาส่วนใหญ่ก็เป็นของทางสหรัฐ ล้วนเป็นสัญลักษณ์ของความสัมพันธ์ที่สหรัฐต้องการแสดงออกถึงความใกล้ชิด เป็นมิตรที่ดี และรักษาภาพลักษณ์ พี่ใหญ่ ไปให้นานที่สุด
ขณะที่กองทัพของไทยก็เริ่มเปิดความสัมพันธ์ทางด้านการทหารกับจีน-รัสเซีย ทั้งการส่งนักเรียนไปเรียน แลกเปลี่ยนการฝึก รวมไปถึงจัดหายุทโธกรณ์ระดับยุทธศาสตร์ อย่างเรือดำน้ำจีนเข้าประจำการ
ดังนั้น ในสถานการณ์ปัจจุบันจึงยังไม่มีความจำเป็นใดๆ ที่ไทยต้องเลือกข้าง หรือแสดงบทบาทเป็นศัตรูกับใคร ตราบใดการสร้างสมดุลของรัฐบาล-กองทัพ ยังทำได้เหมาะสมพอสมควร.
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
'ชินวัตร' ตีปีกดันรัฐบาลครบเทอม วิบากกรรมไล่ล่า 'ชั้น14' หลอกหลอน
ดูจากมติเอกฉันท์ของศาลรัฐธรรมนูญไม่รับคำร้องของ นายธีรยุทธ สุวรรณเกษร ยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญให้พิจารณาวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 49
แจกเฟส 2 หวังผลการเมือง ส่อผิดกฎหมายหลายกระทง?
ปี่กลองอึกทึกครึกโครม ในสนามเลือกตั้งผู้บริหารท้องถิ่นและสมาชิกสภาท้องถิ่น ที่จะมีการเลือกตั้งทั่วประเทศในวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2568 ตามประกาศของคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ช่วงนี้จึงอยู่ในช่วงงัดไม้เด็ดเดิมพันให้ได้คว้าชัยชนะ เพื่อเป็นอีกก้าวปูทางไปสู่สนามการเลือกตั้งใหญ่
ของขวัญจากรัสเซีย ถึง 'คิม จอง อึน'
เริ่มจากเกาหลีเหนือส่งทหารไปสนับสนุนแนวรบของรัสเซียก่อน จากนั้นมอสโกจึงส่งมอบของขวัญพิเศษตอบแทนเปีย
ปักธง1ภาค1เก้าอี้นายกอบจ. ส้มเก็บชัยหรือระเนระนาด
นับถอยหลังสู่โค้งสุดท้ายของการเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) อุดรธานี ซึ่งจะเกิดขึ้นในวันที่ 24 พ.ย.นี้ ระหว่าง นายคณิศร ขุริรัง ผู้สมัครจากพรรคประชาชน และนายศราวุธ เพชรพนมพร ผู้สมัครจากพรรคเพื่อไทย
รัสเซีย ขัดขวางมติหยุดยิงของยูเอ็นในซูดาน
นายพลสองคนซึ่งเป็นคู่แข่งแย่งชิงอำนาจ ต่อสู้กันในซูดานมาเป็นเวลาหนึ่งปีครึ่งแล้ว ขณะนี้รัฐมนตรีความมั่นคงแห่งสห
จับตาคลอดโผแต่งตั้ง“นายพลใหญ่” ตำรวจคนสนิทฝั่งรัฐบาลพรึบยกแผง
จับตาบ่ายวันนี้ การแต่งตั้งโยกย้ายล็อตแรก “นายพลใหญ่” ระดับรอง ผบ.ตร. จเรตำรวจ-ผบช. ที่นายกฯ อุ๊งอิ๊ง น.ส.แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ในฐานะประธานคณะกรรมการข้าราชการตำรวจ (ก.ตร.) นัดประชุม ก.ตร. ครั้งที่ 10/2567 เพื่อพิจารณาบัญชีรายชื่อ “พล.ต.อ.-พล.ต.ท.” วาระประจำปี 2567