‘กับดัก’ บีอาร์เอ็นในการ 'พูดคุยสันติสุข' และเงื่อนไขปิดมัสยิด ‘รอมฎอน’ นองเลือด

ตรวจแนวรบใน 2 จังหวัดชายแดนภาคใต้ของประเทศไทย ซึ่ง 18 ปี ผ่านไป ยังหาความสงบ ทั้งจากการใช้ สันติวิธี ด้วยการ พูดคุย และจากการใช้กำลัง ทหาร ในการจับกุม และ วิสามัญ กองกำลังติดอาวุธของขบวนการแบ่งแยกดินแดน บีอาร์เอ็น ยังไม่ได้ 

ล่าสุดในรอบ 7 วันที่ผ่านมา ฝ่ายของ กอ.รมน.ภาค 4 ส่วนหน้า ลดความรุนแรงด้วยการลดปฏิบัติการปิดล้อมกองกำลังติดอาวุธของบีอาร์เอ็นในพื้นที่ เพื่อหวังลด กระแสสังคม ที่ กระหน่ำ ใน ทหาร ในการปฏิบัติการ เด็ดชีพ ของกองกำลังติดอาวุธในพื้นที่ อ.ระแงะ จ.นราธิวาส 2 ศพ และในพื้นที่ อ.จะนะ จ.สงขลา 3 ศพ ซึ่งเป็นการ จับตาย หรือ วิสามัญฆาตกรรม ที่ส่งผลสะเทือนให้กับ กอ.รมน.ภาค 4 ส่วนหน้ามากที่สุด ตั้งแต่มีปฏิบัติการ ปิดล้อมตรวจค้น และมีการ วิสามัญ ในรอบ 2 ปี ที่ พล..เกรียงไกร ศรีรักษ์ เป็นแม่ทัพภาคที่ 4 

เพราะลักษณะของ พล.ท.เกรียงไกร ศรีรักษ์ ที่ผ่านมา ไม่ใช่นายทหาร สายเหยี่ยว ที่นิยมการใช้ความรุนแรงในการแก้ปัญหาของ ไฟใต้ แต่เป็นนายทหารสาย พิราบ ที่เน้นงาน มวลชน ในพื้นที่มาโดยตลอด และได้รับความ ชื่นชม จากกลุ่มก้อน มวลชน ในพื้นที่ค่อนข้างมาก ดังนั้นการ วิสามัญ กองกำลังติดอาวุธที่ผ่านมาหลายครั้ง และ 2 ครั้งล่าสุด จึงทำให้ มวลชน สาย พิราบ ในพื้นที่ โดยเฉพาะผู้นำ ศาสนา เริ่มที่จะ ลังเล ว่านโยบายของ กอ.รมน.ภาค 4 ส่วนหน้า ในปี 2565 ซึ่งเป็นปีที่ 2 ของการทำหน้าที่แม่ทัพภาคที่ 4 จะเปลี่ยนจาก สันติวิธี เป็นปฏิบัติการทางทหารแบบ ฮาร์ดคอร์ หรือไม่ 

แต่ในขณะเดียวกัน เมื่อสำรวจ แนวรบ ของขบวนการ บีอาร์เอ็น ในพื้นที่ก็พบว่า ปฏิบัติการของ บีอาร์เอ็น ไม่ได้ลดความรุนแรงลงแต่ประการใด ระเบิดแสวงเครื่อง ยังดักเป็นระยะๆ และเป้าหมายยังเป็น เจ้าหน้าที่รัฐ และเสียงปืนก็ยัง ปะทุ เป็นระยะๆ ในพื้นที่-จังหวัดชายแดนภาคใต้ เป้าหมาย คือกองกำลังท้องถิ่น และประชาชนที่เป็น สายข่าว ของเจ้าหน้าที่ 

ซึ่งเป็นไปตามคำแนะนำของ เจนีวาคอล องค์การสิทธิมนุษยชนต่างประเทศ ซึ่งขณะนี้ ปักหลัก เพื่อเป็น พี่เลี้ยง ให้กับขบวนการ บีอาร์เอ็น ในประเทศมาเลเซีย เพื่อให้ปฏิบัติการแบ่งแยกดินแดนของบีอาร์เอ็นบรรลุเป้าหมายที่ต้องการ 

ดังนั้นถึงแม้ว่า กอ.รมน.ภาค 4 ส่วนหน้า จะลดความรุนแรงลงด้วยการใช้วิธีการ ปิดล้อม และ จับกุม แนวร่วมไปดำเนินการสืบสวนสอบสวน โดยลดการปิดล้อม เป้าหมาย ที่เป็นกองกำลังติดอาวุธ เพื่อที่จะ หลีกเลี่ยง การ วิสามัญ เพื่อลดกระแสความไม่พอใจของ มวลชน จึงไม่ได้ทำให้ สถานการณ์ความ รุนแรง ลดลงแต่ประการใด 

และยังเกิดความสูญเสียเป็นระยะๆ จากการปฏิบัติการของ กองกำลังติดอาวุธ ที่มีต่อ เป้าหมาย ที่เป็นเจ้าหน้าที่รัฐ และคนที่ให้ความร่วมมือกับ เจ้าหน้าที่รัฐ 

เพียงแต่ไม่เกิดกระแสความไม่พอใจของ มวลชน เพราะในความรู้สึกของประชาชนในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ความสูญเสียของเจ้าหน้าที่รัฐ และประชาชนที่เป็นฝ่ายของเจ้าหน้าที่ ไม่ได้อยู่ในความสนใจ และไม่ให้ความสำคัญต่อการสูญเสียมาแต่ไหนแต่ไร 

เช่นเดียวกับกลุ่มองค์กร สิทธิมนุษยชน องค์กรภาคประชาสังคม ทั้งใน ส่วนกลาง และ ท้องถิ่น ที่ไม่เคยแสดง บทบาท หรือให้ความสนใจกับความรุนแรงที่เกิดจาก กองกำลังติดอาวุธ ของ บีอาร์เอ็น ผิดกับการที่ กองกำลังติดอาวุธ ของ บีอาร์เอ็น ที่ถูก วิสามัญ จากเจ้าหน้าที่รัฐ ที่ กลุ่มสิทธิมนุษยชนและองค์การภาคประชาสังคม ทั้ง ส่วนกลาง และ ท้องถิ่น ต้องออกมา ประณาม และ กดดัน ให้เจ้าหน้าที่รัฐ โดยเฉพาะ ทหาร ลดปฏิบัติการการ ปิดล้อม ตรวจค้น เพื่อหลีกเลี่ยงการ วิสามัญ ต่อกลุ่มติดอาวุธของ บีอาร์เอ็น 

ดังนั้นการที่ กอ.รมน.ภาค 4 ส่วนหน้า จะลดความรุนแรงด้วยการหยุดการ วิสามัญ ต่อกองกำลังติดอาวุธเพียงฝ่ายเดียว จึงไม่สามารถลดความรุนแรงและความสูญเสีย ซึ่งกลายเป็นความสูญเสียฝ่ายเดียว ฝ่ายของเจ้าหน้าที่และประชาชน ซึ่งไม่ใช่แนวทางของการดับ ไฟใต้ ที่เป็นผล 

วันนี้ พล..วัลลภ รักเสนาะ หัวหน้าคณะ พูดคุยสันติสุข ได้มีการ พูดคุย กับ พล.ท.เกรียงไกร ศรีรักษ์ แม่ทัพภาคที่ 4 และ ผอ.กอ.รมน.ภาค 4 และ ผบ.ฉก.ในพื้นที่ เพื่อการ ขับเคลื่อน ขบวนการ พูดคุย กับ บีอาร์เอ็น ในรอบต่อไป ซึ่งอาจจะเป็นในปลายเดือนมีนาคมที่จะถึงนี้ 

ซึ่งในขบวนการ พูดคุย ระหว่างตัวแทน รัฐไทย กับขบวนการแบ่งแยกดินแดน บีอาร์เอ็น ที่มีรัฐบาลมาเลเซียเป็นผู้อำนวยความสะดวก สิ่งที่บีอาร์เอ็นเสนอต่อคณะของ พล.อ.วัลลภ รักเสนาะ ซึ่งประชาชนยังไม่รับรู้คือ ให้ ทหาร ยุติการปิดล้อม ตรวจค้น ยกเลิก จุดตรวจ 

ซึ่งเป็นข้อเสนอที่ ถ้า พล.อ.วัลลภ หัวหน้าคณะ พูดคุย ของ รัฐไทย ยินยอมทำตามข้อเสนอดังกล่าว ก็เป็นการเดิน เข้าทาง ของบีอาร์เอ็น เพราะเป็นการ เปิดพื้นที่ ให้ แนวร่วม และ กองกำลังติดอาวุธ ของบีอาร์เอ็นในจังหวัดชายแดนภาคใต้สามารถกลับมาเคลื่อนไหว ทั้งงานด้าน การเมือง และ การทหาร โดย เสรี เป็นไปตาม ยุทธศาสตร์ ของบีอาร์เอ็น 

นี่คือ กับดัก ที่ บีอาร์เอ็น สร้างขึ้นมาเพื่อให้ กลไก ของการ พูดคุยสันติสุข ไม่สามารถที่จะขับเคลื่อนไปได้ เพราะกลายเป็นข้อกล่าวหาว่า รัฐไทย ไม่สนองตอบต่อ กลไก ของการ พูดคุยสันติสุข ซึ่งเป็นเรื่องที่ฝ่ายของ รัฐไทย โดยเฉพาะขบวนการ พูดคุยสันติสุข ต้อง สำเหนียก ว่ากำลังเดินเข้าสู่ กับดัก ของ บีอาร์เอ็น ทั้งสิ้น 

ในขณะที่ทั้งฝ่ายของคณะ พูดคุย ติดอยู่กับ กับดัก ของการ พูดคุย ที่บีอาร์เอ็นเป็นผู้กำหนดเกมของการ เล่น จนกลายเป็น เบี้ยล่าง ยิ่งคุยนานยิ่งเสียเปรียบ และฝ่าย ทหาร ในพื้นที่ถูกกระแสสังคมต้อนให้ จนมุม ไม่สามารถใช้การ ปิดล้อมตรวจค้น ต่อ เป้าหมาย ที่เป็น กองกำลังติดอาวุธ อย่างได้ผล  

โดยปล่อยให้กองกำลังของบีอาร์เอ็นขยายพื้นที่ แนวชายแดน ไทย-มาเลเซีย เป็น หมู่บ้าน ที่ถูก จัดตั้ง ขึ้นมาเพื่อเป็น ที่มั่น ของกองกำลังติดอาวุธ เพื่อการปฏิบัติการก่อการร้ายต่อพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งความเคลื่อนไหวเหล่านี้ การข่าว ของ กอ.รมน.ภาค 4 รวมทั้งบรรดาหน่วยข่าวกรองที่มีอยู่ของประเทศไทยไม่ได้ให้ความสำคัญ และอาจจะรู้ แต่ ปิดบังอำพราง ข้อเท็จจริง เพราะรู้ว่า นาย ทั้งใน ส่วนกลาง และใน พื้นที่ ไม่ปลื้ม ไม่ต้องการฟังเรื่องจริงที่เป็นปฏิบัติการ และเป็นแผนงานของบีอาร์เอ็น 

ถ้าการ พูดคุย เป็น กับดัก ของบีอาร์เอ็น และการใช้กำลัง ทหาร ในพื้นที่ต่อกองกำลังติดอาวุธของ กอ.รมน.ภาค 4 ส่วนหน้า ก็ขับเคลื่อนยากขึ้น เพราะติดกับดักของความ รุนแรง ที่มี กลุ่มสิทธิมนุษยชน และภาคประชาสังคมเป็น ขวากหนาม สำคัญ ถามว่าการกำหนดให้ปี 2570 เป็นปีแห่งการ ยุติ ปัญหา ไฟใต้ อย่างถาวร ตามที่ พล..ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรีฝ่ายความมั่นคงประกาศไว้ ไม่อาจเป็นไปได้อย่างเด็ดขาด 

การดับ ไฟใต้ ได้สำเร็จ จึงอยู่ที่ต้อง กดดัน ขอความร่วมมือกับ มาเลเซีย ไม่ใช่ในเรื่องของการเป็นผู้อำนวยความสะดวกในการ พูดคุย แต่ต้อง บังคับ ให้บีอาร์เอ็น ยุติ การปฏิบัติการทาง ทหาร อย่างเด็ดขาด เพื่อลดความสูญเสียและความรุนแรงทั้ง 2 ฝ่าย ก่อนที่จะ ขับเคลื่อน การ พูดคุย ที่ต้อง ออกแบบ มาเพื่อการ พูดคุย แบบ พหุวัฒนธรรม ของการอยู่ร่วมกัน โดยที่ บีอาร์เอ็น ต้องไม่มี ธง ของการ พูดคุย ด้วย เงื่อนไข ของการ แบ่งแยกดินแดน หรือเป็น เขตปกครองตนเอง ซึ่งขัดกับ รัฐธรรมนูญ การปกครองของไทย และเป็นเรื่องที่เป็นไปไม่ได้ 

ที่สำคัญ ปัญหาเฉพาะหน้าของ กอ.รมน.ภาค 4 ส่วนหน้า คือการ รับมือ กับการก่อการร้ายของ กองกำลังติดอาวุธ ในเดือน รอมฎอน ที่กำลังจะใกล้เข้ามาแล้ว ซึ่งจากข้อมูลของ นักการข่าว ที่พบความเคลื่อนไหวของกองกำลังติดอาวุธ และ แนวร่วม ฝ่าย การเมือง ของบีอาร์เอ็น และจากการ ประมวลสถานการณ์ พบว่ากองกำลังของบีอาร์เอ็นมีการวางแผนก่อเหตุร้ายในเดือด รอมฎอน ครั้งใหญ่

ซึ่งครั้งนี้จะมี เงื่อนไข ของประชาชนในพื้นที่ ซึ่งไม่พอใจ และ ต่อต้าน การประกาศ ปิดมัสยิด ในเดือน รอมฎอน เพื่อสกัดการแพร่ระบาดของ โควิด-19 และถ้า รับมือ ไม่ดี จะเกิดสถานการณ์ ลิงแก้แห ที่นำพาไปสู่ความสูญเสียในเดือน รอมฎอน อีกครั้ง.         

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ก้าวต่อไป ‘รทสช.’ ปี 2568 ติดสปีดผลงาน-โกยคะแนน

ต้องฝ่าฟันมรสุมกันระลอกใหญ่ส่งท้ายปี 2567 สำหรับ พรรครวมไทยสร้างชาติ (รทสช.) จากพรรคน้องใหม่จนถึงปัจจุบันสู่ปีที่ 3 แล้ว ภายใต้การนำของ “พี่ตุ๋ย” พีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ในฐานะหัวหน้าพรรค และ “ขิง” เอกนัฏ พร้อมพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ในฐานะเลขาธิการพรรค ซึ่งพรรคได้โควตาร่วมทัพรัฐบาลเพื่อไทย และได้กระทรวงที่หมายปองมาครอบครองสมใจ

การเมืองไทยปี 68 เข้มข้น-ขับเคี่ยว-ร้อนแรง ซักฟอกมี.ค.-ปรับครม.กลางปี

การเมืองไทยไม่ว่าปีไหนๆ ก็มีประเด็นร้อนเกิดขึ้นได้ตลอด บางเรื่องเกิดขึ้นตามปฏิทินการเมือง แต่บางประเด็นเป็นความร้อนแรงที่แทรกขึ้นมาแบบไม่มีใครคาดคิดมาก่อน

'ปชน.'ถอย'ม.112'แลกอุดมการณ์ เพิ่มคะแนนนิยม'เท้ง'เฉือน'อิ๊งค์'

ผลสำรวจความเห็นของประชาชน 'นิด้าโพล' สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) หัวข้อ ความนิยมทางการเมือง ในไตรมาส 4 ปลายปี 2567 ให้ผลที่น่าสนใจ เมื่อ 'เท้ง’- นายณัฐพงษ์ เรืองปัญญาวุฒิ หัวหน้าพรรคประชาชน (ปชน.) เป็นนักการเมืองที่ประชาชนสนับสนุนให้เป็นนายกรัฐมนตรีมากที่สุดอันดับ 1

ปี67‘อดีตสว.’ขยับสะเทือนถึงรัฐบาล ถอดถอน‘เศรษฐา’ที่มาของหลายเรื่อง

การเมืองรอบปี 2567 เหตุการณ์ที่ใหญ่ที่สุดต้องยกให้กับศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยให้ “เศรษฐา ทวีสิน” พ้นจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ทำให้ “แพทองธาร ชินวัตร” กลายเป็นนายกฯ หญิงคนที่ 2 ของประเทศไทย และทำให้หลายสิ่งหลายอย่างเกิดขึ้นตามมา วันนี้จึงขอบันทึกเรื่องราวนี้ไว้ ยกให้เป็นเหตุการณ์แห่งปี

สวมบท'อินฟลูอาเซียน' จุดเสี่ยงใช้ประเทศเดิมพัน?

ยืนยันชัดเจนจาก นายอันวาร์ อิบราฮิม นายกรัฐมนตรีมาเลเซีย หลังโพสต์เฟซบุ๊กส่วนตัว Anwar Ibrahim พร้อมรูปภาพคู่กับ ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี