ดีลล้มกม.ลูก บัตร 2 ใบ วนลูปเก่า โหวตแก้รธน.

การแก้ไขรัฐธรรมนูญคืบหน้ามาเป็นระยะ ภายหลังมีการแก้ไขกฎหมายแม่อย่างรัฐธรรมนูญให้เป็นการเลือกตั้งแบบบัตรเลือกตั้ง 2 ใบ เลือกคน 1 ใบ เลือกพรรคอีก 1 ใบ

วันนี้ และวันที่ 25 ก.พ. รัฐสภาจึงมีประชุมร่วมกันระหว่าง ส.ส. ส.ว. เพื่อพิจารณากฎหมายลูก โดยมีฝ่ายต่างๆ เสนอแก้ไขร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จำนวน 4 ฉบับ ประกอบด้วย 1.ในนามคณะรัฐมนตรี (ครม.) 2.ในนามพรรคร่วมรัฐบาล นำโดยนายวิเชียร ชวลิต ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคพลังประชารัฐ พร้อมคณะ 3.พรรคเพื่อไทย โดย นพ.ชลน่าน ศรีแก้ว ส.ส.น่าน และหัวหน้าพรรค พร้อมคณะ 4.นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ หัวหน้าพรรคก้าวไกล และคณะ

ส่วนร่าง พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง (ฉบับที่...) พ.ศ.... จำนวน 6 ฉบับ ได้แก่ 1.ในนาม ครม. 2.พรรคร่วมรัฐบาล นำโดยนายวิเชียร ชวลิต ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคพลังประชารัฐ พร้อมคณะ 3.พรรคเพื่อไทย โดย นพ.ชลน่าน ศรีแก้ว ส.ส.น่าน และหัวหน้าพรรค พร้อมคณะ 4.นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ หัวหน้าพรรคก้าวไกล และคณะรัฐมนตรี 5.นายอนันต์ ผลอำนวย ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคพลังประชารัฐ และ 6.พ.ต.อ.ทวี สอดส่อง ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาชาติ

โดยจนถึงนาทีนี้ก็ไม่มีหลักประกันว่าร่างกฎหมายลูกจะไปได้ตลอดรอดฝั่ง เนื่องจากยังมีข่าวลือสะพัดเป็นระยะว่าจะมีปฏิบัติการคว่ำกฎหมายลูก เพื่อให้การเลือกตั้งกลับไปใช้บัตรเลือกตั้งใบเดียว ซึ่งเมื่อวันที่ 23 ก.พ. มีรายงานข่าวว่า ส.ว.บางส่วนจะล้มกฎหมายลูกทั้งหมด

ทว่า ก็ได้รับคำยืนยันจากดาว ส.ว. อาทิ เสรี สุวรรณภานนท์ วันชัย สอนศิริ โดยเฉพาะ พล.อ.เลิศรัตน์ รัตนวานิช ยืนยันหมื่นเปอร์เซ็นต์ ส.ว.ไม่คว่ำร่างกฎหมายลูกทั้งหมด มีแต่ปัญหาว่าจะพิจารณารับหลักการร่าง พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญฉบับใดบ้างเท่านั้นเอง

แต่ที่แน่นอน ส.ว.ส่วนใหญ่ปิดประตูตายกับร่าง พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง ของพรรคเพื่อไทย พรรคก้าวไกล และพรรคประชาชาติ เนื่องจากไม่ไว้วางใจ กลัวจะมีคนนอกเข้าครอบงำพรรคการเมือง แม้ “ชูศักดิ์ ศิรินิล” ประธานคณะทำงานด้านการเมือง รัฐธรรมนูญ ความเป็นประชาธิปไตยพรรคเพื่อไทย ออกมาชี้แจงว่าเป็นเพียงให้คำปรึกษาแล้วก็ตาม

หันซ้ายหันขวาเช็กเสียงที่ประชุมร่วมรัฐสภา เกณฑ์โหวตรับหลักการร่าง พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญ ใช้เสียงเกินกึ่งหนึ่งก็เท่ากับว่าที่ประชุมรับไว้พิจารณาต่อในชั้นกรรมาธิการ โดยขณะนี้เสียงทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของ 2 สภา คือ 722 เสียง ใช้คะแนนกึ่งหนึ่ง คือ 362 เสียง ทั้งนี้ ส.ส.มีเสียง 474 เสียง และ ส.ว. 248 เสียง

นับจากนี้ต้องติดตามใกล้ชิดจะมีพรรคการเมือง และ ส.ว.ฝ่ายที่ต้องการบัตรใบเดียวหาแนวร่วมได้มากน้อยเพียงใด หรือไม่ ถ้าสำเร็จสังคมก็คงได้เห็นมีการเปิดประชุมร่วมรัฐสภา พิจารณาแก้ไขรัฐธรรมนูญ กลับไปใช้บัตรเลือกตั้งใบเดียวอีกคราวหนึ่ง

อย่างไรก็ตาม หากอ่านข่าวย้อนหลังไปเมื่อเดือน ก.ย.64 ที่มีการโหวตแก้รัฐธรรมนูญวาระ 3 พบว่าท่าทีพรรคภูมิใจไทย พรรคขนาดเล็กต่างๆ และ ส.ว.บางฝ่ายมีท่าทีอยากได้บัตรใบเดียวมากกว่า แต่ที่สุดก็คว้าน้ำเหลวสู้เสียงของฝ่ายที่ต้องการอยากได้บัตร 2 ใบไม่ได้

ล่าสุด ถาม “ศักดิ์สยาม ชิดชอบ” รมว.คมนาคม และเลขาธิการพรรคภูมิใจไทย ว่า ส.ว.บางส่วนจะโหวตคว่ำร่างกฎหมายลูกฉบับใดฉบับหนึ่งจะเป็นอย่างไร เจ้าตัวก็ยังตอบ "ภูมิใจไทยอย่างไรก็ได้"

วันนี้ก็เหมือนกลับมาวนลูปเก่าเหมือนตอนโหวตผ่าน หรือไม่ผ่านแก้ รธน.วาระ 3 สรุปเกมนี้ต้องรอลุ้นจนนาทีสุดท้ายก่อนโหวต ว่าดีลล้มบัตรเลือกตั้ง 2 ใบจะสำเร็จหรือไม่!!!.

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ก้าวต่อไป ‘รทสช.’ ปี 2568 ติดสปีดผลงาน-โกยคะแนน

ต้องฝ่าฟันมรสุมกันระลอกใหญ่ส่งท้ายปี 2567 สำหรับ พรรครวมไทยสร้างชาติ (รทสช.) จากพรรคน้องใหม่จนถึงปัจจุบันสู่ปีที่ 3 แล้ว ภายใต้การนำของ “พี่ตุ๋ย” พีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ในฐานะหัวหน้าพรรค และ “ขิง” เอกนัฏ พร้อมพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ในฐานะเลขาธิการพรรค ซึ่งพรรคได้โควตาร่วมทัพรัฐบาลเพื่อไทย และได้กระทรวงที่หมายปองมาครอบครองสมใจ

การเมืองไทยปี 68 เข้มข้น-ขับเคี่ยว-ร้อนแรง ซักฟอกมี.ค.-ปรับครม.กลางปี

การเมืองไทยไม่ว่าปีไหนๆ ก็มีประเด็นร้อนเกิดขึ้นได้ตลอด บางเรื่องเกิดขึ้นตามปฏิทินการเมือง แต่บางประเด็นเป็นความร้อนแรงที่แทรกขึ้นมาแบบไม่มีใครคาดคิดมาก่อน

'ปชน.'ถอย'ม.112'แลกอุดมการณ์ เพิ่มคะแนนนิยม'เท้ง'เฉือน'อิ๊งค์'

ผลสำรวจความเห็นของประชาชน 'นิด้าโพล' สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) หัวข้อ ความนิยมทางการเมือง ในไตรมาส 4 ปลายปี 2567 ให้ผลที่น่าสนใจ เมื่อ 'เท้ง’- นายณัฐพงษ์ เรืองปัญญาวุฒิ หัวหน้าพรรคประชาชน (ปชน.) เป็นนักการเมืองที่ประชาชนสนับสนุนให้เป็นนายกรัฐมนตรีมากที่สุดอันดับ 1

'ชูศักดิ์' ยันเป็นอำนาจหน้าที่ของสภาฯ แก้รธน. มาตรา 256 ใครจะร้องก็ว่ากันไป

นายชูศักดิ์ ศิรินิล รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์ถึงถึงการแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 256 ว่า นายวันมูฮะหมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร จะใช้อำนาจสั่งบรรจุร่างจะแก้ไขมาตรา 256 ที่เสนอโดยพรรคประชาชน (ปชน.)

ปี67‘อดีตสว.’ขยับสะเทือนถึงรัฐบาล ถอดถอน‘เศรษฐา’ที่มาของหลายเรื่อง

การเมืองรอบปี 2567 เหตุการณ์ที่ใหญ่ที่สุดต้องยกให้กับศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยให้ “เศรษฐา ทวีสิน” พ้นจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ทำให้ “แพทองธาร ชินวัตร” กลายเป็นนายกฯ หญิงคนที่ 2 ของประเทศไทย และทำให้หลายสิ่งหลายอย่างเกิดขึ้นตามมา วันนี้จึงขอบันทึกเรื่องราวนี้ไว้ ยกให้เป็นเหตุการณ์แห่งปี