วันที่ 24-25 ก.พ. มีการประชุมร่วมรัฐสภา สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) และสมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) เพื่อพิจารณาร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญฉบับแก้ไขเพิ่มเติม พ.ร.ป.การเลือกตั้ง ส.ส.และ พ.ร.ป.พรรคการเมือง จำนวน 10 ร่าง แยกเป็น
1.ร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ฉบับที่...) พ.ศ.... (คณะรัฐมนตรีเป็นผู้เสนอ) 2.ร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง (ฉบับที่...) พ.ศ.... (คณะรัฐมนตรีเป็นผู้เสนอ) 3.ร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง (ฉบับที่...) พ.ศ.... (พ.ต.อ.ทวี สอดส่อง กับคณะ เป็นผู้เสนอ) 4.ร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ฉบับที่...) พ.ศ.... (นายชลน่าน ศรีแก้ว กับคณะ เป็นผู้เสนอ) 5.ร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง (ฉบับที่...) พ.ศ.... (นายชลน่าน ศรีแก้ว กับคณะ เป็นผู้เสนอ)
6.ร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ฉบับที่...) พ.ศ.... (นายวิเชียร ชวลิต กับคณะ เป็นผู้เสนอ) 7.ร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง (ฉบับที่...) พ.ศ.... (นายวิเชียร ชวลิต กับคณะ เป็นผู้เสนอ) 8.ร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ฉบับที่...) พ.ศ.... (นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ กับคณะ เป็นผู้เสนอ) 9.ร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง (ฉบับที่...) พ.ศ.... (นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ กับคณะ เป็นผู้เสนอ) 10.ร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง (ฉบับที่...) พ.ศ.... (นายอนันต์ ผลอำนวย กับคณะ เป็นผู้เสนอ)
ที่น่าสนใจกำลังตกเป็นประเด็นวิพากษ์วิจารณ์เนื้อหาสาระร่างของ พรรคเพื่อไทย เสนอแก้ไขมาตรา 28 และมาตรา 29 ที่มีการเสนอให้บุคคลอื่นให้คำปรึกษา แนะนำ เสนอแนะ หรือให้ข้อมูลแก่พรรคการเมือง เพื่อประกอบการตัดสินใจในการดำเนินกิจกรรมของพรรคการเมืองได้
ทำให้เกิดกระแสวิพากษ์วิจารณ์ พรรคเพื่อไทยต้องการเปิดทางให้ บุคคลภายนอก ที่โยงไปถึง นายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี สามารถเข้ามา "ให้คำปรึกษา-เสนอแนะ-แนะนำ" โดยที่ไม่ได้เกี่ยวข้องกับ การควบคุมสั่งการกิจการภายในพรรค ใช่หรือไม่ นพ.ชลน่าน ศรีแก้ว หัวหน้าพรรคเพื่อไทย และผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร ออกมาตอบข้อสงสัยอย่างน่าสนใจ
“พรรคเพื่อไทยถูกกล่าวหาว่าสอดไส้กระทำเพื่อคนใดคนหนึ่ง ต้องขอเรียนว่าเจตนารมณ์ของเรา การที่บัญญัติไว้อย่างนี้ในวรรค 1 เราไม่แตะเลย พรรคการเมืองยินยอมให้บุคคลภายนอกที่ไม่ใช่สมาชิกพรรคการเมืองไปชี้นำครอบงำ ครอบคลุมกิจกรรมของพรรคการเมือง โดยทำให้พรรคการเมืองไม่เป็นอิสระ หรือสมาชิกไม่เป็นอิสระเราคงไว้ทุกอย่าง แต่ขยายความในวรรค 2 ว่ากิจกรรมในวรรค 1 ไม่ได้ครอบคลุมถึงการชี้นำ ชี้แนะให้คำปรึกษาจากบุคคลภายนอกที่เป็นใครก็ได้ที่เป็นประโยชน์กับพรรคการเมืองนั้น
เราบอกว่าไม่ควรจะครอบคลุมเท่านั้นเอง โดยเขียนให้ชัดขึ้นเพื่อป้องกันการตีความ เช่น ถ้ามีนักวิชาการคนหนึ่งที่เราเชิญมา แล้วเขาชี้นำเราว่าควรทำอย่างนั้นอย่างนี้ เรานำไปพิจารณาประกอบจัดทำเป็นนโยบาย บุคคลเหล่านี้หากถูกนำไปตีความว่าเป็นบุคคลภายนอกและถูกชี้นำโดยเราขาดอิสรภาพก็ถูกยุบพรรคทันที ซึ่งไม่เป็นธรรมกับการพัฒนาด้านวิชาการ การเมืองและพรรคการเมืองจะถูกกลั่นแกล้งได้ ดังนั้นต้องการแก้ปัญหาไม่อยากให้พรรคการเมืองถูกกลั่นแกล้ง”
ว่ากันว่า ในมุมเพื่อไทยที่วาดฝัน วางเป้าหมายการเลือกตั้งครั้งหน้า Land slide หรือชนะเลือกตั้งอย่างถล่มทลาย ที่มองว่ารัฐบาลประยุทธ์อยู่มา 7-8 ปี ทำให้ประเทศถอยหลัง ผู้คนเบื่อหน่าย ประกอบกับระบบบัตรเลือกตั้ง 2 ใบ ที่เอื้ออำนวยการคำนวณ ส.ส.บัญชีรายชื่อที่เป็นวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ ใช้หลักเดียวกันในคิดคำนวณ
ดังนั้นในส่วนที่เป็นอุปสรรค ข้อจำกัด ประเด็นเล็กๆ น้อยๆ ที่อาจนำไปสู่ข้อกวนใจทางกฎหมาย จึงต้องแก้ไข ไม่เปิดช่องให้ถูกตีความนำไปสู่การ ร้องเรียน อันเป็นปัญหากวนใจ ในอนาคตได้
ฝันของเพื่อไทยอาจจะไปไม่ถึงฝั่งฝัน เนื่องจากการที่กฎหมายลูกในวาระหนึ่งจะผ่านสภาไปได้ ต้องอาศัยเสียง ส.ส.และ ส.ว.โหวตร่วมกันให้ได้เกินกึ่งหนึ่ง เมื่อไปฟังเสียงปีก ส.ว.กับ ส.ส.ฝ่ายรัฐบาล
ในวันที่ 23 ก.พ. คณะ ส.ว.กลุ่มสายตรงที่มีผลต่อการลงคะแนนเสียง นัดหารือเนื้อหาสาระร่างกฎหมายลูก พ.ร.ป.การเลือกตั้ง ส.ส.และ พ.ร.ป.พรรคการเมือง เปรียบเทียบเนื้อหาทั้ง 10 ฉบับว่า ร่างของใครส่งเสริมประชาธิปไตย ทำเพื่อประชาชน หรือเนื้อหาในร่างฉบับใดเอื้อประโยชน์ต่อผู้หนึ่งผู้ใดเป็นพิเศษ
ก่อนที่จะออกมติเป็นข้อตกลงเบื้องต้น นำไปสู่การโหวตครั้งสำคัญวาระ 1 วันที่ 25 ก.พ.
ขณะที่ นายไพบูลย์ นิติตะวัน ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคพลังประชารัฐ ระบุว่า "พรรคสนับสนุนร่าง พ.ร.ป.ว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส.ของพรรคร่วมรัฐบาล และร่างของคณะกรรมการการเลือกตั้งที่ยื่นโดยคณะรัฐมนตรี ส่วน พ.ร.ป.ว่าด้วยพรรคการเมือง ทางพรรคสนับสนุนร่างฉบับของพรรคร่วมรัฐบาล ร่างของ ครม.และสนับสนุนฉบับที่เสนอโดยนายอนันต์ ผลอำนวย ส.ส.กำแพงเพชร พรรค พปชร."
ขณะเดียวกัน หัวหน้าเพื่อไทยทำใจ และบอกอย่างตรงไปตรงมาต่อการลงมติของ ส.ส.และ ส.ว.ที่ไม่น่าจะฝ่าด่านไปได้ และคงจะจอดป้ายตั้งแต่ วาระรับหลักวาระ 1 ในวันลงมติวันที่ 25 ก.พ.
ว่ากันว่า ในเรื่องนี้เพื่อไทยมองออกมาในหลายมิติ กลุ่มฝ่ายบ้านใหญ่ คนใกล้ชิด อยากจะทำเพื่อเอาใจนาย ขณะที่อีกกลุ่มแม้เสียงไม่ดัง แต่ก็แอบลุ้นในใจ ไม่ผ่านก็ดีแล้ว เอาไปทำอะไรที่เป็น แก่นสาร ดีกว่ามาสนใจกระพี้อย่างนี้.
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ก้าวต่อไป ‘รทสช.’ ปี 2568 ติดสปีดผลงาน-โกยคะแนน
ต้องฝ่าฟันมรสุมกันระลอกใหญ่ส่งท้ายปี 2567 สำหรับ พรรครวมไทยสร้างชาติ (รทสช.) จากพรรคน้องใหม่จนถึงปัจจุบันสู่ปีที่ 3 แล้ว ภายใต้การนำของ “พี่ตุ๋ย” พีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ในฐานะหัวหน้าพรรค และ “ขิง” เอกนัฏ พร้อมพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ในฐานะเลขาธิการพรรค ซึ่งพรรคได้โควตาร่วมทัพรัฐบาลเพื่อไทย และได้กระทรวงที่หมายปองมาครอบครองสมใจ
'พท.' เดินหน้าดันร่างแก้ รธน. ไม่แตะหมวดพระมหากษัตริย์
'วิสุทธิ์' เผย 7 ม.ค.นี้ เตรียมขอมติ 'สส.พท.' ชงร่างแก้ รธน. ย้ำสาระสำคัญ ไม่แก้หมวด1-2 ประเมินหากทำแบบสุดโต่ง อาจเกิดขัดแย้งรอบใหม่
การเมืองไทยปี 68 เข้มข้น-ขับเคี่ยว-ร้อนแรง ซักฟอกมี.ค.-ปรับครม.กลางปี
การเมืองไทยไม่ว่าปีไหนๆ ก็มีประเด็นร้อนเกิดขึ้นได้ตลอด บางเรื่องเกิดขึ้นตามปฏิทินการเมือง แต่บางประเด็นเป็นความร้อนแรงที่แทรกขึ้นมาแบบไม่มีใครคาดคิดมาก่อน
'ปชน.'ถอย'ม.112'แลกอุดมการณ์ เพิ่มคะแนนนิยม'เท้ง'เฉือน'อิ๊งค์'
ผลสำรวจความเห็นของประชาชน 'นิด้าโพล' สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) หัวข้อ ความนิยมทางการเมือง ในไตรมาส 4 ปลายปี 2567 ให้ผลที่น่าสนใจ เมื่อ 'เท้ง’- นายณัฐพงษ์ เรืองปัญญาวุฒิ หัวหน้าพรรคประชาชน (ปชน.) เป็นนักการเมืองที่ประชาชนสนับสนุนให้เป็นนายกรัฐมนตรีมากที่สุดอันดับ 1
ปี67‘อดีตสว.’ขยับสะเทือนถึงรัฐบาล ถอดถอน‘เศรษฐา’ที่มาของหลายเรื่อง
การเมืองรอบปี 2567 เหตุการณ์ที่ใหญ่ที่สุดต้องยกให้กับศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยให้ “เศรษฐา ทวีสิน” พ้นจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ทำให้ “แพทองธาร ชินวัตร” กลายเป็นนายกฯ หญิงคนที่ 2 ของประเทศไทย และทำให้หลายสิ่งหลายอย่างเกิดขึ้นตามมา วันนี้จึงขอบันทึกเรื่องราวนี้ไว้ ยกให้เป็นเหตุการณ์แห่งปี
‘ทักษิณ’ไม่กล้าเขี่ย‘ภท.-รทสช.’
เป็นความสัมพันธ์ที่แม้แต่คนภายนอกยังมองออกว่ากระท่อนกระแท่น สำหรับความสัมพันธ์ของพรรคร่วมรัฐบาล น.ส.แพทองธาร ชินวัตร