โควิดควรปรับเป็น 'โรคประจำถิ่น' ได้หรือไม่

สถานการณ์โควิด-19 ในประเทศไทยเริ่มกลับมาพุ่งสูงขึ้นอีกครั้ง นับตั้งแต่มีการระบาดในระลอกที่ 5 จุดสูงสุดของการติดเชื้อสูงสุดอยู่ที่ 1.6 หมื่นคน ทำให้หลายคนมองว่าจะกลับมาระบาดสูงอีกครั้งเหมือนกับช่วงที่ไทยพบการระบาดจากระลอกอัลฟา (อังกฤษ ) เดลตา (อินเดีย) หรือไม่

อย่างที่ทราบกันว่าการระบาดของสายพันธุ์ โอมิครอน เป็นไวรัสที่มีความรุนแรงน้อยกว่า เดลตา แต่ทว่าเชื้อตัวนี้ยังคงเป็นไวรัสที่อันตรายในแง่ของการเพิ่มจำนวนผู้ติดเชื้อ ซึ่งกระทรวงสาธารณสุขได้ทำฉากทัศน์การคาดการณ์จำนวนผู้ติดเชื้อในอนาคตไปแล้ว

โดย นพ.เฉวตสรร นามวาท ผู้อำนวยการกองควบคุมโรคและภัยสุขภาพในภาวะฉุกเฉิน กรมควบคุมโรค ได้ระบุมาก่อนหน้านี้แล้วว่า แม้ตัวเลขติดเชื้อจะขยับขึ้นสูง แต่เป็นไปตามที่คาดการณ์ไว้ และมีมาตรการรองรับอยู่แล้ว โดยในช่วงไตรมาสที่ 1 ปี 2565 กระทรวงสาธารณสุขเคยคาดการณ์สถานการณ์เลวร้ายที่สุดเอาไว้ว่า อาจติดเชื้อ 30,000 รายต่อวัน ในช่วงแรกสถานการณ์มีแนวโน้มเพิ่มสูง แต่ด้วยการเคร่งครัดมาตรการ VUCA (Vaccination-Universal Prevention-Covid free setting-ATK) ทำให้ยอดติดเชื้อของไทยกลับมาอยู่ในระดับต่ำสุด

ดังนั้นแม้ยอดติดเชื้อจะอยู่ระดับหมื่นรายต่อวัน ก็ยังถือว่าเป็นไปตามคาดการณ์ไว้แต่ต้น ไม่ได้สูงกว่าที่คาดการณ์แต่อย่างใด

สำหรับยอดผู้เสียชีวิตยังมาจากกลุ่มเสี่ยงหรือกลุ่มที่ไม่ได้รับวัคซีน หรือรับวัคซีนมานานแล้ว จึงอยากเชิญชวนประชาชนเข้าฉีดวัคซีนเข็มที่ 3 เพื่อกระตุ้นภูมิคุ้มกัน และเข็ม 4

อย่างไรก็ตาม ภายหลังจากเป้าหมายของกระทรวงสาธารณสุข ภายหลังคณะกรรมการโรคติดต่อแห่งชาติมีมติเห็นชอบ และคาดกันว่าโอมิครอน สายพันธุ์ย่อย BA.2 จะเป็นตัวปิดเกมการระบาดของโควิดอันยาวนานมากว่า 2 ปี แต่ฝั่งผู้ไม่เห็นด้วยเกรงว่าโอมิครอนจะกลายพันธุ์เพิ่มขึ้นมากกว่า

การที่โควิดจะเป็น โรคประจำถิ่น ต้องขึ้นอยู่กับหลักเกณฑ์ที่ว่า 1.ผู้ป่วยโควิดรายใหม่ ต้องไม่เกิน 10,000 คนต่อวัน 2.อัตราป่วยเสียชีวิต ไม่เกิน 1 ต่อ 1,000 คน 3.การเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล น้อยกว่า 10% และ 4.ประชาชนมีภูมิต้านทานเพียงพอ โดยกลุ่มเสี่ยงสูงต้องได้วัคซีนอย่างน้อย 2 โดส มากกว่า 80%

แต่ นพ.เฉลิมชัย บุญยะลีพรรณ รองประธานกรรมาธิการการสาธารณสุข วุฒิสภา มองในสถานการณ์ที่เลวร้ายกว่านั้น โดยได้โพสต์ blockdit ส่วนตัว "ร้อยแปดพันเก้ากับหมอเฉลิมชัย" โดยมีข้อความว่า 12 ก.พ.2565 ติดเชื้อเพิ่ม 16,330 ราย เป็นสถิติสูงสุดต่อเนื่องสำหรับโควิดระลอกที่ 4 โดยสูงกว่า 10,000 ราย เป็นวันที่ 8 ต่อเนื่องกัน โดยโควิด-19 ระบาดระลอกที่ 4 หรือระลอกใหม่ (ม.ค.2565) จากไวรัสโอมิครอน สำหรับในบางประเทศของซีกโลกตะวันตก ซึ่งเกิดการระบาดก่อนประเทศไทย ได้ผ่านจุดสูงสุดหรือพีก โดยจำนวนผู้ติดเชื้อพุ่งขึ้นสูงเร็วมากเป็นประวัติการณ์ และก็ลงค่อนข้างเร็ว เช่น ในสหรัฐอเมริกา เป็นต้น

สำหรับประเทศไทยยังอยู่ในช่วงขาขึ้น และยังไม่ถึงจุดสูงสุด จึงจำเป็นต้องเฝ้าติดตามด้วยความระมัดระวังกันต่อไป ลักษณะเด่นของการระบาดระลอกนี้ คือการเพิ่มขึ้นของผู้ติดเชื้อด้วยความชันหรืออัตราที่เร็วกว่าเดลตา และมีโอกาสที่จุดสูงสุดจะมากกว่าของเดลตาได้ด้วย ซึ่งของเดลตาในรอบที่แล้วคือ มีผู้ติดเชื้อสูงสุด 23,418 ราย เมื่อ 13 ส.ค.2565 ขณะนี้จำนวนผู้ติดเชื้อห่างจากจุดสูงสุดเพียง 7,088 ราย จึงมีโอกาสเป็นไปได้สูงที่จำนวนผู้ติดเชื้อของโอมิครอนจะทำลายสถิติของเดลตา และคาดว่าน่าจะเกิดขึ้นก่อนสิ้นเดือน ก.พ.นี้

หลังจำนวนผู้ติดเชื้อโควิด-19 สายพันธุ์โอมิครอนพุ่งสูงเกินกว่า 1 หมื่นคนต่อวันต่อเนื่องเป็นระยะเวลาหลายวัน และยังไม่มีทีท่าว่าจะลดลง รวมถึงตัวเลขผู้ติดเชื้อที่มีอาการหนัก ทำให้ล่าสุดกระทรวงสาธารณสุขต้องเร่งปรับแผนเพื่อเตรียมพร้อมรองรับสถานการณ์

กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข โดย นพ.ธเรศ กรัษนัยรวิวงค์ อธิบดีกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ ได้ทำหนังสือด่วนที่สุด ถึงผู้รับอนุญาตให้ประกอบกิจการสถานพยาบาล ทั้งในเขตกรุงเทพมหานคร ปริมณฑลและทั่วประเทศ เพื่อบูรณาการเตรียมความพร้อมในการรับมือจำนวนผู้ติดเชื้อที่เพิ่มมากขึ้น โดยให้ปฏิบัติตามนโยบาย HI-CI-ATK first

โดยมีใจความว่า จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในประเทศไทย ซึ่งมีรายงานผู้ป่วยสะสมเพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่องในกลุ่มต่างๆ ทั้งในเขตกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่างๆ ซึ่งจำเป็นต้องอาศัยการบูรณาการและจัดสรรทรัพยากรอย่างเหมาะสมในการบริหารจัดการการแพร่ระบาดจากเครือข่ายภาคเอกชน เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด และให้การดำเนินงานควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพนั้น

กรมสนับสนุนบริการสุขภาพจึงขอความร่วมมือให้ผู้รับอนุญาตให้ประกอบกิจการสถานพยาบาลดำเนินการดังต่อไปนี้ 1.ดำเนินการการคัดกรองตรวจหาเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในผู้ที่มีความเสี่ยงให้ใช้ชุดตรวจ (ATK) และใช้การตรวจ Real Time RT-PCR เฉพาะในกรณีที่จำเป็นเท่านั้น 2.ผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในระดับสีเขียว ให้ดำเนินการแยกกักตัวและรักษาที่บ้าน Home Isolation หรือ Community Isolation

เมื่อดูอีกฟากในประเทศแถบยุโรป มีผู้ติดเชื้อรายใหม่วันละกว่าแสนราย ยกตัวอย่างสเปน ติดเชื้อวันละ 2-3 หมื่นราย แต่ประกาศจะเริ่มผ่อนคลายมาตรการอย่างเต็มที่ ตามแนวทางหลายประเทศทั่วโลกกำลังจะปรับโควิดเป็นโรคประจำถิ่น ขณะที่ บูรไน เป็นชาติแรกของโลก ประกาศให้โควิดเป็นโรคประจำถิ่น ตั้งแต่ 15 ธ.ค.2564 แต่การรักษาพยาบาลและตรวจหาผู้ติดเชื้อยังคงดำเนินการต่อไป

ส่วน องค์การอนามัยโลก ยืนยันการระบาดใหญ่ของโควิดยังไม่จบสิ้น และเร็วเกินไปที่จะบอกว่าวิกฤตใกล้จะถึงจุดจบ เพราะไม่ว่าจะอยู่ที่ไหน โควิดจะยังไม่ไปจากเรา หากโอมิครอนยังคงกลายพันธุ์อย่างรวดเร็ว

ทำให้ขณะนี้ยังไม่ถึงจุดที่จะบอกว่าโควิดเป็นโรคประจำถิ่น อีกทั้งโอมิครอนสายพันธุ์ย่อย BA.2 ติดต่อได้ง่ายกว่าเดิม และในอีกไม่ช้าจะพบมากขึ้นในหลายประเทศทั่วโลก.

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ไทม์ไลน์เคาะเครื่องบินรบ แง้มเส้นทางเรือดำน้ำเข้าครม.

เป็นช่วงโค้งสุดท้ายก่อนที่จะเข้าสู่ขั้นตอนที่กองทัพอากาศจะคัดเลือกแบบเครื่องบินรบฝูงใหม่ทดแทน เพื่อนำเข้าประจำการแทนเครื่องที่กำลังปลดประจำการ

'อนาคตไกล' ชี้ตัวแปรทำ 'ชาญ' ชนะเลือกตั้งนายกอบจ.ปทุมธานี

“อนาคตไกล” ชี้ตัวแปร ทำให้ชาญ ชนะการเลือกตั้ง นายกอบจ.ปทุมธานี แม้ ปปช.ชี้มูลและศาลประทับรับฟ้อง ก็ไม่ขาดคุณสมบัติสมัครนายกอบจ.

พท.ไม่สิ้นมนตร์ขลังแต่ชนะแค่1.8พัน ปิดตำนาน"บิ๊กแจ๊ส-มีวันนี้เพราะพี่ให้”

เสร็จศึกแล้วสำหรับการเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด หรือ นายกฯ อบจ.ปทุมธานี ที่ล่าสุดผลคะแนนออกมาแล้วเป็นทางการ ผลปรากฏว่า “นายชาญ พวงเพ็ชร์” ที่ลงสมัครในนามพรรคเพื่อไทย มีดีกรีเป็นอดีตนายกฯ อบจ.ปทุมธานี 3 สมัย ได้คะแนนทั้งสิ้น 203,032 คะแนน

เหนื่อยแน่! เพื่อไทย รับต้องปรับยุทธศาสตร์ หลังผลโพลตามหลังก้าวไกล

นายสรวงศ์ เทียนทอง สส.สระแก้ว และเลขาธิการพรรคเพื่อไทย (พท.) ให้สัมภาษณ์ถึงผลนิด้าโพลเปิดผลโพลในไตรมาส 2 ที่ ปรากฏว่านายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ สส.บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล (ก.ก.) และ พรรค