ศึกเลือกตั้งซ่อม เขต 1 จ.ชุมพร เขต 6 จ.สงขลา และเขต 9 หลักสี่-จตุจักร ใน กทม.ผ่านพ้นไปแล้ว ปรากฏว่า พรรคพลังประชารัฐสะกดชัยชนะไม่เป็น แพ้รวดทั้ง 3 สนาม ปัญหาภายใน พลังประชารัฐ การแก่งแย่ง ช่วงชิงอำนาจ แบ่งเป็นก๊กก๊วน ต่อรองแย่งชิงตำแหน่ง ไปจนถึงการยกพลของ 21 ส.ส.ออกจากพรรค
ไม่เพียงแค่พรรคพลังประชารัฐที่ได้รับผลกระทบ แต่ยังส่งผลสะเทือนมาถึงรัฐบาล ประยุทธ์ จันทร์โอชา อีกด้วยว่า ผลการเลือกตั้งที่ออกมาเป็นการส่งสัญญาณ
คนเบื่อหน่าย ไม่เอาประยุทธ์-พลังประชารัฐ?
หันมามองเกมการเมืองในสภา ฝ่ายค้านเข้าชื่อเสนอญัตติอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาลเป็นการทั่วไปแบบไม่ลงมติ ตามรัฐธรรมนูญมาตรา 152 จากผลหารือวิป 3 ฝ่าย วิปฝ่ายค้าน วิปฝ่ายรัฐบาล และตัวแทนคณะรัฐมนตรีเห็นพ้องร่วมกัน กำหนดวันอภิปราย 17-18 ก.พ. เฉลี่ยวันละ 15 ชั่วโมง รวมแล้ว 30 ชั่วโมง ฝ่ายค้านได้เวลา 22 ชั่วโมง ส่วนฝ่ายรัฐบาลได้เวลาชี้แจงอีก 8 ชั่วโมง
แม้วันเวลาจะไม่ได้ดั่งใจฝ่ายค้าน เพราะอยากได้อย่างน้อย 3 วัน เวลาอภิปรายไม่ต่ำกว่า 36 ชั่วโมง เพราะต่างฝ่ายต่างทันเกม ฝ่ายรัฐบาลทันเกมรู้ทันกันเป็นอย่างดี ระยะเวลาที่ฝ่ายค้านเสนอมาตอนแรก ต้องการที่จะขอมาเพื่อให้ต่อรองอยู่แล้ว ส่วนฝ่ายค้านอยากจะได้วันและเวลาให้มากที่สุด เพื่อเป็นเวทีที่จะให้ขุนพลฝ่ายค้านได้ออกจอ ประจานความล้มเหลวของรัฐบาลประยุทธ์ให้ได้มากที่สุด โดยประเด็นที่ฝ่ายค้านพุ่งเป้าอภิปรายแยกเป็น 4 ประเด็น
1.เรื่องวิกฤตเศรษฐกิจ ข้าวของแพงทั้งแผ่นดิน ค่าแรงถูก
2.เรื่องโรคระบาดโควิด-19 ที่ระบาดในคน และโรคอหิวาต์แอฟริกา ในสุกร
3.วิกฤตทางด้านการเมือง ในยุคการเมืองใช้เงินเป็นหลัก Money Politic
4.ความล้มเหลวการบริหารราชการแผ่นดิน ก่อให้เกิดปัญหายาเสพติด การทุจริตคอร์รัปชัน ภาวะฝุ่นพิษ PM 2.5 เรื่องเหมืองทองบริษัท คิงเกตส์ฯ เรื่องปัญหาประมง ประเด็นการค้า การลงทุน
นายสุทิน คลังแสง ประธานวิปฝ่ายค้าน และ ส.ส.มหาสารคาม พรรคเพื่อไทย ย้ำว่า ‘ฝ่ายค้านได้เวลาในการอภิปราย 22 ชั่วโมง ฝ่ายรัฐบาลได้เวลา 8 ชั่วโมง ฝ่ายค้านจะใช้เวลาให้คุ้มค่าเป็นประโยชน์ สร้างสรรค์ เป็นธรรมที่สุด’
เมื่อดูไฮไลต์ทั้ง 4 เรื่องหลัก ยังเป็นปริศนาเครื่องหมายคำถาม ฝ่ายค้านจะขุดคุ้ยปัญหาอะไรมาเล่นงานรัฐบาล ปัญหาราคาเนื้อหมูแพง ที่เคยคาดกันว่าช่วงตรุษจีนราคาจะยิ่งพุ่งขึ้นสูงไปมาก แต่ปรากฏว่าสถานการณ์ทั้งโรคระบาดในสุกรมีทิศทางที่ดีขึ้น ส่วนราคาเนื้อหมูคลี่คลายไปในทิศทางที่ดี ผลจากการประชุมร่วมกันของผู้เลี้ยงสุกรทั่วประเทศ มีมติให้รักษาระดับราคาจำหน่ายสุกรขุนมีชีวิตหน้าฟาร์มเกษตรไว้ที่ไม่เกิน 110 บาทต่อกิโลกรัม ไปจนถึงสิ้นเดือนกุมภาพันธ์ ประกอบกับกระทรวงพาณิชย์เข้มงวด ตรึงราคาสินค้าอุปโภค บริโภค ไม่ให้ปรับราคาขึ้นสูง ที่จะยิ่งเป็นการเพิ่มภาระ ซ้ำเติมประชาชน ไว้ได้ทั้ง 7 หมวด หมวดเครื่องใช้ไฟฟ้า หมวดน้ำอัดลม หมวดบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป หมวดซอสปรุงรส หมวดนมและผลิตภัณฑ์นม หมวดอาหารกระป๋อง และหมวดอาหารสด
เรื่องโควิด ตัวเลขผู้ที่ได้รับวัคซีนครบแล้วสูงถึง 69 เปอร์เซ็นต์ ขณะที่ยารักษา โรงพยาบาล ผู้ป่วย อยู่ในภาวะควบคุมได้ อยู่จนระดับน่าพอใจ ไม่มีปัญหาหนักหน่วงเหมือนช่วงปี 2564
ขณะที่ประเด็นบริษัท คิงส์เกตฯ จากเดิมที่ฝ่ายค้านหวังจะเอาผลคำตัดสินของคณะอนุญาโตตุลาการ ในวันที่ 31 ม.ค. มาตามถล่มซ้ำรัฐบาล แต่กลับกลายเป็นว่า ทั้ง 2 ฝ่ายผลออกมาในทางบวก เจรจาคืบหน้าไปได้ด้วยดี ทำให้คณะอนุญาโตตุลาการเลื่อนอ่านคำพิพากษาออกไปอย่างไม่มีกำหนด แต่ที่พอจะมีประเด็น คงเป็นประเด็นการตั้งข้อสังเกตการเจรจาในครั้งนี้มีผลประโยชน์อะไรแอบแฝง หรือว่ารัฐบาลเอาอะไรไปแลกเปลี่ยน หรือไม่
เวทีอภิปรายไม่ไว้วางใจแบบไม่ลงมติ เป็นเวทีฝ่ายค้านได้โจมตีการอยู่ในอำนาจอย่างยาวนานของ พล.อ.ประยุทธ์ มาผสมกับผลเลือกตั้งซ่อม กทม.และที่ภาคใต้ ขุดเรื่องเก่า ตัดแปะ ลากโยง ปัญหาเศรษฐกิจ สังคม เพื่อชี้ให้คนเห็นว่า รัฐบาลบริหารล้มเหลว ประชาชนไม่ให้การยอมรับ
นพ.ชลน่าน ศรีแก้ว หัวหน้าพรรคเพื่อไทย และ ส.ส.น่าน พรรคเพื่อไทย ระบุว่า
"การอภิปรายครั้งนี้จะไม่มีการลงมติ แต่สิ่งที่เราเสนอข้อเท็จจริง และปัญหาให้รัฐบาลรับทราบในสิ่งที่รัฐบาลมองไม่เป็นปัญหา ข้อเสนอฝ่ายค้านในการแก้ไขปัญหาเหล่านี้ เชื่อมั่นว่าฝ่ายค้านแต่ละพรรคจะตบท้ายด้วยว่า พล.อ.ประยุทธ์ควรพิจารณาลาออก หรือคืนอำนาจให้ประชาชนได้แล้ว ถ้าอยู่ต่อไปจะเลวร้ายไปกว่านี้ ประเทศชาติจะเสียหายมากกว่านี้"
ประเด็นหลักที่ฝ่ายค้านพุ่งเป้าโจมตี ฝ่ายรัฐบาลแก้เกม ปิดช่องไม่ให้ถูกนำไปขยายแผลทั้งในสภา นอกสภา โดยเฉพาะปัญหาราคาสินค้า ข้าวของแพง ที่กระทบเป็นวงกว้าง
แม้เวทีอภิปราย 17-18 ก.พ. เป็นเพียงเวทีเปิดช่องให้ฝ่ายค้านระบายความอึดอัด ผลจากการอภิปราย ไม่มีการลงมติ ไม่ก่อให้เกิดผลการเปลี่ยนแปลงใดๆ ทางการเมือง แต่ว่ากันว่า ของจริงขอให้ไปจับตาตอนศึกซักฟอกแบบลงมติ ที่น่าจะเกิดในช่วง มิ.ย.หรือ ก.ค. เพราะแว่วๆ มาว่า ตอนนี้กำลังเดินเกมประสาน 21 เสียงที่แยกตัวจากซีกรัฐบาลอย่างหนัก หวังล้มประยุทธ์กลางสภาฯ ให้ได้.
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ติดสลักกม.ประชามติ รธน.ใหม่ส่อลากยาว
สัปดาห์ที่ผ่านมา คณะกรรมาธิการร่วมกันเพื่อพิจารณาร่าง พ.ร.บ.ว่าด้วยการออกเสียงประชามติ ได้ข้อสรุปหลักเกณฑ์ที่จะใช้สำหรับการแก้ไขรัฐธรรมนูญเรียบร้อย โดยให้ยึดเสียงข้างมาก 2 ชั้น กล่าวคือ 1.ต้องมีผู้ออกมาใช้สิทธิ์เกินกึ่งหนึ่งของผู้มีสิทธิ์ทั้งหมด และ 2.ต้องได้เสียงเห็นชอบเกินกึ่งหนึ่งของผู้ออกมาใช้สิทธิ์
ชนักติดหลัง-หอกดาบ ที่ค้างอยู่ของ"ทักษิณ"
แน่นอนว่า ทักษิณ ชินวัตรและพรรคเพื่อไทย ย่อมต้องถอนหายใจโล่งอก ที่ไม่ต้องตกอยู่ในสถานะ ผู้ถูกร้อง ที่ศาลรัฐธรรมนูญ หลังศาลรัฐธรรมนูญยกคำร้อง-ไม่รับคำร้องไว้วินิจฉัยในคดีที่ ธีรยุทธ สุวรรณเกษร ยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญ หรือ "คดีล้มล้างการปกครอง" ที่ศาล รธน.มีมติยกคำร้องไปเมื่อ 22 พ.ย.ที่ผ่านมา
'ชินวัตร' ตีปีกดันรัฐบาลครบเทอม วิบากกรรมไล่ล่า 'ชั้น14' หลอกหลอน
ดูจากมติเอกฉันท์ของศาลรัฐธรรมนูญไม่รับคำร้องของ นายธีรยุทธ สุวรรณเกษร ยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญให้พิจารณาวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 49
แจกเฟส 2 หวังผลการเมือง ส่อผิดกฎหมายหลายกระทง?
ปี่กลองอึกทึกครึกโครม ในสนามเลือกตั้งผู้บริหารท้องถิ่นและสมาชิกสภาท้องถิ่น ที่จะมีการเลือกตั้งทั่วประเทศในวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2568 ตามประกาศของคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ช่วงนี้จึงอยู่ในช่วงงัดไม้เด็ดเดิมพันให้ได้คว้าชัยชนะ เพื่อเป็นอีกก้าวปูทางไปสู่สนามการเลือกตั้งใหญ่
ปักธง1ภาค1เก้าอี้นายกอบจ. ส้มเก็บชัยหรือระเนระนาด
นับถอยหลังสู่โค้งสุดท้ายของการเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) อุดรธานี ซึ่งจะเกิดขึ้นในวันที่ 24 พ.ย.นี้ ระหว่าง นายคณิศร ขุริรัง ผู้สมัครจากพรรคประชาชน และนายศราวุธ เพชรพนมพร ผู้สมัครจากพรรคเพื่อไทย
จับตาคลอดโผแต่งตั้ง“นายพลใหญ่” ตำรวจคนสนิทฝั่งรัฐบาลพรึบยกแผง
จับตาบ่ายวันนี้ การแต่งตั้งโยกย้ายล็อตแรก “นายพลใหญ่” ระดับรอง ผบ.ตร. จเรตำรวจ-ผบช. ที่นายกฯ อุ๊งอิ๊ง น.ส.แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ในฐานะประธานคณะกรรมการข้าราชการตำรวจ (ก.ตร.) นัดประชุม ก.ตร. ครั้งที่ 10/2567 เพื่อพิจารณาบัญชีรายชื่อ “พล.ต.อ.-พล.ต.ท.” วาระประจำปี 2567