ล็อกเป้าซักฟอกนายกฯ อิ๊งค์ ขยี้จุดตาย ทักษิณชั้น 14

ดีเดย์วันนี้ 27 ก.พ. ที่ ‘พรรคฝ่ายค้าน’ จะยื่นญัตติขอเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐมนตรีรายบุคคล ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 151

โดยภายหลังการหารือของ ‘วิป 3 ฝ่าย’ มีการคาดการณ์ว่า จะเป็นช่วงสัปดาห์สุดท้ายของเดือน มี.ค. ระหว่างวันที่ 24-28 และน่าจะได้ไม่ถึง 5 วัน ตามที่ฝ่ายค้านร้องขอไปก่อนหน้านี้

น่าจับตาว่าเป็น 'ศึกซักฟอก' ครั้งแรกในรัฐบาลนี้ ที่จะต้องผ่านกลไกการตรวจสอบ ทั้ง ‘ฝ่ายรัฐบาล-ฝ่ายค้าน ต่างต้องทำการบ้านหนัก พิสูจน์ข้อกล่าวหามีมูลแค่ไหน มีใบเสร็จหรือไม่ และรัฐมนตรีแต่ละคนจะชี้แจงได้มากน้อยเพียงใด

โดยเฉพาะ ‘นายกรัฐมนตรี’ หรือนางสาวแพทองธาร ชินวัตร ผู้นำของรัฐบาลชุดนี้ ก็ยังมีข้อครหาเรื่อง ‘ภาวะผู้นำ’ และ ‘ความล้มเหลวในการบริหารราชการแผ่นดินมาตลอด

เพราะเป็นที่รู้กันดีว่า ‘นายกฯ ตัวจริง’ ที่กุมอำนาจในการบริหารประเทศ คือ ‘นายใหญ่ หรือ นายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี จึงเป็นไปได้มากว่า จะมีการเชื่อมโยงเรื่องต่างๆ เพื่อพุ่งเป้าไป ไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง

ทีมยุทธศาสตร์พรรคประชาชน’ มองว่า ด้วยสภาพสถานการณ์การเมืองขณะนี้ ต้นตอของปัญหาจริงๆ คือรัฐบาลนี้ยอมแลกผลประโยชน์ของประเทศชาติ เพื่อให้ผลประโยชน์ของตัวเอง และครอบครัว ยอมแลกทุกอย่างจนทุกอย่างพังไปหมด เลยต้องถอนรากถอนโคนที่คนคนนี้เพียงคนเดียว และให้นำไปสู่การยุบสภาฯ

ล่าสุด ‘บิ๊กป้อม หรือพลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ หัวหน้าพรรคพลังประชารัฐ ก็เปิดเผยว่า พรรคพลังประชารัฐจะมีการอภิปรายกรณีการโอน ‘หุ้นอัลไพน์ กอล์ฟ แอนด์ สปอร์ต คลับ’ ด้วย นอกเหนือจากเรื่อง ‘กาสิโน’

เดิมทีคาดว่า การเขย่าเก้าอี้ ‘รัฐมนตรีพรรคร่วมรัฐบาล’ เกือบ 10 คน ซึ่งจะเน้นที่ คีย์แมน’ หลักของแต่ละพรรค ผู้คุมกระทรวงใหญ่ ที่ส่งผลต่อเกมการเมือง

อาทิ นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน พันตำรวจเอกทวี สอดส่อง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม

ส่วนพรรคเพื่อไทย เป็นนายภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม และนายมาริษ เสงี่ยมพงษ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ

ญัตติที่จะยื่นนี้ แม้จะเป็นมติร่วมกันของพรรคร่วมฝ่ายค้าน ซึ่งน่าจะย้ำถึง ‘พฤติการณ์อันไม่อาจไว้วางใจให้บริหารราชการแผ่นดินต่อไป’ ที่ส่งผลต่อ ‘ความขาดคุณสมบัติของรัฐมนตรี

โดยอาจไม่ได้หวังผลสู่ ‘การปรับคณะรัฐมนตรี’ แต่อย่างน้อย ก็ต้องการ ‘สร้างแรงกระเพื่อม’ ทำให้เกิด การต่อรอง’ ของพรรคร่วมรัฐบาลกันเอง

แต่เป็นที่น่าสังเกตว่า การรวบรวมประเด็น โดยให้คนของพรรคต่างๆ ส่งเข้ามาเพื่อเขียนเป็นชุดเดียว และการที่ไม่สามารถเปิดเผยข้อมูลในการอภิปราย รวมถึงรายชื่อผู้ได้มากนักนั้น

เนื่องจากอาจกังวลตามกระบวนการ การเปิดเผยข้อมูลอาจจะนำไปสู่การที่เข้าไปยุ่งเหยิงพยานหลักฐาน หรืออาจจะมีการเสนอจ่ายค่าตอบแทน เพื่อไม่ให้พูดเรื่องนั้นๆ และอาจจะเป็นไปเพื่อป้องกันความลับรั่วไหลหรือไม่

กระทั่ง ‘ทีมยุทธศาสตร์’ ได้ออกมาแถลงไขถึงการเปลี่ยนแผนเป็น ล็อกเป้ายื่นญัตติอภิปรายไม่ไว้วางใจ ..แพทองธารเพียงผู้เดียวเท่านั้น

เพราะเกิดกรณีข้อสอบรั่ว ‘เกลือเป็นหนอน’ ภายในพรรคร่วมฝ่ายค้านจริง มีการแอบส่งการบ้าน รายชื่อรัฐมนตรี 10 คน รวมถึงพฤติการณ์ต่างๆ ของรัฐมนตรี ที่ถูกจับขึ้นเขียงไป

จนอาจทำให้การหว่านแห อภิปรายรัฐมนตรีบวกนายกรัฐมนตรี รวม 10 คน อาจจะสูญเปล่าอภิปรายไม่เข้าเป้า อีกทั้งยังอาจจะเปิดช่องให้นายกรัฐมนตรีลอยตัวเหนือปัญหาให้คนอื่นมาตอบแทน เลยเปลี่ยนแผนให้โฟกัสไปที่ตัวนายกรัฐมนตรีคนเดียวไปเลย 

สำหรับ ‘ประเด็นหลัก’ ในการอภิปราย น่าจะเป็นการเปิดเผยข้อมูล ‘โครงการใหญ่ ที่ส่อทุจริต หรือเปิดช่องเอื้อประโยชน์กับใคร สาวไส้ขยายผล ตั้งแต่ด้าน ‘เศรษฐกิจ’ ‘สังคม’ ตลอดไปจน ‘กระบวนการยุติธรรม’

เพื่อเชื่อมโยงหลายกระทรวง ขยี้ ‘รอยร้าว หรือ ‘ความไม่ลงรอยกัน ของทั้งหน่วยงานภายใน และการทำงานร่วมกันระหว่าง ‘คนในรัฐบาล’

และหากกระทรวงใดมีความผิดที่ชัดเจน จะมีการโรยเกลือ ยื่นร้อง ป.ป.ช. หลังจากศึกซักฟอกต่อไป ไม่มีละเว้น

โดย ‘พรรคประชาชน’ มีการเตรียมคนไว้แล้ว ไม่ต่ำกว่า 10 คน ที่จะเป็นผู้เปิดประเด็นและแสดงข้อมูลเจาะลึก ยิ่งเหล่า สส.ที่มีชนักใน ‘คดีเข้าชื่อแก้ ม.112’ อาจถือโอกาสทิ้งท้าย ก่อนถูก ป.ป.ช.สั่งตัดสิทธิ์

สุดท้าย ‘ศึกซักฟอก’ ในครั้งนี้ จะเป็นเครื่องพิสูจน์บารมี นายใหญ่ทักษิณ หรืออาจเป็นเวทีที่ทำให้ ‘นายกฯ อิ๊งค์’ ได้พิสูจน์ตัวเอง ถ้ามาตอบชี้แจงด้วยตัวเองได้ดี ก็คงทำให้ภาพภาวะความเป็นผู้นำปรากฏชัดมากขึ้นในสายตาประชาชน

ซึ่งก็เชื่อได้ว่าในเวที อภิปรายไม่ไว้วางใจครั้งนี้ ฝ่ายค้านก็จะอภิปรายถึงปมเรื่องทักษิณ ชินวัตร พักรักษาตัวชั้น 14 รพ.ตำรวจ จนทำให้ไม่ต้องเข้าเรือนจำ ทำให้ไม่ต้องติดคุกแม้แต่วันเดียว เรื่องนี้คงทำให้ฝ่ายค้านนำไปเป็นประเด็นเพื่อไล่ซักฟอก บดขยี้นายกฯ กลางที่ประชุมสภาอย่างร้อนแรง

เพราะนี่ไม่ใช่เพียงแค่ ‘สร้างแรงกระเพื่อม’ ทำให้เกิด ‘การต่อรองของพรรคร่วมรัฐบาลกันเองแล้ว

แต่จำนวนเสียงโหวตฝ่ายรัฐบาล ที่ต้องลงให้กับ ‘นายกฯ อิ๊งค์ นั้น คือคะแนนที่จะสะท้อนว่า ‘พรรคร่วมรัฐบาล’ สามารถ เคลียร์ใจกันได้จริงหรือไม่.

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

นายกฯ แจงยิบแก้ปมแจ้งเตือนภัย Cell Broadcast มาเต็มรูปแบบเดือนกรกฎา.

นายกฯ แถลงแก้ไขปัญหาการเตือนภัยแผ่นดินไหว เผยกรกฎาคมนี้ จะเปิดใช้งานระบบแจ้งเตือนแบบ Cell Broadcast อย่างเต็มรูปแบบ ในช่วงนี้ แอนดรอยด์ 70 ล้านเลขหมายจะใช้ระบบจำลองแจ้งเตือนเป็นการชั่วคราว และ iOS อีก 50 ล้านเลขหมายจะได้รับแจ้งเตือนผ่าน SMS “ดีอี -กสทช.” กำลังเจรจา

'แพทองธาร' เปิดศูนย์บริหารนักลงทุน ยืนยันไทยปลอดภัย คุมเหตุแผ่นดินไหวได้

นายกฯ เปิดศูนย์บริการนักลงทุน TIESC พร้อมดึงดูดผู้เชี่ยวชาญจากทั่วโลก มุ่งผลักดันไทยเป็นศูนย์กลางนวัตกรรม สร้างเศรษฐกิจแห่งอนาคต ให้ความมั่นใจนักลงทุน ไทยยังคงเป็นประเทศที่ปลอดภัย ควบคุมสถานการณ์เหตุแผ่นดินไหวได้

ตึกถล่ม-ภาพลักษณ์ติดลบ “สตง.”จำเลยสังคม รัฐบาลไล่บี้-คตง.รอเคลียร์

จากเหตุการณ์แผ่นดินไหวในประเทศไทย เมื่อวันศุกร์ที่ 28 มี.ค.ที่ผ่านมา ที่สร้างผลกระทบในวงกว้างไปทั่วประเทศ โดยเฉพาะเหตุการณ์ ตึกสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) แห่งใหม่ ถนนกำแพงเพชร เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร ที่กำลังก่อสร้างถล่มลงมา ทำให้มีผู้เสียชีวิต ผู้ได้รับบาดเจ็บและผู้สูญหายจำนวนมาก

โศกนาฏกรรมแผ่นดินไหวสะเทือนภาวะผู้นำ เมื่อนายกฯก็ไม่รู้เหมือนประชาชน!

วันที่ 28 มีนาคม 2568 เวลา 13.20 น. แรงสั่นสะเทือนขนาด 8.2 ริกเตอร์ จากประเทศเมียนมาได้สร้างความเสียหายครั้งใหญ่ให้กับประเทศไทย ส่งผลกระทบเป็นวงกว้างถึง 57 จังหวัด

จุลพงศ์-พรรคประชาชน เอ็กซ์เรย์ แผลอักเสบ นายกฯ ผิดจริยธรรม-นิติกรรมอำพราง

ถึงแม้ว่า"แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี"จะผ่านศึกอภิปรายไม่ไว้วางใจของฝ่ายค้านไปได้ด้วยคะแนนเสียงโหวตไว้วางใจท่วมท้น 319 เสียง แต่ประเด็นข้อกล่าวของฝ่ายค้านที่ซักฟอกนายกฯกลางสภาฯ

ควันหลงซักฟอก 'อิ๊งค์' เสี่ยงขัดจริยธรรม ‘พรรคส้ม’ รุกฆาตหรือรอฮั้ว ‘พรรคแดง’

ภายหลังที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎรลงมติโหวตญัตติในการอภิปรายทั่วไปเพื่อลงมติไม่ไว้วางใจรัฐมนตรีเป็นรายบุคคล น.ส.แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี โดยคะแนนเสียงไว้วางใจ 319 ต่อ 162 เสียง