เพิ่มโทษปรับ-ตัดแต้มจราจร ตำรวจล้อมคอกกู้ภาพ (อีกครั้ง)

เป็นอีกครั้งที่อุบัติเหตุบนท้องถนนกรุงเทพฯ คร่าชีวิตผู้ร่วมทาง ซึ่งก็ไม่ใช่เรื่องใหม่ รายงานอุบัติเหตุมีผู้บาดเจ็บ-เสียชีวิตรายวัน ทั้งรถจักรยานยนต์ รถยนต์ หรือรถสาธารณะ ความปลอดภัยการใช้รถใช้ถนนมีความเสี่ยงอันดับต้นๆ ของโลก นอกจากแหล่งท่องเที่ยว การจราจรเป็นอีกอย่างที่นักท่องเที่ยวต่างชาติอเมซิ่งไทยแลนด์

แต่การสูญเสียครั้งนี้มีผลต่อวงการแพทย์ เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านจักษุวิทยาหรือหมอตา ที่ทั้งประเทศมีอยู่ไม่กี่สิบคน แต่ “หมอกระต่าย” แพทย์หญิงวราลัคน์ สุภวัตรจริยากุล แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านจักษุวิทยา ภาควิชาจักษุ คณะแพทยศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ต้องมาสังเวยชีวิตกับความประมาทบนท้องถนน ถูกรถ จยย.เฉี่ยวชนขณะข้ามทางม้าลาย ถนนพญาไท หน้าโรงพยาบาลสถาบันโรคไตภูมิราชนครินทร์ ช่วงเย็นวันที่ 21 ม.ค. ก่อนจะถึงวันเกิดเพียงไม่กี่วัน

สังคมจับจ้องไปที่คู่กรณี เมื่อคนขับ จยย.ดันเป็นเจ้าหน้าที่ตำรวจที่เป็นผู้ถือกฎหมาย แต่กลับทำผิดกฎหมายจราจรเสียเอง คือ ส.ต.ต.นรวิชญ์ บัวดก ผบ.หมู่กองร้อยที่ 2 กองกำกับการ 1 กองบังคับการอารักขาและควบคุมฝูงชน (กก.1 บก.อคฝ.) ได้รับบาดเจ็บเพียงเล็กน้อย

ที่สำคัญเกิดดรามาในสังคมออนไลน์ พนักงานสอบสวนพยายามช่วยผู้ก่อเหตุที่เป็นตำรวจด้วยกัน, รถของกลางเป็นรถที่ถูกยึด แต่ถูกนำมาใช้จนเกิดอุบัติเหตุ, ผู้เสียชีวิตกลายเป็นศพนิรนามหลายชั่วโมง เพราะตำรวจเก็บเอกสารหลักฐานทั้งหมดไป ไม่สามารถตามหาญาติได้ 

ถ้าอุบัติเหตุครั้งนี้ผู้เสียชีวิตไม่ใช่ “หมอ” หรือคู่กรณไม่ใช่ “ตำรวจ” ก็คงเป็นอุบัติเหตุทั่วไปที่เกิดขึ้นรายวัน มูลนิธินำศพส่งนิติเวชชันสูตรคืนร่างให้ญาตินำไปบำเพ็ญกุศลตามศาสนาคงไม่เป็นข่าวครึกโครมแบบนี้

ไฟสปอตไลต์ส่องไปที่ "ตำรวจ" ซึ่งมีต้นทุนทางสังคมต่ำอยู่แล้ว ยิ่งมากระทำผิดกฎหมายเสียเองทุกอย่างก็ยิ่งโหมกระน่ำเข้าใส่อย่างเต็มที่ จนกลายเป็นกระแสสังคมที่ต้องการคำตอบ ต้องการความรับผิดชอบจาก "ตำรวจ"

แม้ กองบัญชาการตำรวจนครบาล ต้นสังกัด ส.ต.ต.นรวิชญ์ พยายามชี้แจงประเด็นต่างๆ ทั้งร่าง หมอกระต่ายเป็นศพนิรนาม ไม่สามารถเข้าถึงโทรศัพท์ได้ ต้องรอจนกว่ามีคนโทรเข้ามา ส่วนตำรวจคู่กรณีหลังปฐมพยาบาลได้เข้ามอบตัวกับพนักงานสอบสวน แจ้ง 7 ข้อหา ประเด็นการครอบครองรถได้มาอย่างถูกต้องมีสัญญาซื้อขาย ไม่ใช่รถยึด แต่เป็นการโอนลอยที่ยังไม่เสร็จสมบูรณ์ ยืนยันดำเนินทุกคดีที่เป็นความผิดไม่มีการช่วยเหลือกันแน่นอน กระทั่ง ส.ต.ต.นรวิชญ์มีความประสงค์บวชเพื่ออุทิศส่วนกุศลให้กับผู้เสียชีวิต ก็โดนแรงกดดันจนต้องยอมสึก

"ตำรวจ" จึงต้องเร่งฟื้นความเชื่อถือ โดยเร่งดำเนินการปรับปรุงกฎหมายให้มีสภาพบังคับใช้กับผู้ฝ่าฝืนอย่างเด็ดขาด เพื่อเพิ่มมาตรการด้านความปลอดภัยกับประชาชน

โดยเฉพาะทางม้าลาย

มี “บิ๊กเด่น” พล.ต.อ.ดำรงศักดิ์ กิตติประภัสร์ รอง ผบ.ตร.ในฐานะผู้อำนวยการศูนย์บริหารงานจราจร (ศจร.ตร.) เป็นผู้รับผิดชอบ

ร่าง พ.ร.บ.จราจรทางบก (ฉบับที่...) พ.ศ...(หรือฉบับที่ 13) ถูกหยิบขึ้นมาพูดอีกครั้ง หลังจากก่อนหน้าที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติได้เสนอแก้ ที่อยู่ระหว่างการพิจารณาของคณะกรรมการ 2 สภา ที่คาดว่าจะมีการลงมติเดือน ก.พ.นี้ ถ้าเป็นไปตามไทม์ไลน์ หลังจากนั้นอีก 120 วันถึงจะประกาศใช้ในราชกิจจานุเบกษา ที่อัตราโทษการฝ่าฝืนเครื่องหมายจราจรเส้นทางข้าม (ทางม้าลาย) จากเดิมปรับไม่เกิน 1,000 บาท เป็นปรับไม่เกิน 4,000 บาท รวมทั้งการตัดแต้มคะแนนความประพฤติ ที่ทุกคนมี 12 คะแนนต่อปี ข้อหาฝ่าฝืนตัดครั้งละ 1 คะแนน เมาแล้วขับ 4 คะแนน หากโดนตัดครบ 12 คะแนน จะต้องถูกพักใช้ใบอนุญาตขับรถเป็นเวลา 3 เดือน

เข้าตำรา “วัวหายล้อมคอก”

กระนั้นก็เป็นสิ่งเดียวที่ "ตำรวจ" จะสามารถสร้างความเชื่อมั่นให้กับสังคมที่กำลังเรียกร้องหาความปลอดภัยบนท้องถนน

ยิ่งตามสถิติในพื้นที่เมืองหลวงปี 2564 มีผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนน 197 ราย มีผู้ได้รับบาดเจ็บจากอุบัติเหตุในทางเท้า-ทางม้าลายและอื่นๆ 720 ราย ขณะที่สถิติการฝ่าฝืนสัญญาณจราจรก็สูงถึง 40,688 ราย

ถือเป็นการปัดฝุ่นปรับปรุงกฎหมายให้มีสภาพบังคับใช้กับผู้ฝ่าฝืนอย่างเด็ดขาดอีกรอบ หลังก่อนหน้านี้ “บิ๊กป้อม" พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ในฐานะประธานกรรมการนโยบายป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนแห่งชาติ (นปถ.) สั่งการสำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ตร.) เร่งดำเนินการปรับปรุงกฎหมายให้มีสภาพบังคับใช้กับผู้ฝ่าฝืนอย่างเด็ดขาดมาแล้วเมื่อปี 2562

ครั้งนั้นที่เกิดเหตุสลดว่าที่บัณฑิตสาวข้ามทางม้าลายเพื่อไปทำงานวันแรก ถูกบิ๊กไบค์ชนเสียชีวิตที่แยกผังเมือง ถนนพระราม 9 เป็นข่าวครึกโครม แต่ละหน่วยงานออกมาแอคชันทั้ง กระทรวงคมนคม กรุงเทพมหานคร สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ลงพื้นที่สำรวจทางม้าลาย เก็บรวบรวมข้อมูล ปรับปรุงทาสีใหม่ แต่แล้วโศกนาฏกรรมก็กลับมาเกิดอีกจนได้

ครั้งนี้จะซ้ำรอยเป็นการล้อมคอก เป็นผักชีโรยหน้า เหมือนที่สังคมกำลัง "ครหา" หรือไม่ เจ้าหน้าที่รัฐ ผู้ปฏิบัติเท่านั้นที่จะพิสูจน์ให้สังคมรับรู้รับทราบ.

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

แจกเฟส 2 หวังผลการเมือง ส่อผิดกฎหมายหลายกระทง?

ปี่กลองอึกทึกครึกโครม ในสนามเลือกตั้งผู้บริหารท้องถิ่นและสมาชิกสภาท้องถิ่น ที่จะมีการเลือกตั้งทั่วประเทศในวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2568 ตามประกาศของคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ช่วงนี้จึงอยู่ในช่วงงัดไม้เด็ดเดิมพันให้ได้คว้าชัยชนะ เพื่อเป็นอีกก้าวปูทางไปสู่สนามการเลือกตั้งใหญ่

ปักธง1ภาค1เก้าอี้นายกอบจ. ส้มเก็บชัยหรือระเนระนาด

นับถอยหลังสู่โค้งสุดท้ายของการเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) อุดรธานี ซึ่งจะเกิดขึ้นในวันที่ 24 พ.ย.นี้ ระหว่าง นายคณิศร ขุริรัง ผู้สมัครจากพรรคประชาชน และนายศราวุธ เพชรพนมพร ผู้สมัครจากพรรคเพื่อไทย

จับตาคลอดโผแต่งตั้ง“นายพลใหญ่” ตำรวจคนสนิทฝั่งรัฐบาลพรึบยกแผง

จับตาบ่ายวันนี้ การแต่งตั้งโยกย้ายล็อตแรก “นายพลใหญ่” ระดับรอง ผบ.ตร. จเรตำรวจ-ผบช. ที่นายกฯ อุ๊งอิ๊ง น.ส.แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ในฐานะประธานคณะกรรมการข้าราชการตำรวจ (ก.ตร.) นัดประชุม ก.ตร. ครั้งที่ 10/2567 เพื่อพิจารณาบัญชีรายชื่อ “พล.ต.อ.-พล.ต.ท.” วาระประจำปี 2567

ยากจะขวาง‘โต้ง’นั่งปธ.บอร์ดธปท. แนวต้านขอสกัดจนนาทีสุดท้าย!

แม้จะมีข่าวว่า กรรมการคัดเลือกประธานกรรมการและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) มีมติเลือก เสี่ยโต้ง-นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง ให้เป็นประธานกรรมการธนาคารแห่งประเทศไทย หรือบอร์ดแบงก์ชาติคนใหม่

โค้งสุดท้ายศึกนายกอบจ.อุดรฯ เดิมพันสูง พท.VSปชน.แพ้ไม่ได้

นับจากวันจันทร์ที่ 18 พ.ย.ก็เหลืออีกเพียง 7 วันเท่านั้น ก็จะถึงวันลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง ศึกนายกฯ อบจ.อุดรธานี ทำให้ตอนนี้ถือว่าเข้าสู่ช่วงโค้งสุดท้ายที่จะได้รู้กันแล้วว่า

‘แม้ว’ ย่ามใจไม่เลี้ยงหลาน ทำตัวเป็น ‘ส่วนหนึ่งของปัญหา’

แม้แต่ "ธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ" ประธานคณะก้าวหน้า และอดีตหัวหน้าพรรคอนาคตใหม่ ยังตั้งคำถามต่อ "ทักษิณ ชินวัตร" อดีตนายกรัฐมนตรี