ม็อบทวงสัญญามาตามนัดสะท้อนอำนาจรัฐอ่อนแรง

เกือบ 1 ปีภายหลังการชุมนุมครั้งสุดท้ายของ P-move ขบวนการประชาชนเพื่อสังคมที่เป็นธรรม (ขปส.) เมื่อเดือนมีนาคม 2564 เพื่อสะท้อนถึงปัญหารายกรณีและเชิงนโยบายที่เรื้อรังมาหลายชั่วอายุในทั่วทุกภูมิภาคของประเทศไทยยังไม่ได้รับการตอบสนอง ตามที่ได้แถลงการณ์ไว้ 12 บวก 3 ข้อ 

“สถานการณ์ทางนโยบายยังคงเดินหน้ากดทับ ลดทอนสิทธิอันพึงมีของพวกเราอย่างต่อเนื่อง กฎหมายหลายฉบับกำลังเรียงแถวออกมามีผลบังคับใช้ ท่ามกลางเสียงเรียกร้องของพวกเราว่าเราไม่ต้องการ ในขณะที่กฎหมายและนโยบายที่พวกเราลงแรงผลักดัน กลับไม่ได้รับการเหลียวแล พวกเรา ขปส.ไม่อาจทนรอให้โอกาสรัฐบาลแก้ไขปัญหาด้วยระบบออนไลน์อีกต่อไป” แถลงการณ์ระบุ

ทำให้เมื่อวานนี้กลุ่มผู้ชุมนุมตัดสินใจเคลื่อนขบวนจากหน้าองค์การสหประชาชาติ ถนนราชดำเนินนอก ไปปักหลักชุมนุมที่หน้ามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร ถ.พิษณุโลก ยอดประมาณ 500 คน โดยประกาศพักค้างคืนจนกว่าจะเป็นที่พอใจ

กลุ่มตัวแทนสลับกันปราศรัยโจมตีรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ประเด็นรับเรื่องไปแล้วไม่ช่วยเหลือแก้ไขความเดือดร้อน 15 ข้อ อาทิ ปัญหาพื้นที่ที่ทำกิน ที่อยู่อาศัย คนชายขอบ แรงงานค่าครองชีพ ราคาสินค้า ระบบสาธารณูปโภค การรักษาพยาบาล และความเหลื่อมล้ำของประชาชนกับอำนาจรัฐ ยืนยันหากยังไม่ได้คำตอบที่ชัดเจนแบบลายลักษณ์อักษร จะปักหลักชุมนุมไปจนถึงเดือนหน้า

ขณะที่รองปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีซึ่งเข้ารับข้อเรียกร้อง ระบุว่า วันที่ 31 ม.ค. “บิ๊กป้อม” พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี จะมาเป็นประธานการประชุมด้วยระบบซูมด้วยตนเอง

เมื่อพิจารณาดูจากข้อเรียกร้องนับได้ว่าเป็นหลักการสำคัญที่สอดคล้องกับการต่อสู้ของที่ฝ่ายที่เรียกตัวเองว่าประชาธิปไตย สะท้อนการยกระดับไปสู่เรื่องหลักการ และแตะที่เรื่องโครงสร้างกฎหมาย

อาทิ 1.ต้องยกระดับการจัดการทรัพยากรที่ดินในรูปแบบ “โฉนดชุมชน” ให้เป็นหนึ่งในรูปแบบการกำกับดูแล การบริหารจัดการที่ดินและทรัพยากรดินโดยทั่วไป ตามพระราชบัญญัติคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติ (คทช.) มาตรา 10 (4) 2.ต้องเร่งออกพระราชกฤษฎีกานิรโทษกรรมคดีความที่เกี่ยวกับปัญหาไม้และที่ดินอันเกิดจากการดำเนินการตามนโยบายรัฐ 3.ต้องแต่งตั้งคณะทำงานเพื่อทบทวนเนื้อหาของ พ.ร.บ.ป่าชุมชน พ.ศ.2562, พ.ร.บ.อุทยานแห่งชาติ พ.ศ.2562 และ พ.ร.บ.สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ.2562

4.กรณีการแก้ปัญหาที่อยู่อาศัยในที่ดินของการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ให้นำมติคณะกรรมการรถไฟแห่งประเทศไทย เมื่อวันที่ 13 กันยายน 2543 มาเป็นนโยบายการแก้ปัญหาชุมชนทั้ง 36 จังหวัด 397 ชุมชน 39,848 หลังคาเรือน 5.รัฐบาลต้องผลักดันร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองและส่งเสริมวิถีชีวิตกลุ่มชาติพันธุ์ ฉบับที่ร่างโดยศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) (ศมส.) และรัฐบาลต้องสนับสนุน “ร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองสิทธิและส่งเสริมวิถีชีวิตกลุ่มชาติพันธุ์และชนเผ่าพื้นเมือง พ.ศ....

6.ข้อเสนอต่อการปฏิรูปที่ดิน ตามกลไกสถาบันบริหารจัดการธนาคารที่ดิน (บจธ.) บจธ.ต้องทบทวน ปรับปรุงคณะกรรมการ บจธ. พัฒนา สร้างนวัตกรรมรูปแบบกรรมสิทธิ์ในการจัดการที่ดินและถือครองที่ดินใหม่รูปแบบ ใหม่ๆ 7.ต้องนำเรื่องเข้าคณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบให้ชุมชนสมาชิกของ ขปส.ที่อยู่ระหว่างการแก้ไขปัญหา สามารถเข้าถึงสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐาน เช่น ถนน ไฟฟ้า ประปา ทะเบียนบ้าน และปรับปรุงที่อยู่อาศัยได้

8.ปรับปรุงองค์ประกอบคณะทำงาน 2 คณะ ได้แก่ คณะทำงานศึกษาร่างกฎหมายว่าด้วยการนิรโทษกรรมแก่ราษฎร คณะทำงานแก้ไขปัญหาและศึกษาแนวทางการจัดที่ดินทำกินให้กับชุมชน 9.ข้อเรียกร้องกลุ่มแม่สอดรักษ์ถิ่น ผลกระทบจากเขตเศรษฐกิจพิเศษแม่สอด จังหวัดตาก 10.รัฐบาลต้องสั่งการให้มีการแก้ไขปัญหาที่ดินทุกประเภทที่ประชาชนได้รับผลกระทบให้มีแนวทางที่ชัดเจน 11.แต่งตั้งคณะกรรมการระดับชาติ กำกับ ขับเคลื่อนการฟื้นฟูวิถีชีวิตกลุ่มชาติพันธุ์ชาวเลและ กะเหรี่ยงตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 2 มิถุนายน 2553 และ 3 สิงหาคม 2553

12.กรณีชุมชนกะเหรี่ยงบ้านบางกลอย อ.แก่งกระจาน จ.เพชรบุรี ให้นายกรัฐมนตรีลงนามในคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการอิสระเพื่อตรวจสอบข้อเท็จจริงและแก้ไขปัญหาชุมชนกะเหรี่ยงบางกลอย หมู่ที่ 1 ตำบลห้วยแม่เพรียง อำเภอแก่งกระจาน

ที่ผ่านมามีคนของเครือข่ายเข้าไปร่วมในกระบวนการกลั่นกรอง นั่งในคณะกรรมการบางชุดบ้าง เช่น เรื่องธนาคารที่ดิน แต่ก็เป็นเศษเสี้ยวของการรับข้อเสนอทั้งหมด 

การตัดสินใจจัดการชุมนุมเพื่อให้รัฐบาลตอบสนองข้อเรียกร้องในช่วงนี้นับเป็นจังหวะที่ดี เนื่องจากรัฐบาลกำลังมีความขัดแย้งภายในพรรคพลังประชารัฐ และความไม่ลงรอยระหว่าง 2 ป. และไม่ต้องโยงกับม็อบสามนิ้ว ที่ปัจจุบันแกนนำไม่สามารถออกมาทำกิจกรรมหรือถือธงนำได้ เนื่องจากเกรงว่าจะขัดเงื่อนไขการให้ประกันตัว

แต่ในพื้นที่จัดกิจกรรมก็ยังพบแนวร่วมหลายคน รวมถึง “ฮาร์ดคอร์” ที่หายหน้าไปพักใหญ่เข้ามาสังเกตการณ์ ซึ่งคาดเดาได้ยากว่าการชุมนุมในบริเวณดังกล่าวจะยืดเยื้อและหลีกเลี่ยงการปะทะ สลายการชุมนุมได้นานแค่ไหน!!

ขณะที่ P-move คงประเมินว่าช่วงเวลาที่ “อำนาจรัฐ” อ่อนแอ ผู้มีอำนาจแตกคอ การออกเคลื่อนไหวชิงความได้เปรียบน่าจะบรรลุเป้าหมายได้ง่ายขึ้น พร้อมคาดการณ์ว่าจะมีเหล่าบรรดา “บิ๊ก” ฉวยโอกาสยอมตามข้อเรียกร้อง เพื่อหาคะแนนนิยมทางการเมือง ในพื้นที่ชายขอบหวังสร้างฐานเสียงในอีสาน-เหนือ ทุกอย่างน่าจะลื่นไหลไม่ติดขัด

เช่นเดียวกับอีกหลายๆ ม็อบที่น่าจะออกมาชุมนุมกันอย่างต่อเนื่องรายวัน กดดันให้รัฐช่วยแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนที่เกิดขึ้นทุกหย่อมหญ้า.

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

นายกฯ นำพสกนิกรชาวไทย จุดเทียนถวายพระพรชัยมงคล เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคล เฉลิมพระชนมพรรษา

นายกฯ และภริยา เป็นประธานพิธีถวายเครื่องราชสักการะ และพิธีจุดเทียนถวายพระพรชัยมงคล เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567

'ลุงป้อม' บินปารีส 1 ส.ค. ให้กำลังใจนักกีฬาไทย สู้ศึกโอลิมปิก

ที่พรรคพลังประชารัฐ ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ภายหลังเสร็จสิ้นพิธีทำบุญตักบาตรพระสงฆ์ จำนวน 10 รูป เพื่อถวายเป็นพระราชกุศล เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 72 พรรษา 28 กรกฎาคม 2567

“ลุง”กับ“อา”ใจถึงพึ่งได้ เฮือกสุดท้ายใน”บ้านป่า”?

“เปิดต้อนรับนักการเมืองเทรนด์เดียวกัน ที่รสนิยมในเรื่องของ พรรคพวก เพื่อนฝูง พี่น้อง ต้องมาก่อน เรื่องคำมั่นสัญญา การไม่หักหลังกัน เปรียบเหมือน ปฏิญญา-กฎเหล็ก ในการคบหากันของแวดวงคนใจนักเลง”