สวมบท'อินฟลูอาเซียน' จุดเสี่ยงใช้ประเทศเดิมพัน?

แต่นั่นเป็นไอเดียของทักษิณซึ่งเหมือนจะเป็นการขายของเก่าที่เคยทำไว้แล้วเมื่อตอนที่ตัวเองเป็นนายกรัฐมนตรี และวันนี้กลับมาในฐานะของผู้มีบารมีเหนือรัฐบาล

ยืนยันชัดเจนจาก นายอันวาร์ อิบราฮิม นายกรัฐมนตรีมาเลเซีย หลังโพสต์เฟซบุ๊กส่วนตัว Anwar Ibrahim พร้อมรูปภาพคู่กับ ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี พร้อมระบุว่า รู้สึกยินดีที่ได้พบกับอดีตนายกรัฐมนตรีของไทยและเพื่อนรักอย่าง ดร.ทักษิณ ชินวัตร เพื่อหารือกันอย่างน่าสนใจ ครอบคลุม และมีประโยชน์ รวมทั้งในฐานะที่ปรึกษาไม่เป็นทางการของมาเลเซียในการเป็นประธานอาเซียน

นายกฯ อันวาร์ระบุว่า การสนทนามุ่งเน้นไปที่ประเด็นสำคัญในภูมิภาค ได้แก่ การฟื้นฟูเศรษฐกิจ การใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีใหม่ๆ การส่งเสริมสันติภาพในภาคใต้ของไทย และการแก้ไขวิกฤตเมียนมา

“เครือข่ายความสัมพันธ์ที่ไม่มีใครเทียบได้ของคุณทักษิณในภูมิภาค ประกอบกับความเชี่ยวชาญเฉพาะตัวของเขา ได้ให้คำมั่นว่าจะเปิดโอกาสอันล้ำค่าสำหรับมาเลเซียและอาเซียน เพื่อรับมือกับความท้าทายเหล่านี้ด้วยความมั่นใจและมีประสิทธิภาพมากขึ้น” นายกฯ มาเลเซียระบุ

นอกจากนี้ เรายังได้หารือถึงแนวทางในการเสริมสร้างความสัมพันธ์ทวิภาคีที่แข็งแกร่งอยู่แล้วระหว่างมาเลเซียและไทย ให้สอดคล้องกับวิสัยทัศน์การพัฒนาอย่างยั่งยืนและความสามัคคีในภูมิภาคที่ตนเองมีร่วมกับแพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรีคนปัจจุบันของประเทศไทย

ทั้งหมดนั้นสอดคล้องกับการประกาศของ แพทองธาร ชินวัตร นายกฯ ของไทย ในการวางแนวทางรับมือกับนโยบายเศรษฐกิจ การตั้งกำแพงภาษีของสหรัฐ หลังจากที่ โดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐ ที่จะเข้ารับตำแหน่งในต้นปีหน้า

แม้ความสัมพันธ์ในฐานะเพื่อนระหว่าง “ทักษิณ” กับ “ทรัมป์” จะยังแน่นปึ้ก แต่การผนึกกำลังรวมตัวของอาเซียนเพื่อต่อรองให้เกิดผลกระทบที่สุด ยังเป็นอีกแนวทางหนึ่งที่เขาพยายามทำ เพื่อลดแรงกระแทกที่ส่งผลต่อประเทศไทย ในช่วงรัฐบาลที่มีลูกสาวของเขาเป็นนายกฯ บริหารประเทศอยู่

ด้วยการมองเป้าหมายของสหรัฐในอาเซียนว่าพุ่งเป้าไปที่ประเทศใดบ้าง ซึ่งแน่นอนว่าหนึ่งในนั้นคือ เมียนมาและประเทศมุสลิม จึงเป็นที่มาว่าประเด็นที่เขาคุยกับ “อันวาร์” มุ่งเน้นไปที่เมียนมาและจังหวัดชายแดนภาคใต้ของไทยเป็นหลัก ซึ่งการทำหน้าที่บทบาทนำในการรวบรวมเสียงของประเทศสมาชิก จะเพิ่มอำนาจการต่อรองพูดคุยกับสหรัฐและอังกฤษได้อย่างราบรื่นมากขึ้น

จากประเทศสมาชิกอาเซียนที่ “ทักษิณ” เชื่อว่าอยู่ในสถานะที่เป็น “พรรคพวกเดียวกัน” อย่างน้อย 7 ประเทศ ได้แก่ ไทย กัมพูชา มาเลเซีย บรูไน ลาว สิงคโปร์ และเมียนมา จากสายสัมพันธ์ของผู้นำกันเอง และธุรกิจการลงทุนในธุรกิจในเครือข่าย

โดยเฉพาะที่ สปป.ลาว ที่บริษัทของไทยลงทุนด้านพลังงานจำนวนมหาศาล รายได้ประชาชาตินอกจากจีนแล้วก็มีการลงทุนจากไทยที่มีเม็ดเงินหล่อเลี้ยงในระบบเศรษฐกิจขาลง ยังพยุงตัวต่อไปได้ รวมไปถึงเมียนมา ที่ธุรกิจกลุ่มทุนของตัวเองก็ยังมีฐานที่มั่นอยู่ในนั้นด้วย 

จึงเชื่อมั่นว่าอีก 3 ประเทศที่เหลือ ได้แก่ อินโดนีเซีย เวียดนาม ฟิลิปปินส์ ซึ่งถือเป็นประเทศใหญ่ในอาเซียนเหมือนกัน เมื่อเห็นปรากฏการณ์จับมือกัน ภายใต้การแสดงบทบาทนำของ “ทักษิณ” อาจมีอิทธิพลพอในการต่อรองกับประเทศมหาอำนาจไม่มากก็น้อย

แต่นั่นเป็น ไอเดีย ของทักษิณ ซึ่งเหมือนจะเป็นการขาย ของเก่า ที่เคยทำไว้แล้วเมื่อตอนที่ตัวเองเป็นนายกรัฐมนตรี และวันนี้กลับมาในฐานะของผู้มีบารมีเหนือรัฐบาล

จึงไม่แปลกที่หลายฝ่ายกังวลว่า การเจรจาความเมืองต่างๆ ที่ล้วนมีผลประโยชน์ของชาติเป็นเดิมพัน แตกต่างจากการดีลการค้าการลงทุนของพ่อค้าที่หาส่วนต่าง ในชื่อของ “ทักกี้-โทนี่” ตอนที่หนีคดีไปอยู่ต่างประเทศเคยทำหรือไม่ และ จะส่งผลทางบวกหรือลบกับประเทศไทยกันแน่

อีกทั้งเป็นเกมเดิมที่ทักษิณยังคงใช้วิธีซ้ำๆ ในการสร้าง “ตัวตน” ให้กลับมาเป็นผู้มีอิทธิพลทางความคิดอีกครั้ง ผ่านโมเดลที่ไม่แตกต่างจากในอดีต 

แต่ก็ขึ้นอยู่กับว่าชาติในอาเซียนทั้งหมดจะซื้อไอเดียหรือไม่ เพราะถึงอย่างไรทุกชาติคงต้องชั่งน้ำหนักว่ามีผลได้-ผลเสีย ที่จะออกมาจากการเล่นเกมนี้อย่างไร และเอาเข้าจริง แนวทางแบบ “คิดใหญ่-คำโต” โดยไทยกลายเป็นผู้จัดการผลประโยชน์ รวมไปถึงจัดระเบียบ กติกาเศรษฐกิจในอาเซียนเอง จะสร้างผลประโยชน์ให้อาเซียนในภาพรวมได้จริงหรือไม่

เพราะในฐานะที่เป็นนักธุรกิจด้วย ย่อมถูกมองเรื่องผลประโยชน์ทับซ้อนจะถูกจัดเข้ามาอยู่ในสมการของการเจรจาจนอาเซียนอาจจะไม่ได้ประโยชน์ที่แท้จริง

อย่าลืมว่าในยุคที่ทักษิณบริหารประเทศสร้างความหวือหวาให้กับอาเซียนด้วยการดำเนินเศรษฐกิจแบบ ทักษิโนมิก ซึ่งตัวเขาเองมองว่าเป็นนโยบายเศรษฐกิจ 2 แนวทาง (Dual Track Policy) คือ กระตุ้นการส่งออก การลงทุนจากต่างประเทศ และการท่องเที่ยว เพื่อนำเงินตราต่างประเทศเข้ามาในประเทศ

และแนวทางที่สองคือ การกระตุ้นไปในระดับรากหญ้า มุ่งไปที่เกษตรกร ช่วยเหลือผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม และสร้างผู้ประกอบการรายใหม่ๆ โดยมีการอาศัยความสามารถในเชิงบริหารจัดการของฝ่ายบริหารเป็นกลไกสำคัญในการบริหารนโยบาย      

ในขณะที่นักวิชาการรายหนึ่งเคยอธิบายว่า ทักษิโนมิก คือลัทธิหรือแนวทางสำหรับทำสงครามทางเศรษฐกิจ โดยมีเป้าหมายสูงสุดทำให้ประเทศไทยเป็นมหาอำนาจทางเศรษฐกิจอีกประเทศหนึ่งในเอเชีย และยังทำให้เอเชียทั้งทวีปเป็นศูนย์กลางสำคัญของเศรษฐกิจโลก

แนวทางการบริหารประเทศตามลัทธิทักษิโนมิก คือสนับสนุนให้ประชาชนส่วนใหญ่ซึ่งเป็นชนชั้นรากหญ้ามีฐานะทางเศรษฐกิจที่ดีขึ้นตามลำดับ ส่งเสริมให้วิสาหกิจขนาดใหญ่ ขนาดกลางเข้มแข็ง พร้อมที่จะเข้าสู่สงครามเศรษฐกิจ ขณะเดียวกันก็ลดบทบาทของชนชั้นกลางลงชั่วคราว โดยการขจัดศัตรูของสังคมอย่างแข็งขัน ศัตรูที่ว่า ได้แก่ นักค้ายาเสพติด มาเฟีย นักทุจริต เป็นต้น

ส่วนบทบาทในอาเซียนและทวีปเอเชีย ลัทธิทักษิโนมิกได้จัดลำดับหุ้นส่วนไว้หลายระดับ มีตั้งแต่เพื่อนบ้านใกล้ชิด 3 ประเทศ พม่า เขมร และลาว ถัดไปคือประเทศในกลุ่มอาเซียนที่เหลือ นอกนั้นก็จัดแกนนำทวีปเอเชียเป็น 2 แกน คือ แกนที่ 1 เป็นแกนนำทางเศรษฐกิจ มีญี่ปุ่น จีน เป็นหลัก และไทยต้องเป็นหนึ่งในแกนหลักดังกล่าว

ส่วนแกนที่ 2 เป็นแกนด้านตลาด คือ จีนกับอินเดีย เนื่องจากมีพลเมืองมาก ลัทธิทักษิโนมิกมีเป้าหมายนำไทยเข้าไปยืนระหว่างแกนนี้ ดังนั้น การก่อตั้งความร่วมมือแห่งเอเชีย หรือเอซีดี และการจัดตั้งเอเชียบอนด์ หรือตลาดพันธบัตรเอเชีย เกิดขึ้นเพื่อผนึกกำลังหุ้นส่วนทั้งหลายไปทำสงครามเศรษฐกิจกับยุโรปและอเมริกา

นอกจากนั้น การสร้างตัวตนด้วยการเป็น Influencer  เปิดประเด็นสร้างกระแสด้วยการใช้ตัวเองเป็น Content หลัก ยังเปรียบเหมือนเป็นการทำหน้าที่ (พ่อ) เลี้ยง ให้ลูกอิ๊งค์เป็นนายกฯ มีผลงาน และสามารถนำพารัฐบาลไปจนครบเทอม ด้วยการเป็นแกนหลักในการช่วยแก้ไขปัญหาที่หนักอึ้งของประเทศ

            ด้วยกลยุทธ์การดำเนินนโยบายการเมือง-เศรษฐกิจระหว่างประเทศ จากคู่แข่งมาเป็นพันธมิตรเพื่อรวมตัวต่อรอง ด้วยการใช้ต้นทุนของประเทศไทยไปการันตี

ขณะเดียวกันก็พยายามเปลี่ยนสมการอำนาจการเมือง-เศรษฐกิจภายใน ด้วยการเดิมพันเปลี่ยนแปลงประเทศให้ดีขึ้นกว่าเดิม ล้างธุรกิจใต้ดินเพื่อคุมการบริหารประโยชน์ด้วยรัฐ ขจัดธุรกิจส่วนเกินจากสิ่งผิดกฎหมาย ทั้งยาเสพติดและแก๊งคอลเซ็นเตอร์ ซึ่งดูดซับเอาทรัพย์สินก้อนใหญ่ไปเสวยสุขอยู่ที่คนกลุ่มเดียว กลับมาเป็นภาษีที่นำมาใช้จ่ายภาครัฐ สร้างเม็ดเงินอัดฉีดให้กับนโยบายประชานิยมของพรรคการเมือง รวมถึงการทวงคือฐานเสียงทั้งในระดับท้องถิ่นและระดับชาติ

เข้าลักษณะ ทักษิณคิด-ทักษิณทำ แต่รัฐบาลภายใต้การนำ “อุ๊งอิ๊ง” ที่ได้รับอานิสงส์เหล่านั้นไปเต็มๆ 

เพราะอย่าลืมว่า ทักษิณก็นับว่าเป็นชายชราที่กำลังจะเป็นไม้ใกล้ฝั่ง ถึงเวลาที่จะมอบมรดกทางการเมืองและธุรกิจให้รุ่นลูกรุ่นหลานไปทำต่อในไม่ช้า

จึงไม่แปลกที่ต้องตอกเสาเข็มให้มั่นคง ปูทางให้ราบรื่น เพื่อให้คนในตระกูลรับไม้ต่อได้อย่างไม่สะดุด.

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

‘ลิณธิภรณ์‘ ติง ‘โรม‘ ไม่มีมารยาท

‘ลิณธิภรณ์‘ ติง ‘โรม‘ ไม่มีมารยาท วิจารณ์ ’อันวาร์’ หารือ ’ทักษิณ’ ทปษ.ปธ.อาเซียน เสี่ยงยุแยงสัมพันธ์ไทย-มาเลเซีย เผยอดีตนายกฯ ถูกยกย่องเป็นผู้เชี่ยวชาญ เชื่อนำพาประโยชน์สูงสุด

นายกฯสั่งการดูแลคนไทยจากอุบัติเหตุเครื่องบินไถล ยอดเสียชีวิตล่าสุดทะลุ 85 คน

นายกฯ สั่งการ กต. ตรวจสอบด่วนว่ามีคนไทยกี่คน บน Jeju Air (เชจูแอร์) หลังพบเครื่องขึ้นจากกรุงเทพประสบอุบัติเหตุที่เกาหลีใต้  พร้อมให้สถานเอกอัครราชทูตตั้งศูนย์อำนวยการ เร่งช่วยเหลือด่วน

'อิ๊งค์' สั่ง 'กต.' ตรวจสอบเครื่องบินตกเกาหลีใต้ มีคนไทยด้วยหรือไม่

นางสาวแพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี โพสต์ข้อความผ่านโซเชียลมีเดีย กรณีสายการบินเจจูแอร์ ที่รายงานเบื้องต้นแจ้งเสียชีวิต 29 คน

‘อันวาร์’ โชว์ภาพคู่ ’ทักษิณ’ ถกดับไฟใต้-แก้วิกฤตเมียนมา ตอกย้ำ ‘อิ๊งค์‘ นายกฯตัวปลอม!

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นายอันวาร์ อิบราฮิม นายกรัฐมนตรีมาเลเซีย โพสต์เฟซบุ๊กส่วนตัว Anwar Ibrahim พร้อมรูปภาพคู่กับนายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ระบุว่ารู้สึกยินดีที่ได้พบกับอดีตนายกรัฐมนตรีของไทยและเพื่อนรักอย่าง ดร.ทักษิณ ชินวัตร เพื่อหารือกันอย่างน่าสนใจ ครอบคลุม และมีประโยชน์ รวมทั้งในฐานะที่ปรึกษาไม่เป็นทางการของมาเลเซียในการดำรงตำแหน่งประธานอาเซียน

'นพดล' ฟังทางนี้! 'หมอวรงค์' จับโป๊ะ คำชี้แจง 'MOU 44'

นพ.วรงค์ เดชกิจวิกรม ประธานพรรคไทยภักดี โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กในหัวข้อ "ถึงนพดล ปัทมะ" โดยระบุว่า คำพูดของนายนพดล ปัทมะ ที่ชี้แจงพันธมิตรฯ เรื่อง MOU 44