47 เก้าอี้นายกฯอบจ. บ้านใหญ่ ลุ้นเข้าวิน-กินเรียบ!

คิกออฟ นับหนึ่งตั้งแต่จันทร์ที่ 23 ธ.ค.ที่เป็นวันแรกของการรับสมัครบุคคลที่จะลงสมัครรับเลือกตั้งนายกฯ อบจ. 47 จังหวัดทั่วประเทศ รวมถึงที่ลงสมัครเป็นสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดทั่วประเทศ 76 จังหวัด

สิ่งที่พบเห็นในการเลือกตั้งนายกฯ อบจ.-สจ.ครั้งนี้ก็คือ จะมี 2 พรรคการเมือง ที่จะส่งคนลงสมัครรับเลือกตั้งในนามพรรคอย่างเป็นทางการ คือ พรรคเพื่อไทย กับ พรรคประชาชน

ในส่วนของเพื่อไทย สัปดาห์นี้ 24 ธ.ค. แพทองธาร ชินวัตร นายกฯ และหัวหน้าพรรคเพื่อไทย จะเปิดตัวผู้สมัครนายกฯ อบจ.ของเพื่อไทยเพิ่มเติม 6 จังหวัด คือ นครราชสีมา มุกดาหาร หนองคาย บึงกาฬ น่าน ปราจีนบุรี  

ขณะเดียวกัน ทักษิณ ชินวัตร มีคิวไปช่วยเดินสายหาเสียงและขึ้นเวทีปราศรัยหาเสียงในบางจังหวัดด้วย โดยเฉพาะ เชียงใหม่ บ้านเกิดตระกูลชินวัตร ซึ่งสนามนี้ทักษิณเทหมดหน้าตัก แพ้ไม่ได้ เดิมพันสูง เพราะผลเลือกตั้ง สส. ปี 2566 ทำให้ทักษิณ-เพื่อไทย หวั่นใจไม่ใช่น้อยว่าอาจแพ้ได้ เพราะปรากฏว่าเลือกตั้ง สส. ปี 2566 เชียงใหม่ที่มี สส. 10 ที่นั่ง เพื่อไทยแพ้ให้กับพรรคส้ม ก้าวไกล เพราะก้าวไกลได้ไปถึง 7 ที่นั่ง ส่วนเพื่อไทยได้มาแค่ 2 ที่นั่ง ทั้งที่ก่อนหน้านี้เชียงใหม่ เพื่อไทยชนะยกจังหวัดมาแทบทุกครั้งตั้งแต่ยุคไทยรักไทย

ยิ่งรอบนี้พรรคประชาชนเตรียมตัวมาเป็นอย่างดี เปิดตัวผู้สมัครคือ พันธุ์อาจ ชัยรัตน์ อดีต ผอ.สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติมาร่วมปี และมีข่าวว่าวันรับสมัคร 23 ธ.ค. พิธา ลิ้มเจริญรัตน์ จะขึ้นไปหาเสียงให้กับพันธุ์อาจตั้งแต่วันรับสมัครเลยทีเดียว

ทำให้ทักษิณต้องทุ่มสรรพกำลังทุกอย่าง เพื่อตรึงเชียงใหม่ไว้ให้ได้ ไม่ให้พรรคส้มมาตีแตก จึงต้องบินไปช่วยหาเสียงให้ พิชัย เลิศพงศ์อดิศร หรือนายกฯ ก๊อง ถึง 3 วัน ตั้งแต่ 23-25 ธ.ค. หลังเห็นกระแสส้มที่เชียงใหม่ยังแรงไม่เลิกรา ผนวกกับมีข่าวว่าตัวพิชัยเองก็มีปัญหาหลายอย่าง จนลือกันว่าเพื่อไทยจะเปลี่ยนตัว แต่สุดท้ายหาคนไม่ได้ เลยได้ลงต่อ แต่ดูแล้วคงหนักไม่น้อย เพราะล่าสุดบ้านใหญ่ เชียงใหม่ตระกูล บูรณปกรณ์ ที่เคยอยู่กับทักษิณ-เพื่อไทยมาก่อน แต่ตอนนี้หักกันแล้ว ก็ประกาศชัดเจนว่าหนุนหลังช่วยพรรคส้มโค่นเพื่อไทย-ล้มทักษิณให้ดังสนั่นลั่นแคว้นล้านนากันไปเลย  

รวมถึงอีกหลายจังหวัดที่ทักษิณ-เพื่อไทยก็หวังไว้สูง โดยเฉพาะที่อีสาน ที่เพื่อไทยวางเป้าไว้ว่า คนที่พรรคส่งต้องชนะทั้งหมด

ส่วนอีกพรรคที่ส่งคนลงสมัครอย่างเป็นทางการก็คือ “พรรคส้ม-พรรคประชาชน

แต่ก็ต้องถือว่าผิดคาด เพราะจนถึงช่วงสุดสัปดาห์ ปรากฏว่า พรรคประชาชนเพิ่งเปิดตัวผู้สมัครนายกฯ อบจ. 2 รอบ ยังไม่ถึง 20 จังหวัด จากเดิมที่เคยคาดหมายกันว่าน่าจะส่งคนลงอย่างน้อยเกือบ 30 จังหวัด

มองได้ว่า หากจนถึงช่วงปิดรับสมัคร ถ้าไม่มีการส่งคนลงเพิ่ม แสดงให้เห็นว่าพรรคประชาชนคงปรับยุทธศาสตร์ เน้นส่งเฉพาะจังหวัดที่พรรคชนะเลือกตั้ง สส.ยกจังหวัด หรือเกือบยกจังหวัดตอนเลือกตั้งปี 2566 เช่น จันทบุรี ระยอง สมุทรสาคร แล้วทุ่มสรรพกำลัง ส่งคนไปช่วย ดีกว่าที่จะส่งเยอะ แล้วส่งแกนนำไปช่วยหาเสียงได้ไม่หมด รวมถึงคงคิดว่าหากส่งเยอะ แล้วแพ้ราบคาบ จะเสียหายทางการเมืองมากกว่า เลยเลือกส่งแบบเน้นๆ หวังผลได้

พบว่าบางจังหวัด พรรคประชาชนก็มีตัวเต็งเช่นกัน อาทิ ที่นครนายก ที่ส่งนายกจิม” จักรพันธ์ จินตนาพากานนท์ อดีตนายก อบจ.นครนายกสมัยที่ผ่านมา ที่เคยล้มบ้านใหญ่นครนายกฯ ตระกูล กิตติธเนศวร มาแล้วตอนเลือกตั้งนายกฯ อบจ.รอบที่แล้ว

ประเมินไว้ว่า มันจึงทำให้มีโอกาสที่พรรคส้มอาจสามารถปักธงนายกฯ อบจ.บางจังหวัดในบางภาคได้ โดยเฉพาะภาคกลาง-ตะวันออก รวมถึงมีความเป็นไปได้ที่รอบนี้พรรคส้มอาจจะได้ สจ.ในพื้นที่เขตอำเภอเมืองในหลายจังหวัด

 ทำให้มีความเป็นไปได้สูงที่ศึก อบจ.รอบนี้ พรรคส้มอาจจะปักธงได้สำเร็จ ไม่นายกฯ อบจ.บางจังหวัด ก็ สจ.ในหลายจังหวัด

ส่วนพรรคการเมืองอื่นๆ นอกจากเพื่อไทย-ประชาชน พบว่าต่างเลือกใช้วิธี สนับสนุนผู้สมัครนายกฯ อบจ. แบบคอยเป็นกองหนุน-แบ็กอัพอยู่ข้างหลัง ไม่มีการส่งคนลงในนามพรรค แต่ก็เป็นที่รู้กันว่า เป็นคนในเครือข่ายพรรคนั้นๆ ในจังหวัด

เช่น พรรคสีน้ำเงิน ก็เป็นที่รู้กันว่า ผู้สมัครนายกฯ อบจ.บางจังหวัด เช่น บุรีรัมย์ ฐานที่มั่นของภูมิใจไทย และเนวิน ชิดชอบ-ศรีสะเกษ ของบ้านใหญ่ไตรสรณกุล ที่มีไตรศุลีเป็นเลขานุการ รมว.มหาดไทย หรือที่เชียงราย ที่ อทิตาธร วันไชยธนวงศ์ ลงป้องกันแชมป์นายกฯ อบจ.เชียงรายอีกสมัย เป็นต้น ผู้สมัครนายกฯ อบจ.ในจังหวัดเหล่านี้ ล้วนเป็นคนของ ภูมิใจไทย-พรรคสีน้ำเงิน-เครือข่ายเนวิน ชิดชอบ

 เหมือนกับการเลือกตั้งนายกฯ อบจ.หลายจังหวัดก่อนหน้านี้ ที่แม้ไม่ได้ลงในนามภูมิใจไทย แต่ก็เป็นคนในเครือข่ายพรรคสีน้ำเงิน เช่น ที่ พระนครศรีอยุธยา นครศรีธรรมราช อุทัยธานี สุรินทร์ ชัยภูมิ เป็นต้น  

เพราะฝ่ายเนวิน-อนุทินคาดหวังกับศึกเลือกตั้งนายกฯ อบจ.หลายจังหวัดเช่นกัน เพื่อให้เป็นฐานการเมืองสำหรับภูมิใจไทย ไว้ต่อยอดในการเลือกตั้งระดับชาติต่อไป

ขณะที่พรรคอื่นๆ ก็ทำแบบภูมิใจไทยเช่นกัน คือไม่ได้ส่งคนลงในนามพรรค แต่ก็สนับสนุนผู้สมัครนายกฯ อบจ.ในบางจังหวัดที่ใกล้ชิดกับแกนนำพรรค-สส.พรรค เช่น พรรคประชาธิปัตย์ เฉลิมชัย ศรีอ่อน รมว.ทรัพยากรธรรมชาติฯ และหัวหน้าพรรค ปชป.-อดีต สส.ประจวบคีรีขันธ์ ก็หนุนหลัง สราวุธ ลิ้มอรุณรักษ์ หรือเฮียไล้ อดีตนายกฯ อบจ.ประจวบคีรีขันธ์ จากบ้านใหญ่ “ลิ้มอรุณรักษ์” เจ้าของสโมสรฟุตบอลพีที ประจวบ เอฟซี ลงป้องกันแชมป์นายกฯ อบจ.ประจวบคีรีขันธ์อีกรอบ หรือที่สงขลา ตระกูล ขาวทอง ของเดชอิศม์ เลขาธิการพรรค ก็หนุนหลัง สุพิศ พิทักษ์ธรรม อดีตอธิบดีกรมฝนหลวง ชิงชัยนายกฯ อบจ.สงขลา เป็นต้น หรือพรรคกล้าธรรม ของธรรมนัส พรหมเผ่า ที่ก็หนุนหลัง พงษ์ศักดิ์ จ่าแก้ว (กำนันศักดิ์) อดีตนายก อบจ.สุราษฎร์ธานี ที่แยกตัวออกมาจากพรรครวมไทยสร้างชาติ เพื่อหวังให้กำนันศักดิ์ชนะได้เป็นนายกฯ อบจ.อีกสมัย แล้วทำให้พรรคกล้าธรรมมี สส.สุราษฎร์ธานีในการเลือกตั้งสมัยหน้า ขณะที่พรรครวมไทยสร้างชาติ ที่มี สส.สุราษฎร์ธานีมากที่สุดคือ 6 คน จาก 7 คน เรียกได้ว่าเกือบชนะยกจังหวัด ก็มีข่าวก่อนหน้านี้ว่าจะหนุนหลัง นางโสภา กาญจนะ (ป้าโส) อดีต สส.สุราษฎร์ธานี คนใกล้ชิด ชุมพล กาญจนะ อดีต 5 เสือสุราษฎร์ธานี แกนนำพรรครวมไทยสร้างชาติภาคใต้ หนึ่งในบ้านใหญ่สุราษฎร์ธานี ส่วนพรรคประชาชนก็หวังเหมือนกัน ล่าสุดเมื่อวันที่ 21 ธ.ค. เปิดตัว นพ.จิรชาติ เรืองวัชรินทร์ หรือหมอมุดสัง อดีต นพ.สาธารณสุขสุราษฎร์ธานีลงสมัคร มันเลยยิ่งทำให้ ศึกชิงนายกฯ อบจ.สุราษฎร์ธานีรอบนี้เข้มข้นสูง   

อย่างไรก็ตาม วิเคราะห์ภาพรวมเชิงพื้นที่แล้ว มองได้ว่าผู้สมัครนายกฯ อบจ.หลายจังหวัดที่มาจากเครือข่าย บ้านใหญ่-ตระกูลการเมือง ยังกุมความได้เปรียบในพื้นที่ และยิ่งหากลงสมัครในพรรคใหญ่ พรรคฝ่ายรัฐบาลอย่าง เพื่อไทย ที่กุมอำนาจรัฐโดยเฉพาะ ฝ่ายปกครอง-ตำรวจ ที่สามารถช่วยเหลือการเลือกตั้งให้ได้ ด้วยแล้ว ก็ยิ่งบวกความได้เปรียบเหนือคู่แข่งขึ้นไปอีก ยิ่งหากเป็นบ้านใหญ่ที่เป็นอดีตนายกฯ อบจ.สมัยที่ผ่านมา หรือเคยเป็นอดีตนายกฯ อบจ.มาแล้วหลายสมัย ก็ยิ่งทำให้มีแต้มต่อ เอาผลงานไปหาเสียงได้ ผู้สมัครนายกฯ อบจ.คนไหนมีสเปกแบบนี้ ถือว่าเป็นต่อสูง เว้นเสียแต่เจอปัจจัยแทรกซ้อน เช่น เป็นอดีตนายกฯ อบจ. แต่อยู่มาหลายปีหลายสมัย ไม่มีผลงาน ประชาชนเริ่มเบื่อ หรือไม่แน่ ประชาชนในพื้นที่อาจเห็นว่าผู้สมัครคนดังกล่าวมาจากตระกูลการเมือง ที่ต้องกินรวบทั้งการเมืองระดับชาติและท้องถิ่น ไม่แบ่งให้คนอื่นบ้าง มันก็อาจเกิดแรงต่อต้าน ยิ่งถ้าอดีตนายกฯ อบจ.คนไหนมีประวัติทุจริต คนก็อาจไม่เลือก เสี่ยงสอบตกได้เช่นกัน

ส่วนสุดท้ายผลจะเป็นอย่างไร รอประชาชนตัดสิน 1 ก.พ.2568. 

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

‘ทักษิณ’ ยังขลัง ‘กานต์' ทิ้งห่าง น้องสะใภ้เสี่ยแป้งมัน นั่ง นายก อบจ.อุบลราชธานี

ทักษิณ ยังขลัง บ้านใหญ่ กัลป์ตินันท์ กานต์ อดีตนายก อบจ อุบล ฯนำห่าง น้องสะใภ้ เสี่ยแป้งมันหมื่นล้าน หวังศุภกิจโกศล ส่วนพรรคส้ม หมดลุ้น ตั้งแต่ออกสตาร์ท

‘พท.’ เปิดตัว ‘สลักจฤฎดิ์’ ลง นายก อบจ.เชียงราย โชว์เปิดวิดีโอ ‘ทักษิณ’ หนุนเต็มที่

พรรคเพื่อไทยจัดงานแถลงข่าวเปิดตัวว่าที่ผู้สมัครนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงรายและสมาชิก อบจ.เชียงราย ทั้ง 36 เขต ในนามพรรคเพื่อไทย

พรรคส้มดาวกระจาย สู้ศึกอบจ. ‘พิธา’ ชน ‘ทักษิณ’ ตรง ‘ประตูท่าแพ-ตลาดวโรรส’ จันทร์นี้

พรรคประชาชน(ปชน.)เตรียมตัวส่งผู้สมัครนายก อบจ.ตามจังหวัดต่างๆ ทั่วประเทศ ในวันที่ 23 ธ.ค. โดยส่งระดับแกนนำและผู้ช่วยหาเสียงที่เป็นผู้นำจิตวิญญาณลงประกบตามพื้นที่ต่างๆ

แก้วสรร : หลักคิดทางกฎหมายเรื่องอำนาจบริหารโทษของราชทัณฑ์

นายแก้วสรร อติโพธิ นักวิชาการอิสระ อดีตรองอธิการบดี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ อดีตคณะกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ (คตส.)

‘แม้ว’ ไล่ทุบ- ‘ภูมิใจไทย’ ไม่หมู ‘แดง-น้ำเงิน’ ทนอยู่แบบตบจูบ

นาทีนี้ศึกฝ่ายค้าน-รัฐบาลยังไม่เดือดเท่ากับศึกรัฐบาลด้วยกันเอง แรงขึ้นเรื่อยๆ สำหรับการขบเหลี่ยมของพรรคอันดับ 1 และพรรคอันดับ 2

'อิ๊งค์พูด ทักษิณขยายต่อ' ให้ชาวบ้านทำอาชีพขุดดินในคลองไปขาย มีแต่นายทุนได้ประโยชน์

นพ.วรงค์ เดชกิจวิกรม ประธานพรรคไทยภักดี โพสต์ข้อความทางเฟซบุ๊กว่า พ่อลูกพอกัน เราคงได้ฟังนายทักษิณ ไปแสดงวิสัยทัศน์ ที่อีสานในหลายประเด็น ผมจึงไม่แปลกใจที่ อุ๊งอิ๊งได้เอาสิ่งเหล่านี้มาพูดก่อน