เข้าสู่ช่วงโค้งสุดท้ายแล้วสำหรับ ศึกเลือกตั้งซ่อม ส.ส.กทม.เขตหลักสี่-จตุจักร ที่จะลงคะแนนเสียงเลือกตั้งกันวันอาทิตย์ที่ 30 ม.ค.นี้
ซึ่งถึงตอนนี้ แม้สถานการณ์การเมืองทุกฝ่ายจะให้ความสนใจไปที่ปัญหาการเมืองภายในพลังประชารัฐกับกรณีกลุ่มธรรมนัส พรหมเผ่า ที่ดูแล้วคงไม่จบลงแบบง่ายๆ อย่างไรก็ตาม ตั้งแต่กลางสัปดาห์นี้น้ำหนักข่าวสารการเมืองจะเทไปที่ศึกเลือกตั้งซ่อมหลักสี่-จตุจักร วันอาทิตย์ที่ 30 ม.ค.แน่นอน
เพราะอย่างที่เห็น การแข่งขันในพื้นที่ ซึ่งอยู่ในเมืองหลวง กรุงเทพมหานคร พบว่าดำเนินไปอย่างสูสี เข้มข้น ทำให้จนถึงช่วงโค้งสุดท้าย แวดวงการเมืองก็ยังประเมินยากว่าใครจะเป็นฝ่ายกุมชัยชนะ ยิ่งพื้นที่กรุงเทพมหานครเป็นที่รู้กันทางการเมืองว่า เป็นพื้นที่เลือกตั้งที่มีความอ่อนไหวทางการเมืองสูง ทุกอย่างตัดสินกันที่ กระแส เรียกได้ว่าสัปดาห์สุดท้ายคือตัวชี้วัดอย่างแท้จริงว่าใครแพ้-ใครชนะ ดังนั้นผู้สมัครรับเลือกตั้งซ่อมจากแต่ละพรรค การหาเสียงในช่วงสัปดาห์สุดท้ายจึงต้องรัดกุม พลาดไม่ได้ และสัปดาห์นี้แต่ละพรรคการเมืองคงเร่งหาเสียงอย่างหนัก แกนนำแต่ละพรรคจะลงมาช่วยหาเสียงอย่างเต็มที่ ทั้งการลงพื้นที่หรือการเปิดเวทีปราศรัย เป็นต้น
โดยถึงปัจจุบัน ผู้สมัครที่เป็นตัวหลักที่กำลังเบียดสู้กันอยู่ ก็คงไม่พ้น 5 ชื่อดังนี้ คือจากพรรคพลังประชารัฐ นางสรัลรัศมิ์ เจนจาคะ มาดามหลี ภรรยาของสิระ เจนจาคะ อดีต ส.ส.กทม. ที่ลงสมัครเพื่อรักษาพื้นที่ให้ครอบครัวได้มีที่ยืนทางการเมืองต่อไป หลังสามี สิระขาดคุณสมบัติลงเลือกตั้ง ส.ส.ตลอดไปตามรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน
ส่วน เพื่อไทย ก็ส่งอดีต ส.ส.คนเดิมตอนเลือกตั้งปี 2554 สุรชาติ เทียนทอง ลูกชาย เสนาะ เทียนทอง ซึ่งรอบนี้สุรชาติและเพื่อไทย ค่อนข้างมั่นใจมาก เพราะเลือกตั้งรอบที่แล้วแพ้สิระไปแค่ 2,000 คะแนน คือ สุรชาติได้ 32,115 คะแนน ส่วนสิระได้ 34,907 คะแนน จึงไม่แปลกที่แวดวงการเมืองจะมองว่ารอบนี้เพื่อไทยมีสิทธิ์ได้ลุ้นชนะ
นอกจากนี้ก็ยังมีจากพรรคกล้า ที่ส่ง อรรถวิชช์ สุวรรณภักดี เลขาธิการพรรคกล้า อดีต ส.ส.กทม.ประชาธิปัตย์พื้นที่ดังกล่าวลงสมัคร ซึ่งสนามนี้พรรคกล้า ทั้งกรณ์ จาติกวณิช, อรรถวิชช์ ต่างหวังให้พรรคกล้าแจ้งเกิดในการเลือกตั้งให้ได้ จะได้มี ส.ส.ในสภาฯ สักคน หลังจากที่ผ่านมายังไม่ประสบความสำเร็จในการเลือกตั้งซ่อมทั้งที่นครศรีธรรมราช-ชุมพร-สงขลา ซึ่งหากรอบนี้ที่ส่งเลขาธิการพรรค อดีต ส.ส.ที่ถือว่ามีสิทธิ์ลุ้นมากที่สุด หากพรรคกล้ายังไม่ประสบความสำเร็จ คงส่งผลต่อขวัญกำลังใจต่อพรรคกล้าไม่มากก็น้อย และอาจทำให้แกนนำพรรคต้องมาปรับขบวนทัพกันใหม่ว่าจะเอาอย่างไรต่อไป หากคิดจะรันพรรคกล้าต่อไปในสนามการเมือง
ส่วน พรรคก้าวไกล ที่มีฐานเสียงใน กทม.อยู่ไม่น้อย และมี ส.ส.กทม.อีกหลายคน แม้จะเกิดขึ้นสมัยเป็นพรรคอนาคตใหม่ ที่ตอนเลือกตั้งปี 2562 ได้คะแนนเสียงในพื้นที่ กทม.มา 804,272 คะแนน แม้จะเป็นผลพวงมาจากพรรคไทยรักษาชาติโดนยุบพรรคแล้วคน กทม.มาเลือกอนาคตใหม่แทนก็ตาม แต่ก้าวไกลก็เชื่อว่าการดำเนินงานที่ผ่านมาของพรรคทั้งในสภาฯ และนอกสภาฯ ทำให้มีฐานเสียง-แฟนคลับใน กทม.ไม่น้อย จึงทำให้พรรคก็มั่นใจระดับหนึ่งว่ารอบนี้ก็มีโอกาสลุ้น กับการที่ส่ง เพชร-กรุณพล เทียนสุวรรณ นักแสดง ลงสมัคร
รวมถึงอีกหนึ่งคนหนึ่งพรรคที่น่าจับตามองเช่นกัน คือ พรรคไทยภักดี ที่ส่ง พันธุ์เทพ ฉัตรนะรัชน์ นักธุรกิจ-แกนนำร่วมก่อตั้งพรรค ลงชิงชัยภายใต้แคมเปญหาเสียงที่ชัดเจน ไม่อ้อมค้อม โดยมีกองเชียร์ที่มีจุดยืน-แนวคิดการเมืองเดียวกันร่วมส่งเสียงเชียร์ เช่น ม.จ.จุลเจิม ยุคล หรือท่านใหม่, นพ.เหรียญทอง แน่นหนา ผอ.โรงพยาบาลมงกุฎวัฒนะ ที่ตั้งอยู่ในพื้นที่เลือกตั้งเสียด้วย
แน่นอนว่า จาก 5 รายชื่อผู้สมัคร จะพบว่า ในทางการเมือง เรื่อง การตัดคะแนน กันเองเกิดขึ้นแน่นอน เพราะอย่างไรเสียในทางการเมือง เวลานี้ก็ยังมีกลุ่มผู้มีสิทธิ์ออกเสียงเลือกตั้งก็ยังแบ่งเป็นกองเชียร์-ประชาชน-แฟนคลับ อยู่ 2 ขั้ว คือ กลุ่มไม่เอาพลเอกประยุทธ์ เบื่อรัฐบาล กับ กลุ่มกองเชียร์รัฐบาล หนุนบิ๊กตู่ ไม่ชอบฝ่ายค้าน
ซึ่งเมื่อดูจากผู้สมัครทั้ง 5 คน จะเห็นได้ว่า ยังไงคนที่ไม่เอารัฐบาล หนุนฝ่ายค้าน ก็จะมีตัวเลือกชัดๆ คือ เพื่อไทยกับก้าวไกล กลุ่มนี้ไม่มีทางจะไปเลือกพลังประชารัฐหรือไทยภักดีแน่นอน อย่างมากหากเลือกแบบกลางๆ หน่อย ก็อาจเทไปที่พรรคกล้า ส่วน กลุ่มไม่ชอบฝ่ายค้าน ไม่ชอบม็อบสามนิ้ว ยังเชียร์รัฐบาล หนุนบิ๊กตู่ ก็อาจเลือกพลังประชารัฐ แต่หากรู้สึกว่า ผู้สมัครของพลังประชารัฐยังไม่ใช่ ไม่โอเค ก็อาจไปเลือกไทยภักดีแทน คนที่คิดแบบนี้ก็คาดว่าจะมีไม่น้อย
ดังนั้น การตัดคะแนนกันเอง จึงเกิดขึ้นแน่นอน ทั้งในปีกผู้สมัครฝ่ายรัฐบาลและฝ่ายค้าน เพราะอย่างฝ่ายค้านก็จะตัดกันเองระหว่าง เพื่อไทยกับพรรคก้าวไกล จนเห็นได้ชัดว่าแกนนำเพื่อไทยกังวลเหมือนกันว่าจะถูกก้าวไกลตัดคะแนน จนคะแนนที่สุรชาติจะได้จะไม่เป็นไปตามเป้า
ผลเลือกตั้งซ่อมหลักสี่-จตุจักรที่จะออกมา นอกจากเป็นเดิมพันของการเมือง 2 ขั้วดังกล่าวแล้ว คะแนนที่แต่ละพรรคได้รับจะสะท้อนให้เห็น
คะแนนนิยม-อารมณ์ทางการเมืองของคนกรุงเทพฯ
ต่อสถานการณ์การเมืองเวลานี้ได้เป็นอย่างดีด้วย โดยเฉพาะกับพรรคตั้งใหม่อย่าง พรรคกล้า-ไทยภักดี ที่ก็คาดหวังพื้นที่ กทม.ไว้แต่แรกอยู่แล้ว ผลที่ออกมาคงทำให้ทั้ง 2 พรรคเห็นอะไรบางอย่างได้
ที่สำคัญหากฝ่ายค้านชนะในศึกครั้งนี้ รับรองได้ว่าฝ่ายค้านและฝ่ายไม่เอารัฐบาลจะแปรค่าทางการเมืองและโหมกระหน่ำว่า บิ๊กตู่กระแสตก-พลังประชารัฐเรตติงตก อย่างไม่ต้องสงสัย
ดังนั้นแกนนำพลังประชารัฐ นอกจากกำลังสาละวนกับการเคลียร์ปัญหาภายในพรรคกับกลุ่มธรรมนัส ช่วงโค้งสุดท้ายนี้ก็อาจต้องลงมาวางแผนช่วยมาดามหลีหาเสียงด้วยเช่นกัน ไม่อย่างนั้น "หลีแย่แน่"!.
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ทักษิณไฟสุมขอน ‘รทสช.’ เขย่าบัลลังก์ ‘พีระพัง’
“สู้ให้ทุกปัญหา พึ่งพาได้ทุกเรื่อง” มอตโตขับเคลื่อนพรรครวมไทยสร้างชาติ (รทสช.) จนถึงปัจจุบัน จากพรรคน้องใหม่ตอนนี้ทำงานมากว่า 3 ปีแล้ว โดยการนำของ “ตุ๋ย” พีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน และ “ขิง” เอกนัฏ พร้อมพันธุ์ เลขาธิการพรรค กุมทัพ 36 สส.ในปัจจุบัน
“รัฐบาล”ไฟลต์บังคับ “ทักษิณ”ได้แค่กร่าง
ดรามาปม “อีแอบ” อาจเป็นแค่ประเด็นโชว์กร่าง หวังกดดันให้พรรคร่วมรัฐบาลสยบยอม หลัง “ทักษิณ ชินวัตร” นายใหญ่ ที่มีสถานะเป็นพ่อนายกรัฐมนตรี ได้พ่นไฟระหว่างงานสัมมนาพรรคเพื่อไทยที่ อ.หัวหิน เมื่อวันที่ 13 ธ.ค.ที่ผ่านมา
“พ่อเลี้ยง”เปลี่ยนสนามรบเป็นทุน “ดับไฟใต้-สันติภาพเมียนมา”
“ฉายารัฐบาลพ่อเลี้ยง” นับเป็นภาพการเมืองในฝ่ายบริหารที่ “วิญญูชน” พึงประจักษ์ได้ว่าเป็นอย่างไร โดยเฉพาะการขยับตัวและคำพูดของ “ทักษิณ ชินวัตร” วิทยากร-นักวิชาการของพรรคเพื่อไทย
47 เก้าอี้นายกฯอบจ. บ้านใหญ่ ลุ้นเข้าวิน-กินเรียบ!
คิกออฟ นับหนึ่งตั้งแต่จันทร์ที่ 23 ธ.ค.ที่เป็นวันแรกของการรับสมัครบุคคลที่จะลงสมัครรับเลือกตั้งนายกฯ อบจ. 47 จังหวัดทั่วประเทศ รวมถึงที่ลงสมัครเป็นสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดทั่วประเทศ 76 จังหวัด
‘แม้ว’ ไล่ทุบ- ‘ภูมิใจไทย’ ไม่หมู ‘แดง-น้ำเงิน’ ทนอยู่แบบตบจูบ
นาทีนี้ศึกฝ่ายค้าน-รัฐบาลยังไม่เดือดเท่ากับศึกรัฐบาลด้วยกันเอง แรงขึ้นเรื่อยๆ สำหรับการขบเหลี่ยมของพรรคอันดับ 1 และพรรคอันดับ 2
ขวากหนามแก้รัฐธรรมนูญ คนกันเอง...เล่นเกมต่อรอง
เมื่อวันที่ 18 ธ.ค.ที่ผ่านมา ที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎรมีมติไม่เห็นชอบกับ ร่าง พ.ร.บ.ว่าด้วยการออกเสียงประชามติ ฉบับคณะ กมธ.ร่วมกันพิจารณาเสร็จแล้ว