ภายใต้พระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) การเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่น หรือผู้บริหารท้องถิ่น พ.ศ.2562 อย่างน้อยได้ใช้กับการเลือกตั้งองค์การบริหารส่วนจังหวัดแล้วครั้งหนึ่ง ซึ่งเกิดอุปสรรคปัญหาในทางปฏิบัติ โดยเฉพาะพรรคการเมืองลงไปช่วยผู้สมัครหาเสียงไม่ได้
อย่างไรก็ตาม สภานิติบัญญัติ (สนช.) ได้มีการปรับปรุงกฎหมายดังกล่าว เมื่อปี 2562 หนึ่งในมาตราสำคัญที่ได้แก้ไข คือ มาตรา 34 บัญญัติว่า “ในกรณีปรากฏข้อเท็จจริงว่า ข้าราชการการเมือง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภา ผู้บริหารท้องถิ่น สมาชิกสภาท้องถิ่น หรือเจ้าหน้าที่อื่นของรัฐกระทำการใดๆ โดยมิชอบ ด้วยหน้าที่และอำนาจอันเป็นการกลั่นแกล้งผู้สมัครใด หรือดำเนินการใดๆ ที่เป็นคุณหรือเป็นโทษแก่ผู้สมัครใด ให้คณะกรรมการการเลือกตั้ง หรือกรรมการการเลือกตั้ง หรือผู้อำนวยการการเลือกตั้งประจำจังหวัด หรือคณะกรรมการการเลือกตั้งประจำองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่คณะกรรมการการเลือกตั้งมอบหมาย มีอำนาจสั่งให้ยุติหรือระงับการกระทำนั้นได้”
“ให้กรรมการการเลือกตั้งที่พบเห็นการกระทำตามวรรคหนึ่ง มีอำนาจสั่งให้ระงับการกระทำนั้นได้ แล้วรายงานให้คณะกรรมการการเลือกตั้งทราบ”
ด้วยเหตุนี้ จึงไม่มีพรรคการเมืองใดกล้าออกหน้าช่วยรณรงค์หาเสียงเลือกตั้งท้องถิ่น โดยเฉพาะผู้ที่เป็น ส.ส. เพราะมาตรา 34 ห้ามไว้ว่า “ห้ามดำเนินการใดๆ ที่เป็นคุณหรือเป็นโทษแก่ผู้สมัครใด”
นอกจากนี้ พ.ร.บ.เลือกตั้งท้องถิ่นปี 62 มาตรา 69 ยังห้ามไม่ให้ “เจ้าหน้าที่ของรัฐ” ใช้ตำแหน่งหน้าที่กระทำการใดๆ อันเป็นคุณหรือเป็นโทษแก่ผู้สมัคร เว้นแต่เป็นการกระทำตามหน้าที่และอำนาจ
และมีการกำหนดโทษไว้ในมาตรา 126 วรรคสอง ว่า หากฝ่าฝืนต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 1-10 ปี หรือปรับตั้งแต่ 20,000-200,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และให้ศาลสั่งเพิกถอนสิทธิ์เลือกตั้งของผู้นั้นมีกำหนด 20 ปี
โดยคำว่า “เจ้าหน้าที่ของรัฐ” มีความหมายรวมถึง ส.ส.และรัฐมนตรี ประกอบด้วยบทลงโทษสุดโหด ทำให้ “การเลือกตั้งท้องถิ่นไร้เงาพรรคการเมืองช่วยคนของตัวเองหาเสียง” เกิดคำถามตามมาว่า บทบัญญัติมาตรา 34 ย้อนแย้งในตัวเองหรือไม่ ให้พรรคการเมืองส่งตัวแทนลงสมัคร แต่ห้ามช่วยหาเสียงให้ตัวแทนพรรค
ฉะนั้น เมื่อวันที่ 18 ต.ค.ที่ผ่านมา นายองอาจ คล้ามไพบูลย์ รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ เป็นตัวแทน ส.ส.มายื่นหนังสือถึง “ชวน หลีกภัย” ประธานสภาฯ ขอแก้ไข พ.ร.บ.เลือกตั้งท้องถิ่น มาตรา 34 โดยให้บัญญัติใหม่ ดังนี้
“ในกรณีปรากฏข้อเท็จจริงว่า ข้าราชการการเมือง ส.ส. ส.ว. สมาชิกสภาท้องถิ่น หรือผู้บริหารท้องถิ่น กระทำการใดๆ โดยมิชอบด้วยหน้าที่และอำนาจ อันเป็นการกลั่นแกล้งผู้สมัครใด ให้คณะกรรมการการเลือกตั้ง หรือกรรมการเลือกตั้ง หรือผู้อำนวยการการเลือกตั้งประจำจังหวัด หรือคณะกรรมการการเลือกตั้งประจำองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่คณะกรรมการเลือกตั้งมอบหมาย มีอำนาจสั่งให้ยุติหรือระงับการกระทำนั้นได้
ในกรณีปรากฏข้อเท็จจริงว่า เจ้าหน้าที่อื่นของรัฐกระทำการใดๆ โดยมิชอบด้วยหน้าที่และอำนาจอันเป็นการกลั่นแกล้งผู้สมัครใด หรือดำเนินการใดๆ ที่เป็นคุณหรือเป็นโทษแก่ผู้สมัครใด ให้นำความในวรรคหนึ่งมาใช้บังคับโดยอนุโลม
ให้กรรมการการเลือกตั้งที่พบเห็นการกระทำตามวรรคหนึ่งและวรรคสอง มีอำนาจสั่งให้ระงับการกระทำนั้นได้ แล้วรายงานให้คณะกรรมการการเลือกตั้งทราบ”
หลักๆ คือตัดคำว่า “หรือห้ามดำเนินการใดๆ ที่เป็นคุณหรือเป็นโทษแก่ผู้สมัครใด”
รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ชี้ว่า ด้วยการกำหนดไว้เช่นนี้ อาจนำไปสู่การตีความได้ว่า ถ้าไปช่วยหาเสียงเท่ากับเป็นคุณแก่ผู้สมัคร ขณะเดียวกันหากไปขึ้นเวทีปราศรัยวิพากษ์วิจารณ์ผู้สมัครฝ่ายตรงข้ามถือเป็นการให้โทษได้ ซึ่งคู่แข่งก็จะหยิบไปร้องต่อ กกต.
นอกจากนี้ยังเห็นว่า มาตรา 34 เป็นสิ่งที่ขัดแย้งกันเป็นอย่างมาก เพราะเมื่อพรรคการเมืองสามารถส่งผู้สมัครในนามพรรคได้ ก็ย่อมสามารถที่จะช่วยรณรงค์ในการหาเสียงเลือกตั้งได้เช่นกัน บทบัญญัติดังกล่าวจึงไม่สอดคล้องกับรัฐธรรมนูญและสภาพความเป็นจริงที่ส่งเสริมให้ประชาชนและพรรคการเมืองมีส่วนร่วมกับการปกครองส่วนท้องถิ่น
ดังนั้นจึงต้องแก้ไขให้ข้าราชการการเมือง ส.ส. ส.ว. ผู้บริหารท้องถิ่น หรือสมาชิกสภาท้องถิ่นสามารถดำเนินการใดๆ ที่มีผลต่อผู้สมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่นได้ โดยไม่ถือว่าเป็นการกระทำที่เป็นคุณหรือเป็นโทษแก่ผู้สมัครรับเลือกตั้ง
เส้นทางการแก้ไขพระราชบัญญัติฉบับนี้ เมื่อผ่านกระบวนการพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎรแล้ว ก็จะต้องเข้าสู่การพิจารณาของวุฒิสภาอีกชั้นหนึ่ง ซึ่งสมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) ส่วนใหญ่ก็มาจาก สนช.ที่เคยแก้ไขกฎหมายนี้ห้ามไม่ให้ ส.ส. ส.ว. ข้าราชการการเมือง ช่วยรณรงค์หาเสียงมาแล้ว หลายฝ่ายจึงอาจกังวลว่าจะเกิดการสะดุดได้ แต่แว่วว่าผู้ใหญ่ฝ่ายบริหารคุยกันเรียบร้อยแล้ว เส้นทางน่าจะสดใส ไร้รอยต่อ.
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ระทึกสุดขีด! 22 พ.ย. ศาลรธน.ลงมติ 'รับ-ไม่รับ' คำร้อง 'ทักษิณ-เพื่อไทย' ล้มล้างการปกครอง
คอนเฟิร์ม ศุกร์นี้ 22 พ.ย. 9 ตุลาการศาลรธน.นัดประชุมวาระพิเศษ หลังงดมาสองรอบ เตรียมนำหนังสือ-ความเห็นอัยการสูงสุด กางบนโต๊ะประชุม ก่อนลุ้นโหวตลงมติ”รับ-ไม่รับคำร้อง”คดีทักษิณ-เพื่อไทย โดนร้องล้มล้างการปกครองฯ
'แพทองธาร' โชว์วิชั่น การเมืองมีเสถียรภาพ ประเทศไทยจะดีขึ้น!
นายกฯ โชว์วิชั่น Forbes ไทยสงบ สันติ หวังรัฐบาลเปลี่ยน นายกฯเปลี่ยน แต่นโยบายเพื่อปชช.เดินหน้า บอกต่างชาติเจอคำถามแรกถามพ่อ-อาเป็นอย่างไร ย้ำการเมืองมั่นคง มีเสถียรภาพแน่นอน
ไทยในสายตาต่างชาติ (ตอนที่ 48: พระราชกฤษฎีกา 1 เมษายน 2476 คือ การทำรัฐประหารเงียบหรือ ?)
ในตอนที่แล้ว ผู้เขียนได้สรุปเหตุการณ์สำคัญต่างๆที่เป็นเงื่อนไขที่นำมาสู่การประกาศพระราชกฤษฎีกาวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2476
ปักธง1ภาค1เก้าอี้นายกอบจ. ส้มเก็บชัยหรือระเนระนาด
นับถอยหลังสู่โค้งสุดท้ายของการเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) อุดรธานี ซึ่งจะเกิดขึ้นในวันที่ 24 พ.ย.นี้ ระหว่าง นายคณิศร ขุริรัง ผู้สมัครจากพรรคประชาชน และนายศราวุธ เพชรพนมพร ผู้สมัครจากพรรคเพื่อไทย
จับตาคลอดโผแต่งตั้ง“นายพลใหญ่” ตำรวจคนสนิทฝั่งรัฐบาลพรึบยกแผง
จับตาบ่ายวันนี้ การแต่งตั้งโยกย้ายล็อตแรก “นายพลใหญ่” ระดับรอง ผบ.ตร. จเรตำรวจ-ผบช. ที่นายกฯ อุ๊งอิ๊ง น.ส.แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ในฐานะประธานคณะกรรมการข้าราชการตำรวจ (ก.ตร.) นัดประชุม ก.ตร. ครั้งที่ 10/2567 เพื่อพิจารณาบัญชีรายชื่อ “พล.ต.อ.-พล.ต.ท.” วาระประจำปี 2567
รู้ไว้ซะ 'ปิยบุตร' เผย 'ทักษิณ' ได้กลับบ้าน เพราะก้าวไกลชนะเลือกตั้ง!
นายปิยบุตร แสงกนกกุล เลขาธิการคณะก้าวหน้า โพสต์เฟซบุ๊กว่า สัปดาห์ที่ผ่านมา มีเรื่องหนึ่งที่ถูกหยิบยกมาถกเถียงกันอีกครั้ง