สัปดาห์ที่ผ่านมา คณะกรรมาธิการร่วมกันเพื่อพิจารณาร่าง พ.ร.บ.ว่าด้วยการออกเสียงประชามติ ได้ข้อสรุปหลักเกณฑ์ที่จะใช้สำหรับการแก้ไขรัฐธรรมนูญเรียบร้อย โดยให้ยึดเสียงข้างมาก 2 ชั้น กล่าวคือ 1.ต้องมีผู้ออกมาใช้สิทธิ์เกินกึ่งหนึ่งของผู้มีสิทธิ์ทั้งหมด และ 2.ต้องได้เสียงเห็นชอบเกินกึ่งหนึ่งของผู้ออกมาใช้สิทธิ์
ผลการออกเสียงมติ ปรากฏว่า เสียงส่วนใหญ่เห็นชอบตามที่วุฒิสภาแก้ไข 13 เสียง ลงมติให้แก้ไขเพิ่มเติมตามที่สภาผู้แทนราษฎรเสนอ 9 เสียง และงดออกเสียง 3 เสียง จากองค์ประชุมทั้งหมด 25 คน
ขณะนี้ถือว่ายังไม่จบเรื่อง ขั้นตอนต่อไปจะต้องนำกลับไปพิจารณาต่อที่ประชุมวุฒิสภา และที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎร ในสมัยประชุมที่กำลังจะถึงในเวลาอันใกล้นี้ คาดว่าวันที่ 16 ธ.ค.จะเข้าสู่วาระการประชุมวุฒิสภา และวันที่ 18 ธ.ค.จะเข้าสู่วาระการประชุมสภาผู้แทนราษฎร
ประเด็นสำคัญอยู่ที่ว่า แต่ละสภาคิดเห็นอย่างไรกับการยึดเสียงข้างมาก 2 ชั้น ในส่วนของวุฒิสภา หรือ สว. น่าจะเห็นชอบในหลักเกณฑ์ดังกล่าว และคงไม่มีปัญหา เพราะหลักเกณฑ์เป็นไปตามที่วุฒิสภาแก้ไข แต่ปัญหาจะไปเกิดขึ้นที่ สส.มากกว่า เนื่องจากในฐานะที่สภาผู้แทนฯ หรือ สส. เป็นต้นเรื่องตั้งแต่แรก เห็นชอบให้การทำประชามติยึดหลักเกณฑ์แค่เสียงข้างมากปกติ
แต่ต่อมาในการพิจารณาของวุฒิสภาไม่เห็นด้วยกับต้นเรื่อง โดยอยากให้ใช้เกณฑ์เสียงข้างมาก 2 ชั้นสำหรับการแก้ไขรัฐธรรมนูญ เพราะเห็นว่าเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศ ถ้าใช้เพียงเสียงข้างมากปกติธรรมดาจะดูไม่ศักดิ์สิทธิ์และจะมีปัญหาด้านความชอบธรรมตามมาอีกด้วย
ด้วยประการทั้งปวงจึงเป็นเหตุให้มีการตั้งคณะ กมธ.ร่วมกันระหว่าง สส.และ สว. ซึ่งเมื่อวันที่ 20 พ.ย.ที่ผ่านมา ก็ได้ข้อสรุปอย่างที่กล่าวไว้ข้างต้น
อย่างไรก็ตาม วันที่ 18 ธ.ค.ที่จะถึงนี้ ต้องคอยดูทางออกของ สส.ว่าจะเห็นด้วยกับข้อสรุปของคณะ กมธ.ร่วมหรือไม่ แต่แนวโน้มเป็นไปได้ยากมากที่สภาฯ จะเห็นด้วยกับเกณฑ์เสียงข้างมาก 2 ชั้น เพราะช่วงที่สภาฯ พิจารณาร่าง พ.ร.บ.ว่าด้วยการออกเสียงประชามติ วาระ 2 และวาระ 3 ไฟเขียวแบบเสียงข้างมากปกติไปแล้ว
หากสภาฯ ไม่เห็นชอบกับคณะ กมธ.ร่วมกัน ตามกฎหมายระบุว่าจะต้องเว้นว่างไป 180 วัน หรือ 6 เดือน จากนั้นสภาฯ จึงสามารถยืนยันในหลักเกณฑ์เสียงข้างมากปกติของตนเองได้ และเมื่อดีดลูกคิดทางการเมือง ผนวกกับระยะเวลาขั้นตอนตามกฎหมายต่างๆ แล้ว พบว่าในการเลือกตั้งใหญ่ทั่วประเทศครั้งถัดไป หากรัฐบาลอยู่ครบเทอมจะยังต้องใช้รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน
ความตั้งใจของพรรคเพื่อไทย (พท.) และพรรคประชาชน (ปชน.) ที่ต้องการใช้รัฐธรรมนูญฉบับใหม่ในการเลือกตั้งใหญ่ครั้งหน้า ก็อาจจะไปไม่ถึงฝั่ง ยกเว้นว่าสภา สส.จะเห็นด้วยกับข้อสรุปของคณะ กมธ.ร่วมกัน!!! ซึ่งนั่นจะทำให้สังคมมองว่าสภา สส.เหมือนเป็นไม้หลักปักขี้เลน พร้อมที่จะไม่มีหลัก (การ) เพื่อให้ได้สิ่งที่ตัวเองต้องการ ดังนั้นแนวโน้มเรื่องนี้น่าจะไปในทาง 180 วันมากกว่า
จากเหตุทั้งหมดนี้ “ชูศักดิ์ ศิรินิล” รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในฐานะรองหัวหน้าพรรคเพื่อไทย จึงหาหนทางปลดล็อกเงื่อนเวลา 180 วัน เพื่อจะได้ยกร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ให้เสร็จภายในรัฐบาลนี้ โดยเสนอว่าให้พิจารณาร่าง พ.ร.บ.ประชามติ เป็นกฎหมายการเงิน ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 138 วรรคท้าย จะลดเวลาการพักกฎหมายจาก 180 วันเป็น 10 วัน
ทว่าแล้วทางออกนี้จะแห้ว เพราะเจอ “นิกร จำนง” กมธ.ร่วมพิจารณาร่างกฎหมายประชามติ ผู้เชี่ยวชาญด้านการแก้ไขกฎหมาย ออกมาคัดค้านแนวคิดบิดๆ เบี้ยวๆ ของ “อ.ชูศักดิ์” ฝ่ายกฎหมายของพรรคเพื่อไทย
โดย “นิกร” ให้สัมภาษณ์ตอนหนึ่งว่า จริงๆ แล้วมันไม่เป็น พ.ร.บ.การเงิน และตอนที่เราทำกฎหมายนี้ เราก็รู้อยู่แล้วว่ามันต้องใช้เงิน จำนวน 3 พันกว่าล้านบาท ซึ่งถือว่ารู้อยู่ก่อนแล้ว แล้วมาแก้ว่าจะเอาสัดส่วนเกณฑ์ออกเสียงประชามติ 2 ชั้นหรือ 1 ชั้น เท่านั้นเอง และถ้าเป็น พ.ร.บ.การเงิน ก็เป็นตั้งแต่ปี 64 แล้ว ไม่ใช่มาเป็น พ.ร.บ.การเงินตอนนี้ เพราะเราแก้เพียงบางมาตรา และเสร็จสิ้นชั้นสภาไปแล้ว
นอกจากนี้ “นิกร” ยังกล่าวด้วยว่า ถ้าเราไปเชิญประธานกรรมาธิการทุกคณะมาร่วมกันพิจารณาแล้วใช้เสียงข้างมาก อาจจะผิดรัฐธรรมนูญได้ เพราะไม่เป็น พ.ร.บ.การเงิน หรือแม้จะเป็นก็เลยเวลาที่จะทักท้วงไป ซึ่งถือว่าสายไปแล้ว
ขณะที่ “ชูศักดิ์” ก็เสียงอ่อย บอกว่า “สิ่งที่นายนิกรพูดมาผมก็ไม่ได้เถียงอะไร แต่ปัญหาข้อกฎหมายต้องหารือกันว่ามีทางออกอะไรหรือไม่” พร้อมกันนี้ยังปรับเป้าหมายใหม่ว่าจะผลักดันเต็มที่ให้เกิดสภาร่างรัฐธรรมนูญ (ส.ส.ร.) อย่างน้อยก่อนหมดวาระรัฐบาลชุดนี้
ดูแนวโน้มหนทางจะได้ใช้รัฐธรรมนูญใหม่ในการเลือกตั้งใหญ่ครั้งหน้าดูจะริบหรี่ แต่ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับจำนวนครั้งในการทำประชามติแก้รัฐธรรมนูญด้วย ซึ่ง สส. สว.ก็ต้องหาข้อตกลงกันต่อไป ว่าจะ 2 หรือ 3 ครั้ง!.
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ทักษิณไฟสุมขอน ‘รทสช.’ เขย่าบัลลังก์ ‘พีระพัง’
“สู้ให้ทุกปัญหา พึ่งพาได้ทุกเรื่อง” มอตโตขับเคลื่อนพรรครวมไทยสร้างชาติ (รทสช.) จนถึงปัจจุบัน จากพรรคน้องใหม่ตอนนี้ทำงานมากว่า 3 ปีแล้ว โดยการนำของ “ตุ๋ย” พีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน และ “ขิง” เอกนัฏ พร้อมพันธุ์ เลขาธิการพรรค กุมทัพ 36 สส.ในปัจจุบัน
“รัฐบาล”ไฟลต์บังคับ “ทักษิณ”ได้แค่กร่าง
ดรามาปม “อีแอบ” อาจเป็นแค่ประเด็นโชว์กร่าง หวังกดดันให้พรรคร่วมรัฐบาลสยบยอม หลัง “ทักษิณ ชินวัตร” นายใหญ่ ที่มีสถานะเป็นพ่อนายกรัฐมนตรี ได้พ่นไฟระหว่างงานสัมมนาพรรคเพื่อไทยที่ อ.หัวหิน เมื่อวันที่ 13 ธ.ค.ที่ผ่านมา
“พ่อเลี้ยง”เปลี่ยนสนามรบเป็นทุน “ดับไฟใต้-สันติภาพเมียนมา”
“ฉายารัฐบาลพ่อเลี้ยง” นับเป็นภาพการเมืองในฝ่ายบริหารที่ “วิญญูชน” พึงประจักษ์ได้ว่าเป็นอย่างไร โดยเฉพาะการขยับตัวและคำพูดของ “ทักษิณ ชินวัตร” วิทยากร-นักวิชาการของพรรคเพื่อไทย
47 เก้าอี้นายกฯอบจ. บ้านใหญ่ ลุ้นเข้าวิน-กินเรียบ!
คิกออฟ นับหนึ่งตั้งแต่จันทร์ที่ 23 ธ.ค.ที่เป็นวันแรกของการรับสมัครบุคคลที่จะลงสมัครรับเลือกตั้งนายกฯ อบจ. 47 จังหวัดทั่วประเทศ รวมถึงที่ลงสมัครเป็นสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดทั่วประเทศ 76 จังหวัด
‘แม้ว’ ไล่ทุบ- ‘ภูมิใจไทย’ ไม่หมู ‘แดง-น้ำเงิน’ ทนอยู่แบบตบจูบ
นาทีนี้ศึกฝ่ายค้าน-รัฐบาลยังไม่เดือดเท่ากับศึกรัฐบาลด้วยกันเอง แรงขึ้นเรื่อยๆ สำหรับการขบเหลี่ยมของพรรคอันดับ 1 และพรรคอันดับ 2
‘ณัฐวุฒิ’ ย้ำ ‘เพื่อไทย-พรรคส้ม ’ อยู่ก๊กเดียวกัน ชี้ ภท. ก๊กอนุรักษ์นิยมขวางแก้รธน.
นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ ที่ปรึกษาของนายกรัฐมนตรี โพสต์เฟซบุ๊ก ว่าผลการลงมติร่างพ.ร.บ.ประชามติ คืออีกรูปธรรมหนึ่งของก