การเคลื่อนไหวต่อต้านบันทึกความเข้าใจระหว่างไทย-กัมพูชา เพื่อแก้ไขปัญหาเขตแดนและแผนพลังงานเมื่อปี 2544 หรือ MOU44 และการปลุกกระแสการเสียเกาะกูดให้กัมพูชา ถ้ามีการเจรจาผลประโยชน์ระหว่างรัฐบาล 2 ชาติ ถูกมองว่าเป็นเกมการเมือง และปฏิกิริยา “คลั่งชาติ” ของพวกฝ่ายขวา ที่มีฐานรากมาจากฝ่ายเสื้อเหลือง พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย และ กปปส.ผนวกรวมกับ “ศัตรูการเมือง” ฝ่ายตรงข้าม “ทักษิณ ชินวัตร”
สำเนียงและสุ่มเสียงดังกล่าวชัดเจนจากปากของ “ภูมิธรรม เวชยชัย” รองนายกรัฐมนตรีฝ่ายความมั่นคง และ รมว.กลาโหม ที่ยืนยันว่า “กัมพูชา” ไม่เคยบอกว่าเกาะกูดเป็นของเขา และ ณ ปัจจุบัน การเจรจาในเรื่องการแบ่งประโยชน์พลังงานใต้ทะเลในพื้นที่ทับซ้อนก็ยังไม่เกิด
แต่ก็ไม่ได้ปฏิเสธว่ารัฐบาลจะเดินหน้าการเจรจาแบ่งผลประโยชน์พลังงานใต้ทะเล เพราะขณะนี้ขั้นตอนเป็นเรื่องทางเทคนิคที่ได้มอบหมายให้กระทรวงการต่างประเทศไปดูในรายละเอียด โดยเฉพาะโครงสร้างของคณะกรรมการที่มีการปรับเปลี่ยน
ล่าสุด พรรคพลังประชารัฐเรียงหน้ากระดานแถลงในเรื่องนี้ที่รัฐสภา โดยมี นายชัยมงคล ไชยรบ สส.สกลนคร พร้อมด้วย นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล ประธานด้านวิชาการของพรรค และหม่อมหลวงกรกสิวัฒน์ เกษมศรี กรรมการบริหารพรรค
“พลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ หัวหน้าพรรคได้เล่าให้ผมฟังว่า สมัยที่เป็นรองนายกฯ และเป็นประธานคณะกรรมการด้านเทคนิคฝ่ายไทย ในการเจรจากับกัมพูชา ซึ่งเจรจาไปได้ไม่นาน กัมพูชาก็พูดถึงเกาะกูดทุกครั้ง พลเอกประวิตรจึงสั่งให้เลื่อนการเจรจาออกไป ทำให้การเจรจาไม่บรรลุผลสำเร็จ แต่เป็นที่ชัดเจนว่า เกาะกูดอยู่ในใจของกัมพูชาอย่างแน่นอน เพราะฉะนั้นเราต้องฝากความหวังไว้ที่พลเอกประวิตร เพื่อจะช่วยรักษาดินแดนของไทยเอาไว้ “นายธีรชัยระบุระหว่างแถลงข่าว
หากย้อนกลับไปเมื่อช่วงปลายรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นนายกรัฐมนตรี พบว่า พล.อ.ประวิตรเพิ่งจะได้นั่งเป็นประธานที่ประชุมคณะกรรมการร่วมด้านเทคนิคไทย-กัมพูชา (ฝ่ายไทย) วันที่ 1 ต.ค.2564 เพื่อพิจารณาร่างกรอบการเจรจากับฝ่ายกัมพูชา ในการพัฒนาพื้นที่ที่ไทยและกัมพูชาอ้างสิทธิในไหล่ทวีปทับซ้อนกัน พร้อมทั้งพิจารณาแต่งตั้งคณะทำงานไทย-กัมพูชา ว่าด้วยการแบ่งเขตทางทะเล (ฝ่ายไทย) และคณะทำงานไทย-กัมพูชา เกี่ยวกับระบอบพัฒนาร่วม (ฝ่ายไทย) แต่รัฐบาลหมดวาระลงก่อน เรื่องดังกล่าวจึงถูกพับเก็บเอาไว้
แต่เมื่อเปลี่ยนมาเป็นรัฐบาล “เศรษฐา ทวีสิน” เป็นนายกฯ ก็ประกาศชัด และจะเร่งสานต่อเรื่องดังกล่าวเพื่อให้เกิดความมั่นคงทางพลังงาน สร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจให้เกิดขึ้น แต่ทุกอย่างก็ยังไม่เป็นรูปธรรม
“ทูตปู” มาริษ เสงี่ยมพงษ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ เดินทางไปเยือนกัมพูชา เมื่อวันที่ 27 มิ.ย.2567 เพื่อกระชับความสัมพันธ์และความร่วมมือกันในทุกมิติ ทั้งด้านการค้า การลงทุน รวมทั้งสานต่อเรื่องการเจรจาพื้นที่ทับซ้อนทางทะเล หรือ OCA
ในขณะนั้น “ทูตปู” ตอบคำถามสื่อว่า "ฮุน มาเนต นายกรัฐมนตรีกัมพูชา อยากเห็นความร่วมมือในการนำพลังงานที่อยู่ในพื้นที่ทับซ้อนขึ้นมาใช้ เพราะถ้ายังไม่ทำ โอกาสที่ทรัพยากรที่มีมูลค่าสูงในพื้นที่ตรงนี้จะหายไป"
นายกรัฐมนตรีกัมพูชาบอกด้วยว่า เข้าใจไทยก็คงมีความระมัดระวัง เข้าใจมุมมองของไทยเรื่องความละเอียดอ่อน พร้อมสนับสนุนและพร้อมที่จะร่วมมือกับไทยในทุกๆ ด้าน เพื่อให้นำเอาทรัพยากรที่มีอยู่เป็นจำนวนมากขึ้นมาใช้ เพื่อผลประโยชน์ร่วมกัน
ซึ่ง “ทูตปู” ก็บอกว่า เป็นเรื่องที่ต้องใช้เวลา ไทยพร้อมจะร่วมมือ แต่เนื่องจากมีประเด็นสำคัญทางเทคนิคมาก จึงต้องให้ผู้ที่มีความชำนาญในเรื่องเทคนิคทั้งในเรื่องกฎหมายและพลังงาน การสำรวจการผลิตก็ต้องมีคณะกรรมการขึ้นมาพิจารณา โดยทั้งหมดต้องให้เป็นไปตามบันทึกความเข้าใจ MOU44 คือปัญหาเขตแดนและการพัฒนาพลังงานต้องไปด้วยกัน เพื่อให้ทุกอย่างมีความโปร่งใสและเป็นประโยชน์กับทั้ง 2 ประเทศโดยรวม
จึงพอจะอนุมานได้ว่า “ความต้องการ” ที่เร่งร้อนในเรื่องดังกล่าวมาจากฝ่ายกัมพูชาที่มองหาแหล่งปิโตรเลียมจากการเจรจาแบ่งผลประโยชน์ใต้ทะเลดังกล่าว เพราะที่ผ่านมากัมพูชาซื้อพลังงานเหล่านี้จากต่างประเทศทั้งหมด
เมื่อจังหวะเวลาในการเข้ามาเป็นรัฐบาลของพรรคเพื่อไทย ถือเป็นโอกาสที่ดีในการเริ่มเปิดการเจรจาอีกครั้ง เพราะมองเห็นถึงความสัมพันธ์ที่แนบแน่นของ 2 ตระกูล น่าจะหนุนส่งให้การเจรจาทุกอย่างราบรื่นและง่ายกว่าผู้นำจากขั้วการเมืองอื่น
ขั้นตอนต่อไปคือการรอ “ทูตปู” ออกมาเปิดเผยความคืบหน้าในการดำเนินการเรื่องดังกล่าวว่าไปถึงไหน และรัฐบาลจะวางโครงสร้างคณะกรรมการอย่างไร จะให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ หรือรองนายกฯ ฝ่ายความมั่นคง จะนั่งเป็นประธาน ก็อยู่ที่การวางน้ำหนักว่าจะ “เจรจา” แบบไหน เพราะฝ่ายกัมพูชาเองก็มีการเปลี่ยนตัวประธานคณะกรรมการตามจังหวะและโอกาสมาแล้ว ไม่ว่าจะเป็น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ หรือรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานมาแล้วเช่นกัน
และหากเป็นไปตามโครงสร้างเดิมที่กระทรวงการต่างประเทศได้วางไว้ จะมีคณะอนุกรรมการปักปันเขตแดนทางทะเล และในส่วนของการพัฒนาร่วม มีอธิบดีกรมสนธิสัญญาและกฎหมายของกระทรวงต่างประเทศเป็นหัวหน้าคณะ และมีผู้แทนจากฝ่ายความมั่นคง และคณะอนุกรรมการทางด้านการพัฒนาร่วม จะให้อธิบดีกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ กระทรวงพลังงานเป็นหัวหน้าคณะ และมีองค์ประกอบจากเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาพลังงานเข้ามามีส่วนร่วม
และที่ต้องจับตามองคือ สูตรในการเจรจาจะออกมาเป็นอย่างไร เมื่อมี MOU44 เป็นกรอบในการดำเนินการอยู่ ซึ่งยังมีความเห็นแตกเป็น 2 ฝ่ายว่าควรจะยกเลิกไป เพราะเสียเปรียบเรื่องเขตแดน หรือบางฝ่ายมองว่าเป็นเกราะป้องกันไม่ให้มีการนำทรัพยากรในทะเลมาใช้ได้อย่างง่าย โดยใช้เงื่อนปมเรื่องเขตแดนตีกันไว้แล้ว รวมไปถึงสูตรในการแก้ไข MOU44 ซึ่งต้องเข้าสภาฯ อีกหรือไม่
แต่เหนืออื่นใดคือ ความชัดเจน ความโปร่งใส ในการทำเรื่องนี้ของรัฐบาล ที่ควรชี้แจงขั้นตอน และแนวทางการเจรจาให้เกิดความเข้าใจ เพื่อเป็นการแสดงเจตนารมณ์ว่าไม่มีวาระซ่อนเร้นใดๆ อยู่เบื้องหลัง ภายใต้หลักการที่ว่า เมื่อเกิดการเจรจาขึ้น “ทั้งสองฝ่ายมีส่วนที่ได้และเสียเหมือนกัน” แต่ไทยต้องไม่เสียเปรียบอีกฝ่าย เพราะความสัมพันธ์ใกล้ชิด 2 ตระกูล
เพราะความคลางแคลงใจ ไม่ไว้วางใจ ต่อเรื่องผลประโยชน์ทับซ้อน เป็นภาพจำของฝ่ายอนุรักษนิยมที่เชื่อว่ายังคงมีอยู่ จึงไม่แปลกที่ต้องระแวงระวัง ตีกัน และมีบางกลุ่มหยิบยืมไปใช้สำหรับการเคลื่อนไหวปลุกกระแสทางการเมืองด้วย.
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ปักธง1ภาค1เก้าอี้นายกอบจ. ส้มเก็บชัยหรือระเนระนาด
นับถอยหลังสู่โค้งสุดท้ายของการเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) อุดรธานี ซึ่งจะเกิดขึ้นในวันที่ 24 พ.ย.นี้ ระหว่าง นายคณิศร ขุริรัง ผู้สมัครจากพรรคประชาชน และนายศราวุธ เพชรพนมพร ผู้สมัครจากพรรคเพื่อไทย
จับตาคลอดโผแต่งตั้ง“นายพลใหญ่” ตำรวจคนสนิทฝั่งรัฐบาลพรึบยกแผง
จับตาบ่ายวันนี้ การแต่งตั้งโยกย้ายล็อตแรก “นายพลใหญ่” ระดับรอง ผบ.ตร. จเรตำรวจ-ผบช. ที่นายกฯ อุ๊งอิ๊ง น.ส.แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ในฐานะประธานคณะกรรมการข้าราชการตำรวจ (ก.ตร.) นัดประชุม ก.ตร. ครั้งที่ 10/2567 เพื่อพิจารณาบัญชีรายชื่อ “พล.ต.อ.-พล.ต.ท.” วาระประจำปี 2567
1แสนชื่อจี้นายกฯเลิกMOU44
“ภูมิธรรม” ลั่้นไม่มีใครเลิกเอ็มโอยู 44 ได้ ไม่ว่าประชาชนหรือสภาฯ
ยากจะขวาง‘โต้ง’นั่งปธ.บอร์ดธปท. แนวต้านขอสกัดจนนาทีสุดท้าย!
แม้จะมีข่าวว่า กรรมการคัดเลือกประธานกรรมการและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) มีมติเลือก เสี่ยโต้ง-นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง ให้เป็นประธานกรรมการธนาคารแห่งประเทศไทย หรือบอร์ดแบงก์ชาติคนใหม่
‘ภูมิธรรม’ มั่นใจนายกฯกลับมาประชุมตั้ง ‘เจทีซี’ เสร็จ ชงเข้าครม.19 พ.ย.ทันที
‘ภูมิธรรม’ ระบุ หากนายกฯกลับมา เรียกถก ตั้ง เจทีซี วันนี้ก็ เข้าครม.ทันพรุ่งนี้ โยน กต.เคาะรายชื่อ ลั่น เกาะกูดไม่จบซํ้ารอยเขาพระวิหารแน่ ยัน ไม่มีเหตุผลต้องยกเลิกเอ็มโอยู 44
โค้งสุดท้ายศึกนายกอบจ.อุดรฯ เดิมพันสูง พท.VSปชน.แพ้ไม่ได้
นับจากวันจันทร์ที่ 18 พ.ย.ก็เหลืออีกเพียง 7 วันเท่านั้น ก็จะถึงวันลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง ศึกนายกฯ อบจ.อุดรธานี ทำให้ตอนนี้ถือว่าเข้าสู่ช่วงโค้งสุดท้ายที่จะได้รู้กันแล้วว่า