นับถอยหลังคดีตากใบหมดอายุความ รัฐล้มเหลว จำเลยลอยนวล

นับถอยหลังจากวันพฤหัสบดีที่ 24 ต.ค. ก็เหลือเวลาอีกแค่ 2 วันเท่านั้น “คดีสลายการชุมนุมตากใบ” ซึ่งเกิดเหตุเมื่อ 25 ต.ค.2547 ในยุครัฐบาลทักษิณ ชินวัตร จะ "หมดอายุความ" แล้วในเวลาเที่ยงคืนวันศุกร์ที่ 25 ต.ค.นี้ ซึ่งจนถึงขณะนี้รัฐไทยก็ยังไม่สามารถติดตามตัวจำเลยในคดีตากใบ ทั้งคดีที่ประชาชน-ญาติผู้เสียชีวิตยื่นฟ้องต่อศาลนราธิวาส และคดีที่อัยการสูงสุดยื่นฟ้อง มาส่งตัวต่อศาลนราธิวาสได้ หลังมีการออกหมายจับไปหลายวัน

 ทำให้จนถึงขณะนี้หลายฝ่ายมองว่า มีโอกาสสูง หากถึงวันศุกร์ที่ 25 ต.ค.นี้ คดีตากใบคงไม่ได้เข้าสู่กระบวนการยุติธรรม เพราะไม่สามารถเอาตัวจำเลยมาขึ้นศาลได้ ส่งผลให้คดีหมดอายุความ

สิ่งที่เกิดขึ้นแม้ภาครัฐ-รัฐไทย ทั้งฝ่ายรัฐบาล-สำนักงานตำรวจแห่งชาติ รวมถึงหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จะพยายามออกมายืนยันว่า ไม่ได้นิ่งเฉย มีการติดตามตัว-ค้นหาตัวจำเลยทั้งหมดอย่างเต็มที่แล้ว แต่ก็ไร้วี่แววว่าจะสามารถติดตามตัวมาได้ แต่ก็ยังพบว่า เสียงวิพากษ์วิจารณ์ในทำนองตั้งคำถามต่อความเอาจริงเอาจังของเจ้าหน้าที่รัฐในเรื่องนี้ก็ยังมีอยู่มาก เพราะจำเลยในสำนวนคดีที่ประชาชนฟ้องก็พบว่า เป็นระดับอดีตข้าราชการระดับสูง ในกองทัพ-สำนักงานตำรวจแห่งชาติ-กระทรวงมหาดไทย ที่บางคนก็เป็นเพื่อนร่วมรุ่นเตรียมทหาร-เพื่อนร่วมรุ่น นรต.กับนายทักษิณ ชินวัตร รวมถึงเป็นอดีต สส.เพื่อไทยเองด้วย คือ พลเอกพิศาล วัฒนวงษ์คีรี อดีต สส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย ที่แม้จะลาออกจากสมาชิกเพื่อไทยจนพ้นจากการเป็น สส.ไปแล้ว แต่คนยังมองว่าเพื่อไทยเทกแอ็กชันเรื่องนี้ช้าเกินไป และทำเพราะโดนกระแสสังคมกดดันอย่างหนัก

ขณะที่ข้อเสนอจากบางฝ่าย เช่น นักกฎหมาย-นักวิชาการ เสนอให้รัฐบาลแพทองธาร ชินวัตร ใช้ช่องทางตามรัฐธรรมนูญออก “พระราชกำหนด” แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา เพื่อปลดล็อกไม่ให้คดีที่เจ้าหน้าที่รัฐถูกฟ้องดำเนินคดีเพราะไปละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างรุนแรง จนทำให้ประชาชนบาดเจ็บเสียชีวิต ไม่มีอายุความเหมือนเช่นคดีทุจริตฯ เพื่อจะได้ทำให้คดีตากใบ ไม่ต้องหมดอายุความวันที่ 25 ต.ค. และยังเป็นการป้องกันระยะยาวไม่ให้มีการหนีคดีในลักษณะเช่นนี้อีก แต่ก็พบว่าข้อเสนอดังกล่าวก็มีบางฝ่ายไม่เห็นด้วย โดยยกเหตุผลในด้านข้อกฎหมาย-การบังคับใช้ มาแย้งแนวคิดดังกล่าว ผนวกกับดูจากช่วงเวลาที่เหลืออยู่ไม่ถึง 2 วันก่อนคดีหมดอายุความ กระบวนการดังกล่าวก็น่าจะไม่ทันแล้ว รวมถึงท่าทีของฝ่ายรัฐบาล ไล่ตั้งแต่ แพทองธาร ชินวัตร นายกฯ, ภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกฯ และ รมว.กลาโหม, พ.ต.อ.ทวี สอดส่อง รมว.ยุติธรรม ต่างสงวนท่าที ไม่ได้ตอบรับกับข้อเสนอดังกล่าวเท่าใดนัก เพราะคงมองว่าเป็นเรื่องใหญ่ที่ต้องศึกษาผลดี-ผลเสีย หากจะออก พ.ร.ก.มาในช่วงนี้ ที่เวลากระชั้นชิดเกินไปในการตัดสินใจ

 ในเชิงการเมือง มีการจับตามองเหมือนกันว่า หลังวันที่ 25 ต.ค. หากคดีหมดอายุความ คดีไม่เข้าสู่กระบวนการพิจารณาของศาลยุติธรรม รัฐบาลแพทองธาร ชินวัตร และพรรคเพื่อไทย จะมีท่าทีอย่างไรในเรื่องนี้ โดยเฉพาะกับญาติผู้บาดเจ็บเสียชีวิต ที่ร่วมกันสู้คดี จนนำคดีไปฟ้องต่อศาลนราธิวาส ที่พบว่าตอนนี้ก็มีข้อเสนอที่หลากหลาย เช่น การขอให้รัฐบาล-นายกฯ-พรรคเพื่อไทย ในฐานะพรรคแกนนำรัฐบาล ขอโทษประชาชน ที่สุดท้ายคดีตากใบ ซึ่งเหตุการณ์เกิดขึ้นในช่วงรัฐบาลทักษิณ ชินวัตร ไม่เข้าสู่กระบวนการยุติธรรม

 นอกจากนี้ก็ยังมีข้อเสนอที่เห็นว่า หากคดีหมดอายุความ แต่เมื่อยังเป็นเรื่องที่หลายฝ่ายต้องการให้มีกระบวนการนำเสนอข้อเท็จจริงต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเมื่อ 20 ปีที่แล้ว เพื่อให้สังคมได้รับทราบข้อมูล-ข้อเท็จจริง โดยเฉพาะการสลายการชุมนุม และการควบคุมตัวประชาชนในวันเกิดเหตุของเจ้าหน้าที่รัฐ ที่นำไปสู่การสูญเสียร่วม 85 ชีวิต ซึ่งคนรุ่นใหม่ในปัจจุบันยังไม่ทราบรายละเอียด-ข้อเท็จจริงแบบรอบด้านของเหตุการณ์ ก็มีข้อเสนอว่า ก็ควรมีบางฝ่ายเป็นตัวกลาง เช่น ฝ่ายนิติบัญญัติ-สภาผู้แทนราษฎร ที่อาจเป็นกรรมาธิการสามัญของสภาฯ หรือวุฒิสภา คณะใดคณะหนึ่ง จัดเวทีกลางหรือเปิดพื้นที่สาธารณะที่รัฐสภา เพื่อให้มีพื้นที่ในการพูดคุยจากทุกฝ่ายมาเล่าข้อเท็จจริงเหตุการณ์ดังกล่าว รวมถึงผลที่ตามมาหลังจากนั้นให้สังคมรับรู้ และถอดบทเรียนร่วมกันเพื่อไม่ให้เกิดเหตุลักษณะดังกล่าวขึ้นอีก หลังคดีไม่สามารถไปพิสูจน์ข้อเท็จจริงในชั้นศาลได้   

ทั้งหมดข้างต้นก็เป็นข้อเสนอที่เกิดขึ้นในช่วงนี้ ช่วงที่นับถอยหลังคดีตากใบกำลังจะหมดอายุความ ท่ามกลางเสียงผิดหวังที่รัฐไทยไม่สามารถติดตามตัวจำเลยทั้งหมดในคดีมาขึ้นศาลได้

โดยพบว่า ในช่วงนับถอยหลังคดีตากใบ ก็ยังคงมีข้อเสนอ-ข้อเรียกร้องออกมาต่อเนื่องจากบุคคลหลายกลุ่ม-หลายองค์กรต่างๆ ที่มีข้อเสนอถึงรัฐบาล เช่น แถลงการณ์เมื่อ 23 ต.ค. ของ คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) ที่ออกแถลงการณ์เรื่อง ขอให้รัฐบาลเร่งแก้ไขเยียวยาการละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างร้ายแรงกรณีการสลายการชุมนุมที่ตากใบ โดยระบุตอนหนึ่งว่า

...คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ขอเรียกร้องให้รัฐบาลไทยและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการเพื่ออำนวยความยุติธรรมกรณีการสลายการชุมนุมที่ตากใบ ดังต่อไปนี้

1.เร่งนำตัวผู้ต้องหาในคดีนี้ทุกรายเข้าสู่กระบวนการยุติธรรม เพื่อมิให้เกิดวัฒนธรรมการลอยนวลพ้นผิด โดยอาศัยช่องว่างจากการดำเนินคดีล่าช้าและการขาดอายุความของคดี

2.ให้มีการเยียวยาความเสียหายที่มิใช่เฉพาะตัวเงิน การเยียวยานี้หมายรวมถึงการทำความจริงให้ประจักษ์ โดยญาติและครอบครัวของผู้เสียชีวิตและผู้เสียหายต้องได้รับทราบข้อเท็จจริงอย่างสมบูรณ์และครบถ้วน อันเป็นการให้ความเคารพในศักดิ์ศรีของเหยื่อและผู้สูญเสีย

3.ผลักดันแก้ไขกฎหมายให้คดีที่เจ้าหน้าที่ของรัฐกระทำการละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างร้ายแรง จนเป็นเหตุให้ประชาชนจำนวนมากเสียชีวิต เช่น คดีตากใบ เป็นคดีที่ไม่มีอายุความ

ส่วนสถานการณ์ต่อจากนี้จะเป็นอย่างไร ต้องรอติดตามหลังวันที่ 25 ต.ค.อีกครั้งหนึ่ง แต่มองดูแล้ว ถ้าคดีหมดอายุความ เพราะภาครัฐไม่สามารถติดตามตัวจำเลยไปส่งศาลได้ทัน ในทางการเมืองเห็นชัดไม่เป็นผลดีต่อรัฐบาลเพื่อไทย.

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ชวน 'นายกฯอิ๊งค์' ลงใต้ ฟังความทุกข์ทรมานจากปาก 'เหยื่อ-ครอบครัวผู้เสียชีวิต'

'อังคณา' ชี้รัฐบาลพท.-แพทองธาร ปฏิเสธความรับผิดชอบคดีตากใบไม่ได้ ชวนนายกฯ ลงใต้ ฟังความทุกข์ทรมานจากปากเหยื่อ-ครอบครัวผู้เสียชีวิต เตือนระวังคนรู้สึกไม่เป็นธรรม อาจเข้าร่วมขบวนการก่อเหตุ

'ประเสริฐ​' โลกสวย! 'พิเชษฐ์-​ ชลน่าน​' ฟาดกันกลางสภาฯ ​แค่กระเซ้าเย้าแหย่

'ประเสริฐ​' ชี้ 'พิเชษฐ์-​ ชลน่าน​' ปะทะคารมกลางสภาฯ​ แค่กระเซ้าเย้าแหย่​ ปัดตอบ สส. เพื่อไทย โหวตคว่ำข้อสังเกต กมธ.นิรโทษกรรม โยนถามวิปรัฐบาล

สว. ห่วงบีอาร์เอ็นฉวย 'คดีตากใบ' โหมไฟใต้ วอนหน่วยมั่นคงป้องเหตุร้าย

'สว.' ห่วงสถานการณ์ชายแดนใต้ ชี้บีอาร์เอ็นฉวยคดีตากใบโหมไฟใต้ วอนหน่วยความมั่นคงบูรณาการปกครองรับมือ ป้องเหตุร้ายสถานที่ราชการ-ร้านค้า-ปั้มน้ำมัน-ชุมชนไทยพุทธ

'ภูมิธรรม' ชี้ 'นิรโทษกรรม' จบแล้ว! หลังสภาโหวตคว่ำข้อสังเกต กมธ.

นายภูมิธรรม เวชชัย รองนายกรัฐมนตรีและรมว.กลาโหม กล่าวถึงกรณีสภาผู้แทนราษฎรรับทราบรายงานผลการศึกษาแนวทางการตรากฎหมายนิรโทษกรรมคดีการเมือง

พรรคร่วมยกการ์ดสูง นิรโทษ112 ระแวงพท.-ปชน.ร่วมมือเฉพาะกิจ

จบไปแล้วกับ รายงานศึกษาแนวทางการตราพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) นิรโทษกรรม ของคณะกรรมาธิการ (กมธ.) วิสามัญฯ ที่มี “ชูศักดิ์ ศิรินิล” รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เป็นประธาน กมธ. ภายหลังสัปดาห์ที่ผ่านมา สภาฯ ติดขัดไม่ได้ลงมติ เนื่องจาก “พิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน” รองประธานสภาฯ คนที่ 1 ชิ่งปิดประชุมไปเสียก่อน

'อดิศร' ลั่นเพื่อไทยโหวตคว่ำรายงานนิรโทษกรรม จะเอาหน้าไปไว้ไหน!

นายอดิศร เพียงเกษ สส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย กล่าวว่า ในช่วงเช้าวันที่ 24ต.ค. พรรคเพื่อไทยจะประชุมสส.ที่รัฐสภา ก่อนลงมติโหวตจะรับข้อสังเกตรายงานคณะกรรมาธิการ (กมธ.) วิสามัญศึกษาแนว