จากปฏิกิริยาความไม่ค่อยเป็นเอกภาพของพรรคร่วมรัฐบาล โดยเฉพาะอย่าง “เพื่อไทย-ภูมิใจไทย” จนมีการมองว่ามีการนำประเด็นยุบพรรคที่เป็นขื่อคาคออยู่ทั้งสองพรรคขึ้นมาเล่นเกมกันนั้น เป็นแค่การต่อรองทางการเมืองและผลประโยชน์เท่านั้น
เมื่อวันศุกร์สุดสัปดาห์มีข่าวในทำนองว่า นายแสวง บุญมี เลขาธิการ กกต. ในฐานะนายทะเบียนพรรคการเมือง ได้พิจารณา 6 คำร้องที่มีผู้ร้องขอให้ กกต.พิจารณาสั่งยุบพรรคเพื่อไทย และ 6 พรรคร่วมรัฐบาลเดิม จากเหตุ นายทักษิณ ชินวัตร ซึ่งไม่ใช่สมาชิกพรรคกระทำการครอบงำ ชี้นำ และ 6 พรรคการเมืองยินยอมให้นายทักษิณ ครอบงำ ชี้นำ โดยเห็นว่าคำร้องมีมูล และให้มีการตั้งคณะกรรมการสอบสวน เพื่อดำเนินการสอบสวนและมีความเห็นเสนอ โดยให้ดำเนินการให้แล้วเสร็จภายใน 30 วัน แต่สามารถขอขยายได้อีกครั้งละไม่เกิน 30 วัน จนกว่าจะแล้วเสร็จ
โดยผู้ร้องเห็นว่า เข้าข่ายขัดมาตรา 29 พ.ร.ป.ว่าด้วยพรรคการเมือง ที่ห้ามมิให้ผู้ที่ไม่ใช่สมาชิกพรรคกระทำการใดอันเป็นการควบคุม ครอบงำ หรือชี้นำกิจกรรมของพรรคการเมืองไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อม และการที่พรรคเพื่อไทย และ 6 พรรคร่วมรัฐบาลเดิมยินยอมให้บุคคลอื่นซึ่งไม่ใช่สมาชิกพรรคกระทำการอันเป็นการควบคุม ครอบงำ หรือชี้นำ กิจกรรมของพรรคการเมืองไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อม ก็เข้าข่ายขัดมาตรา 28 ซึ่งหากการสอบสวนพบว่าเป็นความผิดก็จะเป็นเหตุให้นายทะเบียนพรรคการเมืองเสนอต่อ กกต.ให้ยื่นต่อศาลรัฐธรรมนูญสั่งยุบพรรคตามมาตรา 92 (3) ของกฎหมายเดียวกันได้
กรณีดังกล่าวมีผู้ร้องที่ถูกระบุว่าเป็นบุคคลนิรนาม นพ.วรงค์ เดชกิจวิกรม ประธานพรรคไทยภักดี, นายเรืองไกร ลีกิจวัฒนะ สมาชิกพรรคพลังประชารัฐ, นายนพรุจ วรชิตวุฒิกุล อดีตแกนนำกลุ่มพิราบชาว 2006 เป็นผู้ยื่นคำร้อง อ้างถึงพฤติการณ์ของนายทักษิณ ได้อ้างถึงการที่แกนนำ 6 พรรคร่วมรัฐบาลเดิมไปร่วมประชุมกับนายทักษิณที่บ้านจันทร์ส่องหล้า เพื่อพิจารณาเสนอชื่อบุคคลที่เหมาะสมเป็นนายกรัฐมนตรี หลังศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยให้ความเป็นรัฐมนตรีของนายเศรษฐา ทวีสิน สิ้นสุดลง
และอ้างอิงถึงการให้สัมภาษณ์ของนายทักษิณหลายครั้งเกี่ยวกับการจัดสรรตำแหน่งรัฐมนตรีระหว่างการจัดตั้งรัฐบาล การชี้นำพรรคเพื่อไทยในการเลือกพรรคร่วมรัฐบาล การนำวิสัยทัศน์ที่นายทักษิณได้แสดงไว้เมื่อวันที่ 22 ส.ค. มาเป็นส่วนหนึ่งของนโยบายรัฐบาล
ขณะที่นายชูศักดิ์ ศิรินิล รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในฐานะฝ่ายกฎหมายของรัฐบาล เหมือน รู้ทางมวย ระบุว่า ไม่เป็นไร ก็ชี้แจงไป ซึ่งก็ทราบว่าร้องถึง 6 พรรค ดังนั้นไม่เป็นไร ก็ชี้แจงกันไป และเคยให้สัมภาษณ์ไปแล้วว่า ถ้าอ้างว่าครอบงำ ในวันนั้นที่แกนนำพรรคร่วมรัฐบาลไปที่บ้านจันทร์ส่องหล้ามีการคุยกันและเห็นร่วมกันว่าอย่างไร จำได้หรือไม่ และวันรุ่งขึ้นพรรคเพื่อไทยได้มีการประชุมก็เห็นของเราอีกอย่างหนึ่ง ดังนั้นจะมีอะไรมาครอบงำ ยืนยันว่าไม่มี
แต่แค่การที่มีข่าวว่า “แสวง บุญมี” รับคำร้องไว้พิจารณาก็ทำให้เกิดแรงกระเพื่อมเล็กๆ เพราะปรากฏการณ์ทางการเมืองในช่วงนี้ดู แปลกแปร่ง นำไปสู่การวิเคราะห์ ตีความถึงเสถียรภาพรัฐบาลน่าจะไม่มั่นคงมากนัก ต้องยอมรับว่าพรรคแกนนำอย่าง “เพื่อไทย” ไม่ได้มีเสียงในมือที่จะสั่งชี้นิ้ว ขวาหัน-ซ้ายหัน เหมือนยุคที่เก้าอี้ สส.ท่วมท้นในอดีต การต่อรองจึงทำได้แค่การอุปโลกน์โมเดล “จับมือ” กับพรรคส้มไว้เป็นเครื่องมือต่อรอง
แม้จะเป็นการมองว่าเป็น “การละคร” ของเหล่าบรรดา “นักการเมือง-นายทุน" ที่สร้างสภาวะแวดล้อมให้เกิดความปั่นป่วน เพื่อลบล้างคำมั่นสัญญาและจุดยืนต่อการพัฒนาประชาธิปไตยที่ได้เคยหาเสียงไว้ แต่ในนั้นก็ปรากฏว่ามี “ร่องรอย” ให้เห็นถึงความไม่ลงรอยกันเท่าใดนัก แต่ก็ใช่ว่าจะ “ปิดบิล” กันไม่ได้
หรือแม้กระทั่งท่าทีชักออกชักเข้าในเรื่องการแก้ไข รธน. พ.ร.บ.ประชามติ เลยไปถึงการรับรองรายงานของคณะกรรมาธิการฯ ประเด็นนิรโทษกรรม และกฎหมายในฝ่ายรัฐบาลที่เสนอต่อสภา
โดยมี “พิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน” รองประธานสภาฯ จากพรรคเพื่อไทย คอย “สับคัตเอาต์” ปิดฉากลิเกไม่ให้มีการลงมติ สะท้อนให้เห็นถึงร่องรอย “การส่งสัญญาณต่อรอง-การเตือนล่วงหน้า” เพราะหลายดีลในพรรคร่วมรัฐบาลยังไม่ได้ข้อยุติและยังไม่ลงตัว
ว่าแต่ว่า อะไรที่ ไม่ลงรอยกัน ในเหล่าบรรดาพรรคร่วมรัฐบาล ซึ่งมีพรรคเพื่อไทยเป็น “แกนนำ”?
เพราะในที่สุดแล้วล้วนเป็นเรื่อง “รสนิยม” ของเหล่าพ่อค้าวาณิชที่เข้ามาเสวยอำนาจอยู่ในรัฐบาล ต่างมีเป้าหมายในเรื่องของ "ผลประโยชน์” ที่มาจากการอนุมัติโครงการ รวมไปถึงเมกะโปรเจกต์ที่ยังตกลงกันไม่ได้
อย่าลืมว่ายังมี “เมกะโปรเจกต์” มูลค่ามหาศาลที่ยังไม่ “เคาะ” หรือเดินหน้าอนุมัติ ทั้งที่ตั้งแท่นรอมานาน
ไม่ว่าจะเป็น “เอนเตอร์เทนเมนต์คอมเพล็กซ์” หรือ “การเจรจาผลประโยชน์ทางพลังงานในพื้นที่ทับซ้อนทางทะเล” เลยไปถึงโครงการของพรรคร่วมรัฐบาลที่ยังค้างเติ่งอีกหลายโครงการ
โดยเฉพาะเอนเตอร์เทนเมนต์คอมเพล็กซ์ ซึ่งนายจุลพันธ์ อมรวิวัฒน์ รมช.การคลัง ในฐานะประธาน กมธ. บอกว่าจะนำเรื่องนี้เข้าสู่การพิจารณา ครม. ตั้งแต่ 2 ครั้งแรกที่มีการประชุม แต่ดูเหมือนว่าเรื่องกลับเงียบไป ท่ามกลางกระแสข่าวว่าเหล่าบรรดา ผู้ลงขัน ตัวจริงยังคุยกันไม่จบ
โดยเฉพาะพื้นที่ “ออกใบอนุญาต” และเค้กหลายก้อนจะถูกหั่นซอยให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียจำนวนหนึ่ง
และเมื่อทุกอย่างลงตัว ไอ้โม่ง ที่ได้รับการจัดสรรเค้กก้อนนี้ก็จะค่อยๆ ถูกเปิดเผยตัวออกมา และคงไม่เกินความคาดหมายของผู้ที่สืบค้นข้อมูลเรื่องนี้อยู่แล้ว
ไม่นับรวมกรณีของการแบ่งก๊าซธรรมชาติทางทะเลระหว่างไทย-กัมพูชา ที่ถือเป็นประเด็นอ่อนไหว และรัฐบาลไม่กล้าที่จะขยับเรื่องนี้มาก
5 มี.ค.2567 พล.ร.อ.พัลลภ ตมิศานนท์ สมาชิกวุฒิสภา (สว.) อภิปรายในสภา เรียกร้องให้รัฐบาลทำหนังสือประท้วงกัมพูชา กรณีสร้างสันเขื่อนลงทะเลอ่าวไทย ยึดหลักเขต 73
5 เม.ย.2567 ธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล อดีต รมว.การคลัง ประธานกรรมการด้านวิชาการ พรรคพลังประชารัฐ โพสต์ผ่านเฟซบุ๊ก ย้ำรัฐบาลยื่นประท้วงรัฐบาลกัมพูชา ให้ทำลายสันเขื่อนที่สร้างยื่นลงไปในทะเลหลักเขตที่ 73
10 เม.ย.2567 ไพบูลย์ นิติตะวัน รองหัวหน้าพรรคพลังประชารัฐ ยื่นคำร้องต่อผู้ตรวจการแผ่นดิน ส่งเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิฉัย MOU 2544 ขัดหรือแย้งรัฐธรรมนูญหรือไม่
4 ก.ย.2567 ศาลรัฐธรรมนูญมีมติเสียงข้างมาก 6 ต่อ 3 มีคำสั่งไม่รับคำร้องไว้พิจารณาวินิจฉัยในคดีที่นายไพบูลย์ นิติตะวัน รองหัวหน้าพรรคพลังประชารัฐ เพราะไม่ปรากฏว่านายไพบูลย์เป็นบุคคลซึ่งถูกละเมิดสิทธิหรือเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญโดยตรงจากการกระทำของผู้ถูกร้องทั้งสอง ข้ออ้างของนายไพบูลย์จึงเป็นเพียงการแสดงความคิดเห็น
แต่ต้องยอมรับว่า การแบ่งผลประโยชน์พื้นที่ทับซ้อนไทย-กัมพูชา ภายใต้กรอบ MOU 2544 กับความสัมพันธ์แนบแน่นสองตระกูล “ชินวัตร-ฮุน เซน” ถูกจับตามองอยู่ไม่น้อย และเป็น ของร้อน ที่พรรคร่วมรัฐบาลต้องขยับกันให้ถูกจังหวะ
จากปฏิกิริยาความไม่ค่อยเป็นเอกภาพของพรรคร่วมรัฐบาล โดยเฉพาะอย่าง “เพื่อไทย-ภูมิใจไทย” จนมีการมองว่ามีการนำประเด็นยุบพรรคที่เป็นขื่อคาคออยู่ทั้งสองพรรคขึ้นมาเล่นเกมกันนั้น เป็นแค่การต่อรองทางการเมืองและผลประโยชน์เท่านั้น
ทำให้ “หนูอิ๊งค์” นายกฯ แพทองธาร ที่ถูกตั้งคำถามเรื่องศักยภาพความเป็นผู้นำ จึงต้องกระชับอำนาจด้วยการเชิญพรรคร่วมรัฐบาลมาดินเนอร์เป็นครั้งแรกในวันที่ 21 ต.ค.นี้ เพื่อสร้างภาพความสมานฉันท์กันให้เกิดขึ้น
ส่วนประเด็นที่คุยจะเป็นไปอย่างที่คาดการณ์ หรือเป็นแค่การเปิดหัวไว้เพื่อลงลึกในรายละเอียดรายโครงการในวงพูดคุยอื่น คงต้องไปสืบเสาะหารายละเอียดกันต่อไป
ส่วนเรื่อง แก้ รธน.-เรื่องยุบพรรค ในช่วงรัฐบาลนี้ เป็นเรื่องที่ยังอยู่ไกลความเป็นจริง และคงไม่ได้เกิดขึ้นง่ายๆ เพราะทั้งสองพรรคมีจุดร่วมที่ได้ประโยชน์จากผลของการยื้อเรื่องดังกล่าวไว้ แล้วค่อยไปว่ากันช่วงเลือกตั้งทั่วไป ว่าจะมีการปรับกติกาอะไรให้สองพรรคได้ประโยชน์แบบวิน-วิน
ขณะที่กระบวนการพิจารณายุบพรรคต้องใช้เวลาอีกหลายเดือน ซึ่งการเจรจา “แบ่งเค้ก” คงเห็นทิศทางที่ชัดเจนมากขึ้น และคงไม่แตกหัก เพราะเป็นกลุ่มการเมืองที่ “ผูกปิ่นโต” กันมาอย่างยาวนาน
ปรากฏการณ์ทางการเมืองช่วงนี้อาจจะมีการกวนน้ำให้ขุ่น เขย่าวาทกรรมกันไปมา แต่คาดว่าไม่ได้ส่งผลให้แตกหักหรือเปลี่ยนผู้มีอำนาจ จะเรียกได้ว่าเป็นการละครเพื่อแบ่งเค้กให้จบอย่างลงตัวเท่านั้น.
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
วิถี ‘ผู้นำ’ ตระกูลชินวัตร คำร้องเยอะ ตรวจสอบเข้ม
หากถอดรหัสคำพูดของ "อุ๊งอิ๊ง" แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เกี่ยวกับกรณีที่ถูกร้องเรียนจาก "นักร้อง" เห็นชัดว่า หากเป็นไปได้ไม่อยากมีคดีติดตัว
'ทักษิณ' ฟิตจัด ลุยช่วยหาเสียงนายก อบจ. 3 วัน 9 เวที พื้นที่ภาคอีสาน
สำหรับตารางการลงพื้นที่ของนายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ในฐานะผู้ช่วยหาเสียงผู้สมัครนายกองค์การบริการส่วนจังหวัด (อบจ.) พรรคเพื่อไทย (พท.) ในพื้นที่ภาคอีสานช่วงเดือนม.ค.นี้
คปท. บุก 'แพทยสภา' ให้กำลังใจ ยึดมั่นจรรยาบรรณ พิสูจน์ความจริง ไม่ฟอกผิด 'นักโทษเทวดา'
ที่อาคารมหิตลาธิเบศร กระทรวงสาธารณสุข นายพิชิต ไชยมงคล แกนนำเครือข่ายนักศึกษาประชาชนปฏิรูปประเทศไทย (คปท.) นายนัสเซอร์ ยีหมะ ตัวแทนเครือข่ายนักศึกษาประชาชนปฏิรูปประเทศไทย (คปท.) ดร.ใจเพชร กล้าจน ตัวแทนกองทัพธรรม นายอานนท์ กลิ่นแก้ว ตัวแทนศูนย์รวมประชาชนปกป้องสถาบัน (ศปปส.) ยื่นหนังสือถึง นายกแพทยสภาและกรรมการแพทยสภา เรื่อง ขอให้ยึดมั่นในจรรยาบรรณแพทย์
“กาสิโน”เผือกร้อน“กฤษฎีกา” สมดุลการเมือง-ผลกระทบสังคม
จับตาร่าง พ.ร.บ.การประกอบธุรกิจสถานบันเทิงครบวงจร พ.ศ. .... หรือร่างกฎหมายกาสิโนในมือสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา หลัง ครม.เห็นชอบตามที่กระทรวงการคลังเสนอร่างกฎหมาย ว่าจะตรงปกและเป็นไปตามความต้องการของฝ่ายการเมืองหรือไม่ และอีกหนึ่งมติคือ ข้อห่วงใยผลกระทบทางสังคมและปัญหาอบายมุขตามมา
เพื่อไทยเปิดตัวบ้าน 'ม่วงศิริ' เข้าเป็นสมาชิกพรรค
ที่พรรคเพื่อไทย (พท.) ถ.วิภาวดีฯ พรรคพท.นำโดย น.ส.ธีรรัตน์ สำเร็จวาณิชย์ รมช.มหาดไทย ฐานะแกนนำภาค กทม. นายจักรพงษ์ แสงมณี ที่ปรึกษานายกฯ นายพงษ์กวิน จึงรุ่งเรืองกิจ รองหัวหน้าพร