“จึงเกิดคำถามว่า 'รัฐบาลแพทองธาร' ซึ่งประกอบไปด้วย พรรคร่วมรัฐบาล และคนที่เคยขับไล่และยึดอำนาจตัวเองรวมกัน 330 เสียง ภายใต้การชักใยของ 'ทักษิณ' ที่สนิทสนมกับทุนใหญ่ผูกขาดประเทศ กำลังทำงานเพื่อรับใช้พี่น้องประชาชน เอาประโยชน์ประเทศเป็นที่ตั้ง และไม่ได้ทำเพื่อเอื้อกลุ่มทุนใดหรือใครคนใดคนหนึ่งใช่หรือไม่”
เมื่อวันที่ 22 ส.ค.ที่ผ่านมา เสมือนเป็นภาพชัยชนะของ “ทักษิณ ชินวัตร” อดีตนายกฯ นับตั้งแต่บินกลับมารับโทษในไทยเป็นเวลา 1 ปี ตั้งแต่ 22 ส.ค. 2566 หลังจากหนีคดีข้อหาทุจริตคอร์รัปชันไปถึง 17 ปี กระทั่งบัดนี้เขาสามารถยึดอำนาจรัฐบาลได้อย่างเบ็ดเสร็จ
ไม่เท่านั้น ยังสามารถผลักดันลูกสาวคนสุดท้อง “อุ๊งอิ๊ง" แพทองธาร ชินวัตร ได้เป็นนายกฯ คนที่ 31 ด้วยคะแนนเสียงจากสภาผู้แทนราษฎร 319 เสียง ซึ่งถือเป็นทายาทรุ่นที่ 3 ของตระกูลชินวัตร ต่อจาก “ทักษิณ” และ “ยิ่งลักษณ์"
หลังจาก “เศรษฐา ทวีสิน” สะดุดขาตัวเองตกเก้าอี้ด้วยปมจริยธรรม กรณีแต่งตั้ง “พิชิต ชื่นบาน” เป็นรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
โดยความคืบหน้าล่าสุด ได้มีการส่งรายชื่อ “ครม.อุ๊งอิ๊ง 1” ให้สำนักงานเลขาธิการ ครม.และคณะกรรมการกฤษฎีกา นำรายชื่อไปตรวจสอบคุณสมบัติอย่างเข้มงวด โดยต้องคำนึงถึง “ความซื่อสัตย์” และ “จริยธรรม” เพื่อป้องกันอุบัติเหตุทางการเมืองซ้ำสอง
ขณะเดียวกัน รายชื่อ ครม.ชุดใหม่นี้ยังทำให้สองพรรคการเมืองแตกเป็นสองฟากและคลานเข่าขอเข้าร่วมเป็นรัฐบาล ซึ่งขึ้นอยู่กับว่าพรรคเพื่อไทยจะตัดสินใจอย่างไร
ได้แก่ พลังประชารัฐ ที่แบ่งเป็นกลุ่ม "ลุงป้อม” พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ กับกลุ่ม "ร.อ.ธรรมนัส พรหมเผ่า" เลขาธิการพรรคและ รมว.เกษตรและสหกรณ์ ที่ขอประกาศอิสรภาพจาก “ลุงป้อม”
ต่อด้วยกรณีพรรคประชาธิปัตย์ 21 เสียง นำโดย “เฉลิมชัย ศรีอ่อน” หัวหน้าพรรค ที่ต้องการเข้าร่วมรัฐบาล ขณะที่อีก 4 เสียงนำโดย "ชวน หลีกภัย” สส.บัญชีรายชื่อ ยืนยันทำหน้าที่ฝ่ายค้าน พร้อมสาปส่งลูกพรรคค่ายสีฟ้า
“นพ.พรหมินทร์ เลิศสุริย์เดช” เลขาธิการนายกฯ ให้สัมภาษณ์ถึงความคืบหน้าการส่งรายชื่อว่าที่รัฐมนตรีของพรรคร่วมรัฐบาลว่า รายชื่อส่งมาเรียบร้อยแล้ว กำลังอยู่ในขั้นตอนการส่งตรวจ แต่รายชื่อที่ส่งมามีเกินจำนวนรัฐมนตรี จึงต้องมีการตรวจสอบคุณสมบัติทุกคน รายชื่อที่เกินไม่เชิงสำรอง แต่ทั้งหมดอยู่ในหมวดที่ต้องพิจารณา "ผมคิดว่าไม่น่าจะเกิน เผลอๆ สัปดาห์เดียวก็ได้" นพ.พรหมินทร์กล่าว
มีรายงานสำหรับโผ “ครม.แพทองธาร 1” เบื้องต้นที่ยังไม่มีนิ่งและอาจมีการขยับ มีจำนวน 35 คน เพื่อให้คณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจสอบคุณสมบัติ ได้แก่ พรรคเพื่อไทย (17 คน : รมว.8-รมช.9) ภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกรัฐมนตรี, สุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รองนายกรัฐมนตรีและ รมว.คมนาคม, มนพร เจริญศรี รมช.คมนาคม, สุรพงษ์ ปิยะโชติ รมช.คมนาคม, พิชัย ชุณหวชิร รมว.การคลัง, จุลพันธ์ อมรวิวัฒน์ รมช.การคลัง,
เผ่าภูมิ โรจนสกุล รมช.การคลัง, สมศักดิ์ เทพสุทิน รมว.สาธารณสุข, เสริมศักดิ์ พงษ์พานิช รมว.กลาโหม (ไม่นิ่ง), พล.ท.นิมิตต์ สุวรรณรัฐ รมช.กลาโหม (ไม่นิ่ง), ประเสริฐ จันทรรวงทอง รมว.ดิจิทัลฯ, สรวงศ์ เทียนทอง รมว.การท่องเที่ยวฯ, มาริษ เสงี่ยมพงษ์ รมว.การต่างประเทศ, ธีรรัตน์ สำเร็จวาณิชย์ รมช.มหาดไทย, สุดาวรรณ หวังศุภกิจโกศล รมว.วัฒนธรรม, จิราพร สินธุไพร รมต.ประจำสำนักนายกรัฐมนตรี, ชูศักดิ์ ศิรินิล รมต.ประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
พรรคภูมิใจไทย (8 คน : รมว.4-รมช.4) อนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและ รมว.มหาดไทย, ทรงศักดิ์ ทองศรี รมช.มหาดไทย, พล.ต.อ.เพิ่มพูน ชิดชอบ รมว.ศึกษาธิการ, สุรศักดิ์ พันธ์เจริญวรกุล รมช.ศึกษาธิการ, พิพัฒน์ รัชกิจประการ รมว.แรงงาน, ศุภมาส อิศรภักดี รมว.การอุดมศึกษาฯ, นภินทร ศรีสรรพางค์ รมช.พาณิชย์, ชาดา ไทยเศรษฐ์ รมช.มหาดไทย
พรรครวมไทยสร้างชาติ (4 คน : รมว.2-รมช.2) พีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค รองนายกรัฐมนตรีและ รมว.พลังงาน, เอกนัฏ พร้อมพันธุ์ รมว.อุตสาหกรรม, พิมพ์ภัทรา วิชัยกุล รมช.การคลัง (ไม่นิ่ง), สุชาติ ชมกลิ่น รมช.พาณิชย์
สส.กลุ่ม ร.อ.ธรรมนัส (2 คน : รมว.1 รมช.1) ร.อ.ธรรมนัส พรหมเผ่า รมว.เกษตรและสหกรณ์, อรรถกร ศิริลัทธยากร รมช.เกษตรและสหกรณ์, พรรคประชาธิปัตย์ (2 คน : รมว.1-รมช.1) เฉลิมชัย ศรีอ่อน รมว.ทรัพยากรฯ, เดชอิศม์ ขาวทอง รมช.สาธารณสุข, พรรคชาติไทยพัฒนา วราวุธ ศิลปอาชา รมว.การพัฒนาสังคมฯ และพรรคประชาชาติ พ.ต.อ.ทวี สอดส่อง รมว.ยุติธรรม
ในจำนวนที่ถูกเสนอล่าสุดนี้ ยังไม่นับรวมบุคคลที่อาจจะไม่ผ่านการตรวจสอบคุณสมบัติ และจะมีบุคคลอื่นเข้ามาแทนที่ เช่น ร.อ.ธรรมนัส, นายชาดา, นายเอกนัฏ, นายเฉลิมชัย
สำหรับรายชื่อ ครม.ตามสัดส่วนพรรคและกลุ่มการเมืองต่างๆ ถูกคอนเฟิร์มในหลักการโดย "ทักษิณ ชินวัตร” ผ่านงานดินเนอร์ทอล์ก หัวข้อ Vision for Thailand 2024 เมื่อวันที่ 22 ส.ค.ที่ผ่านมา โดยมีบรรดานักการเมือง ข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ ภาคธุรกิจ และภาคเอกชนเข้าร่วมรับฟังจำนวนมาก
“ทักษิณ” ระบุว่า ขณะนี้มีเสียงในสภาฯ สนับสนุนถึง 330 เสียง มากกว่ารัฐบาลเศรษฐาที่มี 314 เสียง จากการดึงพรรคประชาธิปัตย์และพรรคพันธมิตรอื่นๆ เข้ามาเสริม
โดยเขี่ยโควตาของ "บิ๊กป้อม” และ “คนตระกูลวงษ์สุวรรณ” ออกไป ทั้งไม่แคร์ที่จะดึง กกปส.และ คสช.เข้ามาเป็นรัฐมนตรี ถึงแม้เขาเหลานั้นจะมีส่วนยึดอำนาจ ขับไล่ตัวเองและน้องสาว ให้กลายเป็นสัมภเวสีหนีคดีอยู่ต่างประเทศนานหลายปี
ตอกย้ำด้วยช่วงหนึ่งที่ "ทักษิณ” เดินเข้าไปหา “ชัยชนะ เดชเดโช” รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ โดยมี "ร.อ. ธรรมนัส” นั่งร่วมโต๊ะข้าง “เดชอิศม์ ขาวทอง” เลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์ พร้อมจับมือก่อนที่เดชอิศม์จะชมว่า “ต้องยอมรับว่าสุดยอดจริงๆ” ก่อนที่ทั้งคู่จะพูดคุยกันอย่างออกรสและกอดคอกันด้วยสีหน้ายิ้มแย้ม ส่วนหนึ่งของบทสนทนา "ร.อ.ธรรมนัส” ได้พูดติดตลกบนโต๊ะอาหารว่า “เอาของผมเข้า ยกของพี่ออก”
จากนั้น “ทักษิณ” ยังตอบคำถามที่ว่าพรรคประชาธิปัตย์ (ปชป.) จะมาร่วมรัฐบาลหรือไม่ว่า “ปชป.ก็มาร่วม เห็นไหมเขามางานวันนี้ วันนี้ไทยต้องสามัคคีกัน คือเราแบ่งหน้าที่กันทำ แต่เราไม่ได้เป็นศัตรู ใครมีหน้าที่อะไรก็ทำหน้าที่ตามนั้น มาเป็นศัตรูกันทำไม เราคนไทยด้วยกัน”
พร้อมกับเล่าฉากหลังการแตกหักกับ "บิ๊กป้อม” จนถึงวันนี้ ปมเหตุตั้งประธาน ป.ป.ช. โดยจุดเริ่มต้นของความบาดหมางมาจากสมัยก่อน บิ๊กป้อมเคยสมัครเป็นประธานกรรมการ ป.ป.ช. แต่ตนคัดค้านเพราะเขาเป็นทหาร จะรู้กฎหมายหรือไม่ ทำให้นายสุชน ชาลีเครือ ที่เรียนหลักสูตร วปอ.มากับ พล.อ.ประวิตรต้องไปบอกเขา ทำให้โกรธตั้งแต่วันนั้นเป็นต้นมา
“เราก็อายุมากกันแล้ว ฟังธรรมะสักหน่อย ใจเย็น จิตใจจะได้สงบ อยู่เมืองนอก 10 กว่าปี คดีถูกยัดให้ผม ทีแรกก็โกรธ ตอนหลังมาเฉยๆ ขำเลย มาอีกหนึ่งคดีแล้ว”
ยังมีการวิจารณ์กันว่าบทบาท "ทักษิณ" ในงานดังกล่าว ยังเปรียบเป็นการแถลงนโยบายรัฐบาล ที่เชื่อว่า “รัฐบาลลูกสาว” จะดำเนินการ อาทิ เรื่องพลังงาน, แจกดิจิทัลวอลเล็ตเป็นเงินสดก่อน 1.45 แสนล้านบาท, เดินหน้าซอฟต์พาวเวอร์เต็มสูบ, ตั้งเกณฑ์ลงทุนเอนเตอร์เทนเมนต์คอมเพล็กซ์ (กาสิโน) 1 แสนล้านบาท, ผลักดันรถไฟฟ้า 20 บาทตลอดสาย, โมเดลให้ต่างชาติเช่าที่ดิน 99 ปี, การยกระดับเศรษฐกิจใต้ดิน และประสานนโยบายเศรษฐกิจกับธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ฯลฯ
ขณะที่มีหลายเรื่องที่ชาวบ้านอยากได้ยิน แต่นายใหญ่กลับไม่พูดคือ การแก้ปัญหาคอร์รัปชัน, ระบบอุปถัมภ์, ความเหลื่อมล้ำ กระบวนการยุติธรรมสองมาตรฐาน และโดยเฉพาะการเยียวยาจิตใจประชาชนที่เสียชีวิต บาดเจ็บและถูกย่ำยีจิตใจ ให้ต้องลืมอดีตที่ทุกพรรคการเมือง ทหาร และทุกกลุ่มสีเสื้อสมประโยชน์ทางการเมือง
นอกจากนี้ ที่โต๊ะกลมขนาดใหญ่ของ "ทักษิณ" ยังมีบรรดาเจ้าสัวของประเทศและภาคเอกชนนั่งร่วมโต๊ะอยู่ด้วย เช่น “สารัชถ์ รัตนาวะดี” ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการบริษัท กัลฟ์ เอ็นเนอร์จี ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด (มหาชน), "ธนินท์ เจียรวนนท์” ประธานกรรมการอาวุโสของเครือเจริญโภคภัณฑ์, "คีรี กาญจนพาสน์" ประธานกรรมการ บริษัท บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด, “ศุภลักษณ์ อัมพุช” ประธานกรรมการบริหาร กลุ่มเดอะมอลล์ กรุ๊ป ฯลฯ
ภาพดังกล่าวคล้ายกับยุค เศรษฐา เมื่อรับตำแหน่งนายกฯ ใหม่ ซึ่งก็ปรากฏภาพร่วมรับประทานอาหารกับนายทุนใหญ่เช่นกัน ขณะนั้นสังคมตีความว่า เตรียมอุ้มและเอื้อประโยชน์ให้นายทุนรายใหญ่ของประเทศใช่หรือไม่
จึงเกิดคำถามว่า “รัฐบาลแพทองธาร” ที่ประกอบไปด้วยพรรคร่วมรัฐบาล และคนที่เคยขับไล่และยึดอำนาจตัวเองรวมกัน 330 เสียง ภายใต้การชักใยของ “ทักษิณ” ที่สนิทสนมกับทุนใหญ่ผูกขาดประเทศ กำลังทำงานเพื่อรับใช้พี่น้องประชาชน เอาประโยชน์ประเทศเป็นที่ตั้ง และไม่ได้ทำงานเพื่อเอื้อกลุ่มทุนใดหรือใครคนใดคนหนึ่งใช่หรือไม่.
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
เอาแน่‘กาสิโน’ขึ้นบนดิน
“ทักษิณ” สวมบทนายกฯ ตัวจริง ลุยหาเสียง อบจ.เชียงราย 3 แห่งรวด
ไม่กล้าเขี่ยพีระพันธ์ แม้วเกทับไฟฟ้าเหลือ3.70 จะทุบทุนผูกขาดทุกชนิด!
"พ่อนายกฯ" โชว์เหนือ จะทุบค่าไฟฟ้าเหลือ 3.70 ต่อหน่วย เ
ก้าวต่อไป ‘รทสช.’ ปี 2568 ติดสปีดผลงาน-โกยคะแนน
ต้องฝ่าฟันมรสุมกันระลอกใหญ่ส่งท้ายปี 2567 สำหรับ พรรครวมไทยสร้างชาติ (รทสช.) จากพรรคน้องใหม่จนถึงปัจจุบันสู่ปีที่ 3 แล้ว ภายใต้การนำของ “พี่ตุ๋ย” พีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ในฐานะหัวหน้าพรรค และ “ขิง” เอกนัฏ พร้อมพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ในฐานะเลขาธิการพรรค ซึ่งพรรคได้โควตาร่วมทัพรัฐบาลเพื่อไทย และได้กระทรวงที่หมายปองมาครอบครองสมใจ
การเมืองไทยปี 68 เข้มข้น-ขับเคี่ยว-ร้อนแรง ซักฟอกมี.ค.-ปรับครม.กลางปี
การเมืองไทยไม่ว่าปีไหนๆ ก็มีประเด็นร้อนเกิดขึ้นได้ตลอด บางเรื่องเกิดขึ้นตามปฏิทินการเมือง แต่บางประเด็นเป็นความร้อนแรงที่แทรกขึ้นมาแบบไม่มีใครคาดคิดมาก่อน
แม้วเดินสายโชว์บารมี อิ๊งค์ปราศรัยนครพนม
"ทักษิณ" ลุยหาเสียงผู้สมัครนายก อบจ. จ่อขึ้นเวทีเชียงราย 3 เวที "เทิง-เชียงของ-แม่จัน" ปราศรัยช่วย "สลักจฤฎดิ์-เมียยงยุทธ" ก่อนเดินสายลำปาง-นครพนม-บึงกาฬ-หนองคาย-มหาสารคาม-ศรีสะเกษ
'จักรภพ' จูงมือคู่ชีวิต พบ 'ทักษิณ' เชิญเป็นสักขีพยานจดทะเบียน 'สมรสเท่าเทียม'
นายจักรภพ เพ็ญแข อดีตรัฐมนตรีประจำสำนักนายก และ อดีตโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า วานนี้ (3 มกราคม) ตนพร้อมด้วย นายสุไพรพล ช่วยชู หรือ ป๊อบ คู่ชีวิต เดินทางเข้าพบ ดร.ทักษิณ ชินวัต